วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

"ประเวศ"ชม"มจร"นำพุทธธรรมถกแก้ขัดแย้ง




"ประเวศ"ชม"มจร"นำพุทธธรรมถกแก้ขัดแย้ง  เชื่อหลักอปริหานิยธรรมสามารถสร้างสังคมเข้มแข็งพัฒนาสู่พรรคการเมืองแนวพุทธสร้างปรองดองได้แน่


         

วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี  พลเมืองอาวุโศ ได้ปาฐกถาเรื่อง  "ธรรมาธิปไตยกับการพัฒนาระบบการเมืองไทย " จัดโดยคณะสังคมศาสตร์ มจร ความว่า  ขอชื่นชมคณะสังคมศาสตร์ มจร ที่นำเรื่องพุทธธรรมมาพูดคุย ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก  เพราะพุทธธรรมเป็นภูมิปัญญาสูงสุด ซึ่งเป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าค้นพบ ทำไมประเทศไทยไม่เอาแนวคิดพระพุทธเจ้ามาใช้แบบจริงจัง กลับนำเอาแนวคิดตะวันตกมีความแจ่มแจ้งไม่สู้แนวคิดพระพุทธเจ้ามาวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งสังคมปัจจุบันกับสังคมโบราณมีความแตกต่างกันสังคมปัจจุบันมีการพยากรณ์ยากมาก 



เช่น การใช้อำนาจในอดีตกับปัจจุบัน แม้แต่ประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างไม่ได้ ทำไมคนอเมริกาจึงเลือกคนอย่างนายดอนัลด์ จอห์น ทรัมป์มาเป็นประธานาธิบดี  ปัจจุบันเรามีวิกฤตทางอารยธรรมตะวันตก มีวิกฤตเศรษฐกิจ 99% ของเงินที่เคลื่อนไหวในโลก และมีวิกฤตสังคม สังคมมีความเหลื่อมล้ำ 99 ต่อ 1 มีความขัดแย้ง ความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคม  และวิกฤตสิ่งแวดล้อม เช่น โลกร้อน  วิกฤตทั้งหมดรวมเรียกว่า "วิกฤตในการอยู่ร่วมกัน"ปัจจุบันหลายประเทศไม่มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง ทางสังคม บางประเทศมีประชาธิปไตยทางการเมืองแต่ขาดประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ คือ การเมืองมั่งคงแต่เศรษฐกิจแย่

   

คำว่า ธรรมาธิปไตย สามารถแยกออกได้ คือ ธรรม ท่านพุทธทาสแบ่งออก 4 ประการคือ 1 ) ธรรมชาติ คือ ความจริงตามธรรมชาติ  2) กฎขอลธรรมชาติ คือ ความเป็นเหตุเป็นผล 3) การปฏิบัติตมมกฏของธรรมชาติ 4 ) การได้ผลจากการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ  ข้อที่ 1-2  เป็นปริยัติ  ข้อ 3 เป็นปฏิบัติ  ข้อที่ 4 เป็นปฎิเวธ ซึ่งระบบที่ดีที่สุด คือ ระบบของธรรมชาติของร่างกายมนุษย์  มีความหลากหลายและซับซ้อนมากแต่มีบูรณภาพและดุลยภาพนำไปสู่ปรกติภาพ ทำให้สุขภาพดีอายุยืน เป็นไปตามธรรมชาติ  ส่งผลการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมดุล เพราะหลักการของระบบร่างกาย  มีความเป็นอัตโนมัติของทุกส่วน  เหมือนการปกครองที่รวมอำนาจจะนำไปสู่ความขัดแย้ง การใช้อำนาจต้องมีการกระจายจึงจะไม่ขัดแย้งและรุนแรง  ซึ่งเซลล์ทุกเซลล์มีสำนึกแห่งองค์รวม ร่างกายมีระบบข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารที่รู้ถึงกันทั้งหมด ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งระบบภูมิคุ้มทางสังคม คือ ความเป็นธรรม ถ้าสังคมใดขาดความเป็นธรรมคนจะไม่รักกัน ถ้าขาดระบบภูมิคุ้มกันจะเกิดความขัดแย้ง 



