วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

"ผอ.สันติศึกษาป.โท มจร" เยี่ยมชม "ฮาร์วาร์ด" แกะรอย "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์"



วันที่ ๑๔  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ถอดบทเรียนและเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยอับดับหนึ่งของโลก คือฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นต้นแบบสร้างผู้เรียนรักแสวงหาความจริง ฮาร์วาร์ดก้าวข้ามจากมหาวิทยาลัยที่ผลิตคนเพื่อรับใช้ศาสนา แบ่งชนชั้น กีดกันเชื้อชาติ เพศ มาสู่มหาวิทยาลัยที่สร้างคนเพื่อรับใช้สังคม เปิดกว้างทางความคิด ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการค้นหาความจริง ได้ค้นพบและพัฒนาตัวเองตามความถนัดและความสนใจ

จุดร่วมหนึ่งในเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตให้ออกไปเป็นผู้นำ รับใช้สังคมในด้านต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างผู้เรียนให้เป็นทั้งคนเก่ง และคนที่เข้าใจโลก จะฝึกฝนผู้นำที่จะทำสิ่งที่แตกต่างให้กับโลก จากการเริ่มต้นปฏิรูปการเรียนการสอนในสมัยของอธิการบดีอีเลียต (Charles W. Eliot) ทำให้ฮาร์วาร์ดได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีแนวคิดเสรีนิยมที่สุด เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

การประกาศให้โควตาสำหรับนักศึกษาเชื้อสายยิว ในปี ๑๙๒๒  สมัยของอธิการบดีโลเวลล์ (Lawrence Lowell)สิ่งเหล่านี้สะท้อนแนวคิดเสรีนิยมที่ไม่ได้ปิดกั้น หรือให้ความแตกต่างทางเพศ ศาสนา วัฒนธรรม ปัจจุบันมหาวิทยาลัยยึดแนวคิดการเรียนการสอนแบบเสรีนิยม ให้ความสำคัญกับกระบวนการค้นหา สืบค้นความรู้ มีทางเลือกที่หลากหลาย และเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรพื้นฐานสำหรับผู้เรียนปริญญาตรีใหม่ เพื่อเป็นการขยายกรอบความคิดให้ผู้เรียนได้มีมุมมองที่เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากขึ้น มหาวิทยาลัยสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความสอดคล้องระหว่างคติพจน์ของฮาร์วาร์ดที่แปลความได้ว่า สัจจะ เป็นแหล่งและเป็นช่วงเวลาที่นักศึกษาสามารถเข้ามาค้นหาความหมายของชีวิต เข้าใจชีวิต เข้าใจความเป็นคน มิใช่เพื่อใช้ประกอบอาชีพเพียงประการเดียว

การจัดการศึกษาที่ถูกต้องควรเป็น การศึกษาเพื่อความรู้ (knowledge) การศึกษาเพื่อสร้างทักษะ (skill) การศึกษาเพื่อสร้างคุณลักษณะชีวิต (character) โดยหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาควรสร้างความเข้าใจโลกและชีวิตควรมีการเรียนการสอนปรัชญาพื้นฐานการศึกษาควรมีการเรียนการสอนวิชาใหม่ให้นักศึกษาปีที่หนึ่งปรับเปลี่ยนค่านิยม เป็นหลักสูตรสร้างแรงบันดาลใจ ให้นักศึกษาเกิดคำถามว่า เรียนที่นี่เพื่ออะไร พยายามพาไปสู่คำตอบ การเรียนที่นี่เพื่อมุ่งสู่การแสวงหาคำตอบให้กับชีวิต เพื่อความเข้าใจตนเอง มิใช่การเรียน เพราะถูกบีบบังคับ ขาดเป้าหมาย โดยมุ่งหวังเรียนเพื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพ สร้างรายได้เพียงประการเดียว

ขณะเดียวกันการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา ควรสร้างให้ผู้เรียนให้มีความลึกและความกว้างในสาขาวิชานั้น เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของชีวิตและการดำเนินชีวิตร่วมกันของคนในสังคม รวมทั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับสาขาวิชาที่มีความสำคัญเชิงปรัชญาที่อาจไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ปรัชญานั้นสามารถเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางของสังคมในทางรุ่งเรืองต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นการทำหน้าที่ของแหล่งบ่มเพาะผู้เรียน เป็นแหล่งผลิตผู้นำที่มีอิทธิพลต่อสังคมในอนาคตข้างหน้าต่อไป

ฮาร์วาร์ด เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง และเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งโดดเด่นในหลายสาขาวิชา อาทิ แพทยศาสตร์, กฎหมาย, บริหารธุรกิจ, เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ  

ก่อนตั้งเมื่อปี ค.ศ. ๑๖๓๖  (ราวกว่า ๓๘๗ ปี) อยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ นอกจากนี้ยังเคยถูกจัดอันดับยกให้เป็นที่ ๕ ของโลก มหาวิทยาลัยดีและน่าเรียน ประจำปี ๒๐๒๓ โดย QS World universit Rankings ซึ่งพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย  จบปริญญาโท การเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ สำหรับศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง คือ Bill gates ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft, Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งบริษัท facbook, Barack Obama ประธานาธิบดีคนที่ ๔๔ ของสหรัฐอเมริกา, นายบัณฑรู ล่ำชำ อดีต CEO และประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ลืมฮัก

ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่  (Verse 1)  คืนนั้นที่เธอกับฉันยืนข้างกัน เสียงลมหายใจยังคงดังในหัวใจ แต่วั...