วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มส.ชมสหรัฐฯใจกว้างให้วัดไทยสร้างโบสถ์


พระพรหมบัณฑิต มส.ชมประเทศสหรัฐฯใจกว้างให้วัดไทยสร้างโบสถ์เป็นการยั่งรากลึกของพระพุทธศาสนา แถมสร้างแบบสุจริตไม่มีปัญหาเรื่องเงินทอนวัด

วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 เวลา 10.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.9, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร นำพระสงฆ์รับบิณฑบาตและเป็นประธานในพิธีพัทธสีมาฝังลูกนิมิตอุโบสถวัดชัยมงคลวราราม เมืองออคเด้น รัฐยูท่าห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่วัดชัยมงคลวรารามเป็นสาขาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารในประเทศสหรัฐอเมริกา วัดนี้มีพระครูศรีวิเทศชัยมงคล (สภัทร เมธีสุภทฺโท) เป็นเจ้าอาวาส สร้างอุโบสถสำเร็จสิ้นเงิน 460,000เหรียญสหรัฐฯ

ในการนี้พระพรหมบัณฑิตได้เทศน์ความโดยสรุปว่า การที่วัดไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถสร้างโบสถ์ที่ใหญ่โตด้วยสถาปัตยกรรมของไทย งามด้วยพุทธศิลป์ และศักดิ์สิทธิ์ เป็นการยั่งรากลึกของพระพุทธศาสนา ที่ทำเช่นนี้ได้ก็เพราะความไม่ใจแคบของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงนับนับเป็นมหากุศลที่ยิ่งใหญ่ ที่ได้ผู้ประสานสิบทิศตามนโยบายวัดประยูรฯ ที่สามารถสร้างด้วยความสุจริตยุติธรรมไม่มีปัญหาเรื่องเงินทอนวัด ผู้มาเทศน์ก็สบายใจ ควรที่วัดต่างๆในประเทศไทยควรที่จะเอาเป็นตัวอย่าง


"เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ต้องใช้ประโยชน์เป็นสถานที่แพร่พระพุทธศาสนา เป็นที่สอลและปฏิบัติะรรม ทั้งนี้เพื่อตอบแทนสังคม เพราะโบสถ์นั้นไม่ใช่ทางวัดสร้างแต่เพียงฝ่ายเดียว   ต่อไปสอน ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่นอน ต้องตอบแทนสังคม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วย 2 เงื่อนไข คือความรู้คู่คุณธรรม ความรู้ที่การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างวัดจากแหล่งต่างๆ ส่วนคุณธรรมนั้นก็คือปัญญาสามารถสร้างแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้มาก"   พระพรหมบัณฑิต กล่าวและว่า


สรุปแล้วปรัชญาเศษฐกิจพอเพียงสรุปได้เป็น 4 ส่วนคือ ขาดเติมให้เต็ม เต็มให้รู้จักพอ พอให้รู้จักแบ่ง แบ่งอย่างเป็นธรรมคือแบ่งแบบไม่ลำเอียง และให้ถือว่าวัดเป็นของทุกศาสนาที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ไม่ว่ามาจากไหนก็ใช้ประโยชน์ได้จึงเรียกว่า "จตุรมุข"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...