เรามีกลไกทางอำนาจมากมาย แต่เราขาดสมองมีน้อยเกินไป อะไรเราควรทำมิควรทำ  เราต้องสร้างคนให้เป็นสมองของประเทศ  " กลไกทางอำนาจมีมาก แต่กลไกทางสมองมีน้อย " กลไกทางสมองต้องพัฒนา ทำไมผู้นำจึงต้องมีที่ปรึกษาที่มีสมอง   ทำไมเล่าปี่จึงไปหาขงเบ้งถึงสามครั้งจึงชนะ นั่นคือ กลไลทางสมอง  กระบวนการคิดจึงมีความสำคัญมาก ตะวันตกกับพุทธมีแนวคิดต่างกัน ตะวันตก  เช่น การคิดแยกส่วน ตายตัว เป็นขาว เป็นดำ เป็นบวกเป็นลบ คิดไม่เหมือนฉันคุณก็เป็นศัตรู อย่าลืมว่า " ความยากจนเป็นความรุนแรงที่น่ากลัวที่รุนแรง "  ส่วนทางพุทธมีกระบวนการคิด คือ " กระแสเหตุปัจจัยสู่ความเป็นทั้งหมด " มีการเชื่อมโยงกัน พึ่งอาศัยซึ่งกันและกัน  ตะวันตก "มีเสรีภาพส่วนบุคคล"  เช่น การมีเสรีภาพในการดูถูกศาสนาอื่น จึงเกิดความขัดแย้ง ทำไมเราไม่เคารพในสิ่งที่คนอื่นเคารพ ส่วนทางพุทธมีเสรีภาพจากความครอบงำของโลภะ โทสะ  โมหะ ถือว่าเป็นเสรีภาพขององค์รวม ทำให้เรารักคนอื่นมากขึ้นเพราะเรามีเสรีภาพจากโลภ  โกรธ หลง ทางรอดจากจากวิกฤตอารยธรรม คือ  การปฏิวัติจิตสำนึกเช่น พระพุทธเจ้าเปลี่ยนจิตสำนึกองคุลิมาล เสรีภาพส่วนรวมและส่วนตนจะต้องบูรณการ  ตะวันตก " มีการแข่งขันเสรี " แต่ทางพุทธ คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลด้วยไมตรีจิต เรามีการแผ่เมตตา 
         


"อยากฝากมหาจุฬาฯว่า ต้องมีการคิดตามแนวพุทธเป็นตัวตั้ง อย่านำแนวคิดตะวันตกล้วนๆ จะขาดการบูรณาการ  เพราะการเมืองแบบการเมืองต้องมองแบบบูรณาการในการอยู่ร่วมกัน สามารถอยู่ร่วมกันได้ ในประชาธิปไตยแนวพุทธนั้น  คือ 1)ไม่คิดแบบแยกส่วนว่าเป็นเรื่องของนักการเมืองและพรรคการเมืองเท่านั้น แต่พุทธคิดอย่างบูรณาการสู่ความสมบูรณ์แห่งรัฐ 2) กระจายอำนาจให้ประชาชนปกครองตนเองมากที่สุด แต่พุทธเน้นชุมชน ท้องถิ่น องค์กร  3) สังคมเข้มแข็ง เสมอภาครวมตัวร่วมคิดร่วมกัน  เราเป็นสังคมพุทธศาสนาแต่ยังขาดศีลธรรม เพราะโครงสร้างของสังคมเราไม่เข้มแข็ง  หลักธรรมที่นำไปสู่สังคมเข้มแข็ง คือ อปริหานิยธรรม  แต่ถ้าเป็นเผด็จการไม่ต้องใช้หลักธรรมนี้เพราะสั่งการมาเลย  อปริหานิยธรรม มี 7 ประการ คือ  1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2) พร้อมกันประชุม พร้อมกันเลิก พร้อมกันทำกิจ 3) ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่บัญญัติไว้ 4) เคารพนับถือผู้ใหญ่ 5) เคารพให้เกียรติสตรี  6) เคารพสักการะเจดีย์  7)คุ้มครองรักษาพระอรหันต์"  นายแพทย์ประเวศ กล่าวและว่า
           


