วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560
มหาจุฬาฯจัดปฏิบัติธรรมบูชาส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
ระหว่างวันที่ 23-27 ตุลาคม 2560 สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้จัดกิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์สถาปนามหาวิทยาลัย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร องค์ผู้เป็นพุทธมามกะ อุปถัมภ์ค้ำชูมหาจุฬาฯ ตามแนวทางของรัชกาลที่ 5 มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป ร่วมปฏิบัติ
นอกจากกิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ยังมีการบริบายพิเศษอาทิ พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร บรรยายพิเศษ เรื่อง "วิปัสสนากรรมฐานในชีวิตประจำวัน" พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการต่างประเทศ เรื่อง "งานคือชีวิตชีวิตคืองาน วิปัสสนากัมมัฎฐานคือคำตอบ" รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป เรื่อง "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระผู้สถาปนา มจร"
ทั้งนี้พระอาจารย์หรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และหลักสูตรสาขาสันติศึกษา มจร ที่ได้ร่วมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานด้วย กล่าวว่า มหาจุฬาฯ จัดตั้งสถาบันวิปัสสนาธุระขึ้นมา เพื่อให้เป็นส่วนงานรองรับการ "นำธรรม ไปทำ" เพื่อจะได้รู้จักธรรมอย่างแจ่มชัด ตามแนวสัทธรรม 3 คือ "รู้จำ (ปริยัติ) รู้จัก (ปฏิบัติ) และรู้แจ้ง (ปฏิเวธ)" และเป็นไปตามแนวหลวงพ่อสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ได้ย้ำว่า "มหาจุฬาฯ ปริยัติต้องยอด ปฏิบัติต้องเยี่ยม" ซึ่งแนวทางของการเชื่อมปริยัติและปฏิบัติเข้าด้วยกัน คือ แนวทางที่หลวงพ่ออาจ อาสภะมหาเถระ ได้วางรากฐานนี้เอาไว้ให้มหาจุฬาฯ
แนวทางของการเชื่อมปฏิยัติและการปฏิบัติเข้าด้วยกันนี้ ได้รักษามหาจุฬาฯ มาจนถึงวันนี้ และถ้ามหาจุฬาฯ จะเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน ย่อมไม่สามารถหนีจากหนทางนี้ได้ มหาจุฬาฯ ทิ้งการปฏิบัติเมื่อใด เมื่อนั้นมหาจุฬาฯ จะอยู่ไม่รอดในสังคมไทย เพราะสังคมไทยและสังคมโลกกำลังโหยหาความสุขภายใน และเครื่องมือเดียวที่จะตอบโจทย์ดังกล่าวได้ คือ "สมาธิ" และองค์กรหนึ่งที่จะนำสติกับสมาธิเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลตามพุทธประสงค์ได้ดีทั้งปริยัติและปฏิบัติ คือ "มหาจุฬาฯ"
ขณะเดียวกัน วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) และหลักสูตรสาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ร่วมกันปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีพระอาจารย์หรรษา ธมฺมหาโส เป็นวิปัสสนาจารย์ นำปฏิบัติ ระหว่าง 24-29 ตุลาคม 2560 เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่วัดบ้านท่าคอยนาง ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
โดยวันที่ 26 ต.ค.2560 นี้ผู้ปฏิบัติปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้ตื่นเวลา 03:30 น. เพื่อปฏิบัติธรรมรับอรุณ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นวันที่ 3 ซึ่งเป็นวันพระราชทานพระบรมศพ ขออำนาจแห่งบุญกุศลได้โปรดเป็นพลวปัจจัย หนุนส่งให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย ตราบจนบรรลุมรรค ผล นิพพานในโอกาสอันควรแก่เหตุปัจจัยด้วยเทอญฯ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น