วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นักบวชฮินดูทุ่มงบ2,100ล้านรูปีพัฒนาพุทธสถาน




โยคีอาทิตยานาถนักบวชฮินดู ทุ่มงบ 2,100 ล้านรูปีพัฒนาพุทธสถานรัฐอุตตรประเทศอินเดีย ยกพระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ



วันที่ 17 ตุลาคม 2560   ที่เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สถานที่ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   โยคี อาทิตยานาถ (Yogi Adityanath) มุขมนตรีรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย  นักบวชฮินดู เจ้าอาวาสวัดโครักคนาถ  เมืองโครักคปูร์ พร้อมด้วยรัฐมนตรีการท่องเที่ยว และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เดินทางมาเป็นประธานเปิดการท่องเที่ยว เพื่อดูแลอำนวยความสะดวกแก่ผู้แสงบุญ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งมีประชากรมากที่สุดกว่า 199 ล้านคน โดยมีพระสงฆ์นานาชาติจากวัดต่างๆ ในเมืองกุสินาราได้รับนิมนต์ให้เดินทางไปร่วมงานในครั้งนี้



โยคีอาทิตยานาถ มุขมนตรีแห่งรัฐอุตตรประเทศ ได้กล่าวว่า พระพุทธศาสนานั้นเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ มีพุทธศาสนิกชนอยู่ทั่วโลก ซึ่งจุดกำเนินนั้นอยู่ในประเทศอินเดีย ในรัฐอุตตรประเทศนี้มีพุทธสถานมากที่สุด 6 ที่ ทั้งกุสินารา สารนาถ สาวัตถี โกสัมพี สังกัสสะ กบิลพัสดุ์ ในแต่ละปีมีชาวพุทธเดินทางมาจำนวนมาก ทั้งไทย พม่า ศรีลังกา และประเทศอื่นๆ ซึ่งท่านเคยเดินทางไปเยือนทั้ง ๓ ประเทศ ล้วนดูแลนักท่องเที่ยวเป็นอย่างนี้ดี



ขมนตรีแห่งรัฐอุตตรประเทศ กล่าวต่อว่า เราจึงต้องพัฒนาจัดสรรงบประมาณ 2,100 ล้านรูปี เพื่อดูแลพัฒนาพุทธสถานทั้ง 6  ที่ให้ดี ทั้งจัดทำถนนหนทางให้สะดวกสบาย สร้างสนามบินนานาชาติ สถานนีรถไฟ จัดทำห้องน้ำดูแลผู้แสวงบุญ จัดดูแลรักษาความปลอดภัย โดยจัดให้มีตำรวจท่องเที่ยว ขับมอเตอร์ไซค์ดูแลตลอด ติดตั้งกล้องวงจรปิด เพิ่มไฟแสงสว่างในพุทธสถาน และสวัสดิการอื่นๆ



โยคีอาทิตยานาถยังได้กล่าวด้วยว่า นายอำเภอจังหวัดกุศินาคาร์ และข้าราชการต้องเข้ามาช่วยงานพระ เพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งมีวัดนานาชาติจำนวนมาก ทั้งไทย พม่า ศรีลังกา กัมพูชา ธิเบต เวียดนาม เนปาล ภูฏาน เป็นต้น ไม่ให้มีปัญหา ถ้าวัดไหนมีปัญหาต้องเข้ามาช่วยพระ เพื่ออำนวยความสะดวก ในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...