ธรรมาธิปไตยจะต้องมีการเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ ต้องสร้างจิตสำนึกทั้งแผ่นดิน ทุกวัดจะต้องมีการเจริญสติอย่างองค์รวม มนุษย์มีศักยภาพมาก เราต้องมีการเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ มีข้อมูลข่าวสารการสื่อสารให้รู้ถึงกันโดยทั่วตลอด และ การสังเคราะห์นโยบายโดยการมีส่วนร่วม  เป็นการตัดสินใจร่วมกัน   พรรคการเมืองต้องสนับสนุนกันถ้าเป็นนโยบายดีๆ มิใช่ค้านทุกเรื่อง เราต้องร่วมมือกัน  ทางพุทธมีมติเอกฉันท์ด้วยกระบวนการทางปัญญา ไม่ใช่เสียงข้างมาก   โลกจะต้องร่วมคิดร่วมทำ  วิธีการทำงานพุทธรัฐศาสตร์ มหาจุฬาต้องระดมความคิดเรื่อง วิธีคิดเชิงพุทธและการพัฒนาอย่างบูรณาการให้ชัดเจน มีการทำโครงการ การพัฒนาอย่างบูรณาการแนวพุทธ เสนอมหาเถรมหาคมให้ความเห็นชอบ แล้วมีการจัดประชุมใหญ่ร่วมกันระหว่างคณะสงฆ์ มีการจัดสัมมนาเรื่อง " การพัฒนาอย่างบูรณาการการแนวพุทธ " เพื่อให้พระสงฆ์เข้าใจ และทุกวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยทำงานร่วมกับผู้นำชุมชน  สิ่งสำคัญพระสงฆ์ส่งเสริมการนำอปริหานิยธรรมมาใช้เพื่อส่งเสริมสังคมเข้มแข็ง โดยวัดทุกวัดจัดการอบรมการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้น มหาจุฬามีการจัดสัมมนาประชาธิปไตยแนวพุทธให้นักการเมืองเป็นระยะ เพื่อการเกิดขึ้นของพรรคการเมืองแนวพุทธ เพื่อสร้างความแตกต่างจากการเมืองในปัจจุบัน




พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. รองอธิการฝ่ายวิชาการ มหาจุฬา กล่าวว่า  เรามีความคิดว่าการเมืองกับพุทธธรรมเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งจริงๆ ต้องไปด้วยกันไม่แยกส่วน บ้านเมืองเรามีคนเก่งเยอะคนดีก็เยอะ เราต้องจัดการบริหารบ้านเมืองในแนวทางพระพุทธศาสนาอย่างไร



ศ.ดร. บุญทัน  ดอกไธสง  อดีตรองประธานวุฒิสภา กล่าวว่า   พระพุทธเจ้ามองว่าธรรมาธิปไตยเท่านั้นจะทำเกิดความสุข เพราะเป็นการบูรณาการหลักธรรมในการปกครอง ธรรมาธิปไตยจึงเป็นการใช้ปัญญาอันสูงสุดในการแก้ปัญหาเพื่อการอยู่ร่วมกัน ที่ปราศจากความรุนแรงความขัดแย้ง



ศ.ดร.สมภาร  พรมทา  นักวิชาการศาสนาปรัชญา กล่าวว่า  เวลาเราพูดถึงพระพุทธศาสนากับการเมือง  เราจะมีวิธีการเอาพระพุทธศาสนามาใช้กับการเมือง มีแนวทาง คือ เราจะทำให้พระพุทธศาสนามาบูรณาการกับการเมืองอย่างไร? ในมหาวิทยาลัยระดับโลกเวลาเขาจะวัดมหาวิทยาลัยนั้นว่าดีไหม  เขาวัดว่า มีอาจารย์สอนปรัชญาการเมืองดีไหม ?  มีการมองแบบนั้น  เราจะนำปรัชญาการเมืองไปบูรณาการอย่างไร  ปรัชญาการเมืองไม่มีจุดประสงค์สร้างคนดี แต่ต้องการสร้างพลเมืองดี



............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์  วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก  สาขาสันติศึกษา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...