วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560

"บิ๊กตู่"ห่วงคุณภาพการศึกษาม.สงฆ์-"มจร"ประเมินได้ระดับดี



"บิ๊กตู่"ห่วงคุณภาพการศึกษาม.สงฆ์ สั่งศธ.เข้มกำกับดูแลเข้มข้น ยกเหตุค่าเล่าเรียนราคาถูกมีคนสนใจเรียนมาก ขณะที่ สกอ.เข้าประเมิน "มจร" ได้คะแนน 4.04 จาก 5 อยู่ในระดับดี



วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเว็บไซต์ข่าวสำนักรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่รายงานผลการที่นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 36/2560 เมื่อวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2560 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ



โดยในเรื่องที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ระบุว่า นายพะโยม ชิณวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการประชุมครั้งนี้ว่า รมว.ศึกษาธิการ ได้แจ้งเรื่องในการประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ที่ประชุมรับทราบโดยในจำนวนนี้มีที่ระบุว่ามหาวิทยาลัยพระ 2 แห่ง (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร)) ซึ่งเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และค่าเล่าเรียนราคาถูก จึงมีคนสนใจไปเรียนมาก



"พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องคุณภาพ จึงฝากให้กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณากำกับดูแลให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมองค์กรหลักได้มอบหมายให้นายพีระ รัตนวิจิตร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  และนายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดูแลรับผิดชอบในเรื่องนี้" นายพะโยม กล่าว


ขณะเดียวกันวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2560 น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.9, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เจ้าคณะภาค 2 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานในการรับฟังผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ห้องประชุม 401 อาคารสำนักงานอธิการบดี มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรคอยุธยา ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)   คณะกรรมการประเมินฯ นำโดย ผศ.ดร.ตวงรักษ์ นันทวิสารกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง



ได้เข้าทำการประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคมเป็นต้นมาและได้ประกาศผลออกมาว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาด้วยคะแนน 4.04(คะแนนเต็ม5) จัดว่าอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามบางส่วนงานอยู่ในระดับดีมาก พร้อมกันนี้ได้แนะนำให้พิจารณาสนับสนุนส่วนงานที่มีความพร้อมให้ใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาที่มีความเข้มข้นมากขึ้น เช่น เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx)


ศิษย์เก่า มจร รายหนึ่ง กล่าวว่า ในเรื่องนี้ ในฐานะผู้นำประเทศจะพูดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเฉพาะเรื่องนโยบายและการมอบหมายนโยบายควรจะระมัดระวังและศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน เพราะเมื่อพูด แสดงออก ให้นโยบายและมอบหมายนโยบายไปแล้วก็ย่อมมีผลกระต่อสิ่งนั้นๆไม่มากก็น้อยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยากหรือสลับซับซ้อนอะไรเลย ก่อนที่จะพูดหรือชี้อะไรลงไปที่สถาบันการศึกษานั้นโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพการผลิตบัณฑิต การเรียนการสอนหรือที่พูดรวมๆว่าคุณภาพการศึกษา เบื้องต้นควรเรียกให้ ศธ. มารายงานผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศมาดูเป็นข้อมูลพื้นฐานเสียก่อน ดูเพื่อทวนให้เข้าใจ ให้ตรงกับข้อเท็จจริงของมหาวิทยาลัยนั้นๆ แล้วค่อยศึกษาในรายละเอียด เช่น อัตลักษณ์ บริบทแวดล้อมอื่นๆเข้าไปด้วย หรือจะมอบทีมงาน ทีมที่ปรึกษาเป็นตัวช่วยก็ได้  เพื่อจะได้มองให้ทะลุและมอบนโยบายให้ตรง


ถ้าศึกษาให้ดีจะพบข้อเท็จจริงประการหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นคำตอบในคำถามพื้นฐานง่ายๆของประเทศนี้ ถ้าพบข้อเท็จจริงนี้แล้วผู้นำที่ดีควรจะต้องขอบคุณ มจร ด้วยซ้ำไป นั่นคือรัฐไทยในปัจจุบันนี้ไม่สามารถจะจัดการศึกษาในประเทศนี้ (ในทุกระดับ) ให้คนไทยทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาของรัฐได้อย่างเสมอภาคกัน ย้ำ อย่างเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นคนรวย คนจน หรือคนในภูมิภาคๆก็ตาม คนไทยจำนวนมากมายโดยเฉพาะเด็กยากจนในขนบทไทย  จึงตกบันไดการศึกษานี้ (ดูสถิติผู้ได้เรียนในการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถิติผู้ไม่รู้หนังสือได้) บางครอบครัวแตกแยก ลูกต้องอาศัยวัดให้ได้รับการศึกษาถึงขั้นระดับปริญญาเอก       

การมองแบบตื้นเขินโดยวัดคุณภาพการศึกษาจากราคาค่าหน่วยกิตโดยละทิ้งบริบทอื่นๆเข่นนี้โอกาสผิดพลาดย่อมมีเปอร์เซ็นที่สูงจึ้น โดยเฉพาะมนระดับผู้นำแล้ว ต้องสุขุม รอบคอบ อย่าเกรี้ยวกราด หรือมีอคติว่าคนในสถาบันการศึกษานั้นๆเคยยืนในความเห็นที่แตกต่างตรงข้ามกับรัฐบาล อย่าเพิ่งมองการศึกษาแบบสินค้า หรือแบบเสื้อผ้าเช่น แพงคือยี่ห้อหมายถึงคุณภาพ ราคาถูกหมายถึงตลาดนัดคุณภาพต่ำ ตรรกะแบบนี้สถาบันการศึกษานั้นๆ จะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ผู้นำทึ่กอรปด้วยปัญญาย่อมมองเห็นนัยที่สำคัญทั้งเรื่อง พระพุทธศาสนา ศาตร์สมัยใหม่ คณะสงฆ์ สังคม คนด้อยโอกาสและการเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาของประเทศ   วันนี้เมื่อรัฐยื่นโอกาสทางการศึกษาได้ไม่ทั่วถึง กระท่อนกระแท่น คนทั่วโลกก็มองเห็น มจร ต่างหากเล่าที่เข้ามาสอดรับ ยื่นมือและเติมเต็มในแนวพื้นฐานนโยบายแห่งรัฐในส่วนของการศึกษานี้
      

"วันนี้ มจร จึงไม่ใช่การศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ไทยเท่านั้นแต่ยังสนองตอบพระราชปณิธานของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 ในการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม สถาบันแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับโลกไปแล้วในเวลานี้ วันนี้ มจร จึงเป็นทั้งโอกาส และสันติในดวงใจ  วันนี้ มจร จึงเป็นที่พึ่งของทุกชนชั้น ไม่เฉพาะแต่ชาวไทยเท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึงคณะสงฆ์และชาวพุทธทั่วโลกอีกด้วย" ศิษย์เก่า มจร รายนั้นระบุ



............


(หมายเหตุ : ข้อมูลจาก http://www.moe.go.th/websm/2017/oct/541.html)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาส...