วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระสงฆ์-แม่ชีเมียนมาดูงานสันติภาพ"มจร-มหิดล"



พระสงฆ์-แม่ชีเมียนมาดูงานสันติภาพ"มจร-มหิดล" แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นความขัดแย้งและความรุนแรงพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้และโลกที่กำลังเผชิญหน้ากัน



วันที่ 11 ต.ค.2560  เสมสิกขาลัย มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เป็นองค์กรสาธารณกุศล ที่มุ่งเน้นการทำงานเพื่อรับใช้สังคม ได้นำคณะดูงานจากประเทศเมียนมาจำนวน 20 รูป/คน ซึ่งประกอบด้วยพระสงฆ์และแม่ชี  รวมถึงผู้ประสานงานชาวไทย 1 คน  เพื่อดูงานที่หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร) ในการนี้พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ เป็นวิทยากรพูดคุยแลกเปลี่ยนในหัวข้อ ‘บทบาทพระสงฆ์ต่องานพัฒนาสังคมด้านสันติภาพ’ โดยคณาจารย์และนิสิตสันติศึกษาได้ให้ความสนใจรับฟังด้วย


พระมหาหรรษา กล่าวว่า นับเป็นสะพานพามวลหมู่สาวกของพุทธองค์หลังจากออกพรรษา แล้วรอนแรมจาริกจากประเทศพม่า มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิต และประสบการณ์ทำงานทำงานรับใช้เพื่อนมนุษย์ ในนามหลักสูตรสันติศึกษา และมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ เป้าหมายของการพัฒนารูปนามจะเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใดมิได้ ถ้าไม่ใช่เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข และเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับสภาวะการเกิด แก่ เจ็บ และตายในสังสารวัฏนี้



ต่อจากนั้นเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2560   มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปได้นำคณะ เดินทางไปที่สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหายวิทยาลัยมหิดล  เพื่อศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งและความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และแนวทางการทำงานด้านสันติภาพของสถาบันฯ  ในพื้นที่ความขัดแย้ง โดยมี ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบัน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...