วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ในหลวงร.๙ พระผู้มีแต่ให้ : น้ำหวาน


ตลอดพระชนน์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พสกนิกรชาวไทยได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์มีแต่คำว่า “ให้” พระองค์ให้ทั้งกำลังกาย ด้วยการให้ น้ำหวาน

เกิดจากโครงการส่วนพระองค์รับซื้อน้ำผึ้งบริสุทธิ์จากกลุุ่มเกษตรกรที่อยู่ทางภาคเหนือ มาบรรจุในหลอดพลาสติก และขวดแก้ว ต่อมาเพิ่มรูปแบบในการบรรจุ ในกระปุก จึงทำให้เกิดโรงผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง และโรงหล่อเทียนหลวง โดยนำ“ขี้ผึ้ง” นำไปทำเทียนสำหรับใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ และหล่อเทียนพรรษา สำหรับพระราชทานให้พระอารามหลวง รวมถึงจำหน่ายให้ประชาชนได้มีเทียนขี้ผึ้งแท้ใช้ ตอนแรกนั้นโรงหล่อเทียนหลวง นี้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ เพื่อผลิตเทียนหลวงสำหรับใช้ในราชสำนักพระราชวังแทนการฟั่นเทียนด้วยมือ ตลอดจนฝึกหัดบุคลากรของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาให้มีความรู้ความสามารถด้านศิลปกรรมของไทย โรงหล่อเทียน มีการหล่อเทียนหลายแบบซึ่งเทียนของที่นี่จะทำจากขี้ผึ้งทั้งหมด อีกทั้งมีการสร้างลวดลายใหม่ๆ ล่อเทียนขึ้ผึ้งลวดลายสวยงามเพื่อจำหน่ายเป็นที่ระลึก ล่อเทียนทำชุดสังฆทานจิตรลดา ข้อดีของเทียนหลวงสวนจิตรลดา คือ มีความยือดหยุ่นสูง สามารถดัดโค้งได้ ตกแล้วไม่แตกหัก จุดแล้วน้ำตาเทียนจะน้อย เป็นต้น

สุดจะกลั้นน้ำตาในรินหลั่ง
สุดจะยั้งน้ำตาให้รินไหล
สุดจะกลั้นวิญญาให้อาลัย
ขอเทิดไท้สถิตย์สรรค์นิรันดร์เทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสำราญ สมพงษ์ ขอถวายความอาลัย
(หมายเหตุขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านในครั้งนี้ด้วย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...