วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ในหลวงร.๙ พระผู้มีแต่ให้ : ข้าว



ตลอดพระชนน์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พสกนิกรชาวไทยได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์มีแต่คำว่า “ให้” พระองค์ให้ทั้งกำลังกาย ด้วยการให้ข้าว

หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทอดพระเนตรกิจกรรมของสถานีทดลองพันธุ์ข้าวพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (ปัจจุบันคือศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา) ทำให้พระองค์สนพระราชหฤทัยที่จะทดลอง “ทำนา” ด้วยพระองค์เอง จึงทรงใช้พื้นที่ในสวนจิตรลดา เพื่อการศึกษาทดลองเรียนรู้ศาสตร์จากดินและพืช โดยปลูกป่าสาธิตตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ มีการทดลองพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างเช่นพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัวซึ่งเป็นที่นิยม ปัจจุบันมีที่แปลงนาสวนขนาด ๔.๖ ไร่ ปลูกพันธุ์ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวกว่า ๕๐ สายพันธุ์ ด้วยวิธีการปลูกข้าวทุกรูปแบบ ทั้งนาดำ นาหว่าน ตลอดจนปลูกแบบข้าวไร่หรือข้าวหยอดหลุม อีกทั้งยังมีพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ทานตะวัน เพื่อบำรุงดิน เป็นต้น เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุ์พืช และสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ที่เป็นพืชพันธุ์ดี และหากยาก เช่น สมอไทย ขนุน พุดสวน ยี่หุบ มณฑา และขนุนไพศาลทักษิณ

จากจุดนี้ทำให้เกิดโครงการกลุ่มงานที่เกี่ยวกับการเกษตร อย่างเช่น โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา โรงบดแกลบ โรงน้ำผลไม้พาสเจอร์ไรส์ โรงน้ำผลไม้บรรจุกระป๋อง โรงผลไม้อบแห้ง โรงขนมอบ โรงเพาะเห็ด งานเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง โรงปุ๋ยอินทรีย์

สุดจะกลั้นน้ำตาในรินหลั่ง
สุดจะยั้งน้ำตาให้รินไหล
สุดจะกลั้นวิญญาให้อาลัย
ขอเทิดไท้สถิตย์สรรค์นิรันดร์เทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสำราญ สมพงษ์ ขอถวายความอาลัย
(หมายเหตุขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านในครั้งนี้ด้วย)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...