วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

"ผอ.สันติศึกษาป.โท มจร" ถอดบทเรียนแบบเชิงลึกนักสันติวิธีระดับโลก"มาร์ติน ลูเธอร์ คิง"



วันที่ ๕  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. โค้ชสันติ และ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มจร ถอดบทเรียนแบบเชิงลึกนักสันติวิธีระดับโลก คือ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา  จากคำปราศรัย "I Have a Dream" หรือ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" อันโด่งดัง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เรียกร้องให้คนทุกเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกาได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ซึ่งปัจจุบันเดินไปสถานที่ใดจะมีคนผิวดำผิวขาวทำงานร่วมกันได้  

หลายทศวรรษผ่านไป ยังมีสัญญาณมากมายที่สะท้อนว่า "ความฝัน" ของคิงยังไม่กลายเป็นจริง นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เหตุใดการเรียกร้องของเขายัง "ทันสมัย" อยู่แม้เวลาจะผ่านไปหลายสิบปีแล้ว วันที่ ๒๘ สิงหาคม ปี ๑๙๖๓ มีคนราว ๒๕๐,๐๐๐ คนเดินทางไปยังอนุสรณ์สถานลินคอล์นที่กรุงวอชิงตันเพื่อฟังชายคนเดียวพูด

คิงเป็นศาสนาจารย์ของโบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ตามรอยปู่และพ่อของเขา เขาพูดถึงความฝันว่าวันหนึ่งลูก ๆ เขาจะได้ใช้ชีวิตในประเทศที่ผู้คนไม่ได้ถูกตัดสินเพราะสีผิว ฝันว่าวันหนึ่งความอยุติธรรมและการเหยียดเชื้อชาติจะหมดไป

การแบ่งแยกเชื้อชาติในยุคที่คิงกำลังเติบโต มีการแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างคนผิวขาวและผิวดำตามกฎหมายที่รู้จักทั่วไปว่ากฎหมายจิมโครว์ คนผิวดำถูกแบ่งแยกออกจากคนผิวขาวทั้งในสถานที่สาธารณะและการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามเข้าโบสถ์ โรงพยาบาล โรงละคร โรงเรียน ห้องน้ำ แม้กระทั่งในรถเมล์ คนผิวดำถูกไล่ให้ไปนั่งคนละโซนกับคนผิวขาว

กฎหมายในสมัยนั้นกำหนดความเป็นไปของชีวิตคนผิวดำ ทำให้พวกเขาได้รับค่าจ้างน้อยกว่า ที่อยู่อาศัยมีสภาพแย่กว่า และคุณภาพการศึกษาก็ไม่ดีเท่าของคนผิวขาว ในคำปราศรัย "I Have a Dream" อันโด่งดัง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เรียกร้องให้คนทุกเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกาได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

ที่สำคัญคือพวกเขาถูกกีดกันไม่ให้มีสิทธิเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากมากที่คนผิวดำจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรงแบบนี้ แต่หลายทศวรรษผ่านไป ใครที่คิดว่าความฝันของคิงเป็นเรื่องของอดีตไปแล้วก็อาจจะต้องมานั่งพิจารณาใหม่ สมาชิกครอบครัวของคิงเองบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเป็นเครื่องเตือนใจว่าความฝันของชายผู้ล่วงลับยังไม่เป็นจริง

ในรัฐต่าง ๆ ที่เคยมีกฎหมายแบ่งแยกสีผิวคน มีการออกกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายรีพับลิกันที่นักเคลื่อนไหวบางคนบอกว่าเป็นการตัดสิทธิ์เลือกตั้งของชนกลุ่มน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนผิวดำ กฎหมายเหล่านี้รวมถึงการตรวจสอบบัตรประจำตัวอย่างเคร่งครัดและก็ห้ามให้อาหารหรือน้ำคนที่ต่อคิวรอเลือกตั้งหลายชั่วโมง

หลังจากนายโจ ไบเดน ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ มีการผ่านกฎหมายเหล่านี้ใน ๑๙ รัฐ อาทิ ฟลอริดา เท็กซัส และแอริโซนา ทำให้โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บอกว่าไบเดน "โกง" การเลือกตั้งแม้ว่าจะไม่สามารถพิสูจน์ข้อกล่าวหาผ่านกระบวนการทางกฎหมายได้

