วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

พระไทยทึ่ง!ชาวสยามมาเลเซีย จัดมหกรรม Festival สอบนักธรรม เห็นพลังบวรชัดรักษ์ป่าไม่กินป่า



เมื่อวันที่  20 กุมภาพันธ์ 2567      เฟซบุ๊กศรีธรรมภาณี โกวิโล ความว่า การไปในถิ่นที่ไม่เคยไปแต่ละครั้งของข้าพเจ้า จะมีคำตอบที่ข้าพเจ้าอยากจะรู้หลายประด็นโดย ทุกบทสนทนาจะเกิดข้อคำถามที่คู่สนทนาจะให้คำตอบโดยธรมชาติหรือท่านอยากจะเล่าอะไรให้ฟัง เราก็จะจับความเอา

ไปมาเลเซีย 15-19 กพ.67 สังเกตการณ์การสอบนักธรรมและธรรมศึกษาประจำปี 2566 อยู่ที่วัดนิโครธาราม รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย วันที่ 16-17 ก.พ.67 อยู่ที่นี้ 2 วัน ได้เห็นผู้ปกครอง นักเรียนที่มาสอบธรรมศึกษา และพระภิกษุ เดินทางมาจากรัฐต่างๆ มาพักค้างเพื่อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ทั้งฝ่ายสนับสนุนและผู้สอบ มารวมตัวกันเต็มวัด ประมาณ 1,500 รูป/คน ในเทศกาลนี้จัดเป็นงานมหกรรม Festival ที่เห็นพลัง บ ว ร ของชาวสยามในมาเลเซีย รวมตัวกันเป็นปึก เป็นแผ่น แน่นแฟ้น คำถามว่า 78 ครั้ง 78 ปี ยังมีการสืบสาน รักษา ยั่งยืน มีอะไรเป็นแรงฟลักดัน คำตอบคือ

ชาวพุทธสยาม ที่นี้ (เขาเรียกตนเองว่า สยาม SIAM) เห็นความสำคัญในรากเง่าของบรรพบุรุษ ที่มีอัตลักษณ์ทางประเพณีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ภาษา อาหาร กิริยาที่ยังเป็นสยาม SIAM  มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาเขียน ผู้ปกครองจะให้ความสำคัญ วัดในชุมชนโดยเฉพาะคณะสงฆ์ทุกรัฐ ได้เห็นความสำคัญเปิดเป็นโรงเรียนสอนภาษไทยให้เด็กสยามได้เข้ามาเรียนและต่อพ่วงไปถีงการเรียนธรรมศึกษาและมีการเข้าสอบในสนามสอบธรรมสนามหลวง โดยเฉพาะสอบธรรมศึกษาได้จะได้ใบประกาศนียบัตร ทางมาเลเซียให้ความสำคัญว่า ประกาศนียบัตรธรรมศึกษา เป็น SERTIFICATE แสดงถึงจบหลักสูตรภาษาไทยขั้นสูง กาลต่อไปในอนาคต สามารถเป็นใบเบิกทางด้านความรู้เรื่องภาษาไทยในการสมัครเข้าทำงาน เมื่อได้ทำงานจะได้เงินเดือนเพิ่มพิเศษ มากกว่าคนอื่น

สอบเสร็จประกาศผบสอบทันที ผู้ปกครองและเด็กรอลุ้นผลสอบกันคับคั่ง เพราะเป็นความหวังในสายเลือดสยาม เพราะเด็กจะได้ธรรมะและ SERTIFICATE แสดงฐานะการเป็นคนสยาม

เมื่อสอบเสร็จได้เดินทางไปเยี่ยมคณะสงฆ์ในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ระยะทางประมาณ พิษณุโลกวิ่งเข้ากรุงเทพ โดยเส้นทางมอเตอร์เวย์ รถติดมากอันเนื่องจากกลับจากตรุษจีน คล้ายๆกับรถติดเทศกาลสงกรานต์ในเมืองไทย ใช้เวลา 8 ช.ม.จนถึงเป้าหมายคือวัดไทยเชตวัน 

ในระหว่างทางสองข้างทางเขียวขจีไปด้วยป่าไม้ข้างทางสลับกับสวนปาล์ม บรรกาศแบบนี้ในเมืองไทยไม่มีแบบนี้ โล่ง ราบ เตียน ทุกที่ 

จากบทสนทนาได้ความรู้ว่า มาเลเซียให้ความสำคัญกับต้นไม้ใบหญ้า พื้นดินทุกที่ต้องมีสีเขียว แม้กระทั้งปลูกตึกอาคาร บ้านที่พัก ต้องมีพื้นที่ปลูกต้นไม้ 10 เปอร์เซ็น ปรากฎอยู่ในแบบก่อสร้าง ไม่เหมือนบ้านเรา หน่วยงานราชการทะเลาะกันเพราะอยากกินต้นไม้ อยากกินป่า อยากตัดต้นไม้ ทำไร่ล้มลุก เข้าไปปลุูกบ้านหลังงามๆ อยู่กลางป่า

ในเชิงวัฒนธรรมสังคม มาเลเซีย เป็นเมืองพหุวัฒนธรรม ปกครองกันด้วยกฎหมาย แต่ละศาสนาไม่ก้าวก่ายกัน ไม่โจมตี ไม่บีฑากัน หากมีเรื่องกันเอง หากขึ้นศาล ศาลจะเมตตาเป็นคนกลางให้คู่กรณีไปเจรจาหากทางออกกันเอง ยกเว้นทำผิดกฎหมายบ้านเมือง แม้วัดไทย รัฐบาลก็เข้ามาสนับสนุนกิจการให้ความช่วยเหลือด้วยดี

มาเลย์ เป้นเมื่องที่น่าอยู่ อีกเมืองหนึ่ง  ตรงกันข้ามกับความคิดที่เราเสพจากสื่อ

พอสรุปได้เท่านี้ เอวํ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์จตุกกนิบาตในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย ในปริบทพุทธสันติวิธี

  วิเคราะห์จตุกกนิบาตในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนํา จตุกกนิบาตในพระไตรปิฎกเล่มที่ ...