วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ช่วยแก้หนี้แบบ "ผศ.ดร.หลวงพ่อแดง" มอบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์วัวให้ "โรงเรียนปลดหนี้ชาวสวน"




เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567  ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (สวนไอดินเกษตรดินเค็ม) หมู่ 8 ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม พระเมธีวัชรประชาทร, ผศ.ดร.หลวงพ่อแดง นันทิโย ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 15 เจ้าอาวาสวัดอินทาราม ต.เหมืองใหม่ จ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นประธานมอบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์วัว 1 คู่ มูลค่าตัวละ 25,000 บาท ให้กับนายธรรมรัตน์ เจริญวัฒนะ เจ้าของสวนไอดินเกษตรดินเค็ม โดยวัวเพศผู้ ชื่อ “เพชรพูน” สีขาว อายุ 4 ปี สายพันธุ์โชโรเล่ ฮอลแลนด์ ส่วนพศเมียชื่อ “ทองพูน” สีน้ำตาล พันธุ์ไทยผสมอเมริกันบรามัน อายุ 5 ปี กำลังตั้งท้องได้ 3 เดือน โดยพระเมธีวัชรประชาทร และญาติโยมได้ไถ่ชีวิตมาจากโรงฆ่าสัตว์ เป็นวัวคู่แรกที่มอบให้ “โรงเรียนปลดหนี้ชาวสวน” เพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรและสมาชิกเครือข่ายได้เรียนรู้

โดยพระเมธีวัชรประชาทรได้เจิมป้ายโรงเรียนปลดหนี้ชาวสวน ธนาคารวัวหลวงพ่อแดง วิถีเกษตรพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ของต.ลาดใหญ่ โดยนายธรรมรัตน์ เจริญวัฒนะ ได้นำครอบครัวกล่าวปฏิญาณตนรักษาศีล 5 และจะเป็นคนดีทำประโยชน์เพื่อชุมชนและสังคมต่อไป

พร้อมกันนี้พระเมธีวัชรประชาทร ยังกล่าวสัมโมทนียกถา และกล่าวถึงเรื่องการจัดทำธนาคารวัวหลวงพ่อแดง วิถีเกษตรพอเพียงตามรอยศาสตร์พระราชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ว่า ริเริ่มที่จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งที่นั่นเกษตรกรประสบภาวะหนี้สินเพราะทำนาขายข้าวได้ก็หมดไปกับค่าปุ๋ย ค่าต้นทุนต่างๆ อยากจะเลี้ยงวัวสักตัวก็ไม่มีทุน โครงการธนาคารวัวหลวงพ่อแดงได้รับการสนับสนุนจากญาติโยมที่มีจิตอันเป็นกุศลไถ่ชีวิตวัวที่กำลังจะถูกฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ สร้างบุญสร้างกุศลได้หลายทอด เพราะจะนำวัวที่ไถ่ชีวิตมานี้ให้เกษตรกรเอาไปเลี้ยง เอาไปทำประโยชน์ในเรื่องการทำนา นอกจากนี้เกษตรกรที่นั่นเขาบอกว่ามูลวัวเปรียบเสมือนทองคำ เพราะเอาไปทำปุ๋ยบำรุงดินโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ ลดภาระต้นทุนได้มาก

ต่อมานายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา ผวจ.สมุทรสงครามได้เดินทางมาเป็นประธานพิธีคล้องมาลัยวัว โดยน.ส.วาสนา ไขว้พันธุ์ พัฒนาการจังหวัดสมุทรสงครามกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ ว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนฯได้จัดทำโครงการธนาคารวัวหลวงพ่อแดง วิถีเกษตรพอเพียง ตามรอยศาสตร์พระราชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จากการสนับสนุนติดตามการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ต้นแบบโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคกหนองนา” โดย กรมการพัฒนาชุมชนต้องการให้เจ้าของแปลงใช้มูลวัวให้เกิดประโยชน์ ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย ประกอบกับความศรัทธาที่ “ผศ.ดร.หลวงพ่อแดง”ให้การสนับสนุนและก่อตั้งกลุ่มธนาคารวัวหลวงพ่อแดงในจังหวัดสุรินทร์และได้ส่งเสริมช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน ความร่วมแรงของพลัง “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน และเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างมีทิศทางนำมาปรับใช้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม

จากนั้น นายศิริศักดิ์ ศิได้คล้องมาลัยวัวทั้งสองตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยมีนายวุฒิชัย ยามโคกสูง นอภ.เมืองสมุทรสงคราม ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ เกษตรกรและชาวบ้านร่วมงานเกือบ 100 คน นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลผลิตทางการเกษตรโดยเครือข่ายกสิกรรมในพื้นที่อีกด้วย

ที่มา -  https://www.banmuang.co.th/news/education/370032


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์จวงจื่อในปริบทพุทธสันติวิธี: ความเป็นมาและสภาพปัญหาหลักการ อุดมการณ์ วิธีการ แผนยุทธศาสตร์ โครงการ อิทธิพลต่อสังคมไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

บทนำ จวงจื่อ หนึ่งในปราชญ์สำคัญของลัทธิเต๋า ได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นแก่นแท้ของการดำรงอยู่ การหลุดพ้น และการมีเสรีภาพผ่านคำสอนและกา...