ในวันที่ ๑๗ มกราคม  ซึ่งจะเป็นวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ของปีนี้ (สหรัฐฯ กำหนดให้วันจันทร์ที่สามของเดือน ม.ค. เป็นวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง โดยให้เป็นวันหยุดประจำปี) ลูก ๆ ของคิงจะเรียกร้องให้คนไม่ใช่แค่จดจำพ่อพวกเขาเท่านั้นแต่ให้ตามรอยพ่อพวกเขาด้วยในการเรียกร้องกฎหมายที่จะปกป้องสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้ง

เบอร์นีซ คิง ลูกสาวของคิงซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของศูนย์มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสันติ (Martin Luther King Jr Center for Nonviolent Social Change) ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า หากสิทธิ์ในการเลือกตั้งยังไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างแน่นอน ทุกคนต้องใช้พิธีการรำลึกและเวทีต่าง ๆ ทำตามสิ่งที่พ่อเธอจะทำหากยังมีชีวิตอยู่

"พ่อฉันจะพูดและปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่าประเทศนี้จะเป็นประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็นโดยกดดันวุฒิสภาของสหรัฐฯ และแทนที่จะใช้วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เป็นวันหยุด พวกเขาควรจะใช้มันสำหรับผ่านรัฐบัญญัติว่าด้วยสิทธิการเลือกตั้ง"

เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน พูดที่เมืองแอตแลนตา บ้านเกิดของคิง ว่า ประเด็นเรื่องสิทธิ์เลือกตั้งเป็น "การต่อสู้เพื่อจิตวิญญาณของอเมริกา" "คุณอยากจะอยู่ข้างมาร์ติน ลูเธอร์ คิง หรือจอร์จ วอลเลซ" ไบเดนตั้งคำถาม โดยจอร์จ วอลเลซ คืออดีตผู้ว่าการรัฐแอละแบมาที่สนับสนุนการแบ่งแยกเชื้อชาติในสมัยนั้น

เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การยกเลิกการแบ่งแยกเชื้อชาติคือตอนที่โรซา พาร์คส์ ผู้หญิงผิวดำถูกจับกุมเพราะปฏิเสธที่จะสละที่นั่งบนรถเมล์ให้กับชายผิวขาว การจับกุมในครั้งนั้นนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านโดยคว่ำบาตรไม่ใช้บริการรถเมล์ในเมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละแบมา ยาวนานถึง ๓๘๒  วัน นำโดยมาร์ติน ลูเธอร์ คิง

ต่อมา ๒๑ ธันวาคม  ๑๙๕๖ ศาลสูงสุดสหรัฐฯ ตัดสินว่าการแบ่งแยกที่นั่งบนรถโดยสารขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งกว่าที่จะได้ชัยชนะนั้นมา คิงต้องเผชิญกับการโจมตีและคุกคามต่าง ๆ นานา ไม่ว่าจะการถูกจับกุม บ้านถูกวางระเบิด แม้จะเผชิญกับความรุนแรงจากทั้งฝ่ายต่อต้านและตำรวจ คิงก็ยืนหยัดในการต่อสู้เคลื่อนไหวอย่างสันติโดยได้แรงบันดาลใจมาจากการต่อสู้ของมหาตมะ คานธี มหาบุรุษแห่งอินเดีย

ศาสตราจารย์คาทูชา เบนโต ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเชื้อชาติและลัทธิอาณานิคมจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ บอกว่า วิธีการแบบสันติของคิงมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการยินยอม แต่จริง ๆ แล้ววิธีการของเขาสะท้อนให้เห็นว่าคิงอยากให้สันติวิธีเป็นวิถีการดำเนินชีวิตในสหรัฐฯ ให้เป็นสังคมที่ "ต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ เท่าเทียม และก็เสรี"

การเดินขบวนที่ชื่อ "March on Washington" เพื่อเรียกร้องให้คนมีงานและเสรีภาพ เป็นเหตุการณ์สำคัญของขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองในสหรัฐฯ คำกล่าวของคิงที่อนุสรณ์สถานลินคอล์นที่กรุงวอชิงตันไม่ได้กลายเป็นแค่หนึ่งในคำปราศรัยที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์เท่านั้น มันได้ปูทางไปสู่การผ่านรัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองในปี ๑๙๖๔  ที่กำหนดให้การเลือกปฏิบัติจากสีผิว, เชื้อชาติ, ศาสนา, เพศ หรือชนชาติกำเนิด เป็นสิ่งผิดกฎหมาย

