วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ในหลวงร.๙ พระผู้มีแต่ให้ : น้ำนม


ตลอดพระชนน์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พสกนิกรชาวไทยได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์มีแต่คำว่า “ให้” พระองค์ให้ทั้งกำลังกาย ด้วยการให้ น้ำนม

เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๓ พระองค์เสด็จประพาสประเทศเดนมาร์ก ทรงศึกษาเรื่องการทำฟาร์มโคนม เพื่อเป็นอาชีพใหม่แก่เกษตรกรไทย ต่อมาพระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างโรงโคนม เพื่อเลี้ยงโคนมที่มีผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย เช่น โคพันธุ์เรดเดน, โคพันธุ์บราวน์สวิส และพันธุ์ลูกผสมเรดซินดี้ จึงให้เกิดกลุ่มงานกลุ่มงานที่เกี่ยวกับนมซึ่งเป็นโครงการกึ่งธุรกิจ ที่ไม่ใช่ธุรกิจเต็มตัว เป็นโครงการที่มีรายรับและรายจ่าย ที่เรียกว่ากึ่งธุรกิจก็เพราะว่าไม่มีการแจกผลกำไร ไม่แบ่ง เพราะนำผลกำไรมาขยายงาน (รูปแบบธุรกิจสีขาว) สุขภาพเป็นหลัก และยังมีการบริหารจัดการอย่างครบวงจร เป็นโครงการทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร มีการจัดผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในราคาย่อมเยาในรูปแบบที่ไม่หวังผลกำไร แต่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศไทย ซึ่งมีคุณภาพและราคาไม่แพง เช่น การเลี้ยงโคนม และการแปรรูปน้ำนมดิบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น นมผง นมผงอัดเม็ด ทำให้สามารถแก้ปัญหาราคานมตกต่ำได้ในปี ๒๕๑๒ นมพาสเจอร์ไรส์ นมยูเอชที นมผง เนย ไอศกรีม โยเกิร์ต เป็นต้น ครั้งแรกโรงโคนมจิตรลดาจำหน่ายน้ำนมภายในพระตำหนัก ต่อมาได้จำหน่ายแก่บุคคลภายนอก ทำให้มีกำไรสะสม และนำมาพัฒนาภายในโครงการต่อให้ทำให้เกิดโรงนมผง ศูนย์รวมนม โรงนมเม็ด โรงเนยแข็ง โรงนมยูเอชที ภายในสวนจิตรลดา พร้อมกันนี้ยังพัฒนาเป็นการทำปุ๋ยอินทรีย์ พลังงาน แก๊สชีวมวล เป็นต้น

“… วันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญ เพราะโรงงานนี้เป็นโรงงานตัวอย่าง และจะดำเนินการเป็นตัวอย่างสำหรับกสิกรและผู้ที่สนใจในการผลิตนมในประเทศไทย โรงงานนี้เป็นแห่งแรกที่ทำขึ้นในเมืองไทย และก็เป็นที่น่าภูมิใจว่าคนไทยได้ออกแบบและเป็นผู้สร้าง ขอให้ถือว่าโรงงานนี้เป็นโรงงานตัวอย่าง ใครอยากได้ความรู้ ใครอยากที่จะทำกิจการโคนมให้สำเร็จให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์แก่ตน แก่เศรษฐกิจของบ้านเมืองก็ให้มาดูกิจการได้ทุกเมื่อ …” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระราชทานเนื่องในพิธีเปิดโรงงานนมผง ” สวนดุสิต ” ณ บริเวณสวนจิตรลดา วันอาทิตย์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๑๒ ทั้งนี้ภายใต้การดูแลของ ม.ล.อัคนี นวรัตน์ เภสัชกรมงคลศิลป์ บุญเย็น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ธีรพงษ์ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากจุดเริ่มต้นขององค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคนมที่ส่วนจิตรลดาถูกส่งต่อและถ่ายทอดมายังโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาฟาร์มสาธิตและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทยเดนมาร์ค (ปัจจุบันคือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อ.ส.ค.)

สุดจะกลั้นน้ำตาในรินหลั่ง
สุดจะยั้งน้ำตาให้รินไหล
สุดจะกลั้นวิญญาให้อาลัย
ขอเทิดไท้สถิตย์สรรค์นิรันดร์เทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสำราญ สมพงษ์ ขอถวายความอาลัย
(หมายเหตุขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านในครั้งนี้ด้วย)










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...