วันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ถวายอาลัย!"เจ้าหม่อมคำลือ"เสด็จสวรรคต



ถวายอาลัย!"เจ้าหม่อมคำลือ"เสด็จสวรรคต  อดีตกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรเชียงรุ่ง สิบสองพันนา มณฑลยูนนาน


วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560เจ้าหม่อมคำลือ พระชันษา 89 ปี อดีตกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรเชียงรุ่ง สิบสองพันนา ที่ถูกผนวกเข้าไปเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา 02.00น.ของวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 ณ เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน


พระประวัติเจ้าหม่อมคำลือ


"ตาว ซื่อซิน" หรือ เจ้าหม่อมคำลือ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง องค์ที่ 41 และเป็นองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ พญาเจือง หรือ ราชวงศ์อารยะโวสวนตาน ที่ปกครอง

อาณาจักรหอคำเชียงรุ่งมายาวนานถึง 790 ปี ถือเป็นอาณาจักรไทเดิมหนึ่งเดียวที่มีระบอบศักดินาแบบจารีตยาวนานที่สุดในแหลมทอง


เจ้าหม่อมคำลือ ประสูติเมื่อปี ค.ศ. 1928 เป็นราชบุตรของ เจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ

แต่พระองค์ท่านเองไม่มีบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรบุญธรรม และไปเรียนหนังสือที่เมืองจุงกิงเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด

สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945) พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ ท่านได้กลับไปเรียนหนังสือ และกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะอายุ 20 ปี


หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้

บริหารราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้วท่านได้แต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสนเมือง พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นท่านก็ไปเรียนหนังสือต่อ
ปัจจุบันเจ้าหม่อมคำลือ อาศัยอยู่ในเมืองคุนหมิง ประเทศจีน มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 หญิง 2 ซึ่งรับราชการทั้งหมด ชีวิตที่เมืองคุนหมิงของท่านเป็นชีวิตที่เรียบง่ายและสงบ แม้ว่าจะมีโรค

ประจำตัวคือโรคเกาต์ แต่ท่านก็ยังดูสุขภาพดี เช่นเดียวกับภรรยาของท่านก็ยังแข็งแรงดี


หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ท่านได้เรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกับ สิว์ จิ๊ว เฟิน ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ. 1953 ก่อนที่จะทำงานเป็น

นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง


ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีนย้ายทั้งสองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาล จีนมีคำสั่งให้เจ้า

หม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อยใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี


การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วย และหลังจาก เติ้ง เสี่ยว ผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบาย

ที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาด ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือและภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัยชนชาติยู

นนาน จนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์”


อย่างไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้ว ทางการจีนได้ให้ฐานะ ทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภา

ที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมีที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว


ทั้งนี้ เจ้าหม่อมคำลือมีพระอนุชาชื่อ เจ้าหม่อมมหาวัง อยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ของประเทศไทย แต่ปัจจุบันก็สิ้นแล้ว คงเหลือแต่ลูก ๆ ซึ่งอยู่ที่แม่สาย และรวมถึงในกรุงเทพฯ ที่

ใช้ นามสกุล “คำลือ” เพื่อเป็นที่ระลึกถึง “เจ้าหม่อมคำลือ” กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ เจ้าหม่อมคำลือในปัจจุบัน ยังเป็นที่รักและเคารพของชาวไทลื้อ

//แอดมินคำ

...........................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก  Tai Lue Sipsongpanna Khurtai Maisoong และวิกิพีเดีย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...