คิงเคยถูกจับกุมและขังคุก ๒๙ ครั้งด้วยกัน เมื่อวันที่ ๔ เมษายน  ปี ๑๙๖๘  เขาถูกชายผิวขาวยิงด้วยปืนไรเฟิลขณะยืนอยู่หน้าห้องพักโรงแรมที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี มือปืนที่ชื่อเจมส์ เอิร์ล เรย์ ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและเสียชีวิตเมื่อปี ๑๙๙๘ แต่นายเรย์ยืนยันว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และครอบครัวของนายคิงก็เชื่อแบบนั้นเช่นกัน ก่อนหน้านี้ คอเร็ตตา คิง ภรรยาของคิง เคยบอกว่า เธอเชื่อว่าสามีเธอถูกสังหารโดยการสมรู้ร่วมคิดของคนชั้นสูง

มีการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองมากมายที่ดำเนินตามรอยคิง เบอร์นีซ ลูกสาวของคิง บอกว่า การประท้วงอย่างสันติเผยให้เห็นความอยุติธรรมต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องสิทธิ์เลือกตั้งเท่านั้น แต่มี "ประเด็นพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่ได้เป็นภัยต่อประชาธิปไตยเท่านั้นแต่เป็นภัยต่อความเป็นมนุษย์ของเราด้วย"

เธอบอกว่า "ค่าแรงให้คนสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ ค่าที่พักอาศัยที่คนสามารถจ่ายไหว สาธารณสุข และการศึกษาที่มีคุณภาพ" เป็นเป้าหมายหลักของการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมือง กว่าครึ่งศตวรรษหลังการเสียชีวิตของนักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองผู้นี้ แม้สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีเป็นคนผิวดำไปแล้ว กระแสการชุมนุมประท้วงและก่อเหตุจลาจลทั่วสหรัฐฯ จากกรณีการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ เมื่อปี ๒๐๒๐  สะท้อนให้เราเห็นว่าความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติยังฝังลึกในสังคมอเมริกันอยู่มากแค่ไหน

เบอร์นีซ คิง บอกว่า งานของเธอคือการผลักดันเรื่องนี้ไปให้ไกลกว่าสหรัฐอเมริกา เป็นการเคลื่อนไหวระดับโลกในการกำจัดสิ่งชั่วร้าย ๓  ประการที่พ่อของเธอพูดถึง นั่นคือ การเหยียดเชื้อชาติ แนวคิดวัตถุนิยมอย่างสุดโต่ง และแนวคิดสนับสนุนทหาร

จึงสะท้อนและสอดรับกับคำสอนในทางพระพุทธศาสนา มองมิติการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องระวังการเกิดขึ้นของปฏิฆะ เพราะจะนำไปสู่โทสะเกิดความขัดแย้ง เป็นอกุศลมูล ด้วยการกล่าวเสียดสีหรือส่อเสียด ๑๐ ประการที่พึงระวังซึ่งเป็นบลูลี่ในทางพระพุทธศาสนา  

๑) #ชาติกำเนิด  เป็นการนำชาติกำหนดมากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน   ด่าว่า 

๒) #ชื่อ  เป็นการนำชื่อบิดามารดามากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า 

๓) #ตระกูล  เป็นการนำตระกูลบรรพบุรุษมากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า 

๔) #หน้าที่การงาน เป็นการนำหน้าที่การทำงานมากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า 

๕) #ศิลปวิทยา  เป็นการนำด้านการศึกษามากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า 

๖) #ความเจ็บไข้ เป็นการนำความเจ็บไข้โรคต่างๆ มากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน ด่าว่า 

๗) #รูปลักษณ์ เป็นการนำรูปลักษณ์ ดำ ขาว เตี้ย สูงมากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า รวมถึงสีผิว 

๘) #กิเลส  เป็นการนำเรื่องกิเลสความโลภโกรธหลงมากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า 

๙) #คดีความ  เป็นการนำเรื่องคดีความมากล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า 

๑๐) #คำด่า  เป็นการด่าว่าด้วยวาจาทุจริต กล่าวเสียดสี ส่อเสียด ล้อเลียน  ด่าว่า 

โดยย้ำว่า ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ล้วนเป็นกระบวนการบลูลี่ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าพึงระวัง เพราะเป็นสาเหตุของความขัดแย้งแบบลงรากลึก ซึ่งการบลูลี่อาจจะนำไปการเป็นอาชญากรและความรุนแรงในบุคคลสังคมต่อไป  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครูติ๋วชูสกลนครเมืองพุทธธรรม เพื่อไทยเปิดตัวส่งชิงนายก อบจ.

บทบาทของครูติ๋วในการสมัครนายก อบจ.สกลนครเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นที่ยึดหลักการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน การชูเอกลักษณ์ขอ...