วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ฟาร์มสันติวิถีพอเพียงตามรอย“ในหลวงร.๙”แรงจูงใจในการนำไปปฏิบัติในชีวิตจริง



ตลอดพระชนน์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พสกนิกรชาวไทยได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์มีแต่คำว่า “ให้” ส่งผลให้ข้าพระพุทธเจ้านายสำราญ สมพงษ์ ได้น้อมนำแนวทางของพระองค์พื้นที่ฝึกปฏิบัติจริงตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นที่เพียง ๔ ตารางวาหน้าบ้านพักเลขที่ ๖๕/๗๖ หมู่ ๓ ต.บางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.จังหวัดนนทบุรี จากพื้นฐานเดิมที่ได้น้อมนำมาประยุกต์ใช้การดำรงชีพ ทั่งชีวิตประจำวัน การงาน ความสัมพันธ์กับสังคม จุดที่ปรากฏชัดคือเริ่มตั้งแต่ทำงานที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในปี ๒๕๓๖ โดยได้รับเงินเดือนแรกเข้าที่ ๖,๐๐๐ บาทจากวุฒิการศึกษาปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในแต่ละปีบริษัทจะพิจารณาขึ้นเดือนจำนวนเท่าใดก็พอใจในจำนวนนั้น โดยไม่มีการเรียกร้องที่จะได้รับเงินเดือนเพิ่มเลย จนกระทั้งย้ายมาทำงานที่เว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ และได้สมัครใจที่จะลาออกเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ โดยเงินเดือนที่ได้รับขณะนั้นจำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท

    หลังจากสมัครใจที่จะลาออกได้ศึกษาความรู้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ ฝึกปฏิบัติการทำบ้านดิน และวิสาหกิจชุมชนที่เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ของดร.เกริก มีมุ่งกิจ บนพื้นที่ ๕๐ ไร่ ได้เข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร จึงได้เริ่มลงมือปฏิบัติจริงบนพื้นที่ ๔ ตารางวาควบคู่กับกับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของฟาร์มอยู่ภายใต้แนวความคิดที่จะนำวัตถุที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด พร้อมกันนี้ได้นำวัตดุที่มีบุคคลนำมาทิ้งในพื้นที่ส่วนบุคคลริมถนนทางเข้าหมู่บ้านตรงกันข้ามอย่างเช่นไม้ ไม้ไผ่ ต้นกล้วย กระถางปลูกต้นไม้ มุ้ง ขวดน้ำ ขี้เลี้อย หญ้าแห้ง จึงเรียกของเหล่านี้ว่า “อุปกรณ์อริยะ” จากแนวคิดจากการทำจีวรนุ่งห่มของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลที่หามาได้จากผ้าบังสกุล โดยที่พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุนให้พระภิกษุในพระพุทธศาสนามีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย และใช้พื้นที่ๆมีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ที่สุดอย่างเช่นระเบียงบ้าน หลังคา และจากแนวคิด “บัว ๔ เหล่า” มองเห็นทุกส่วนมีประโยชน์แม้จะมีโทษบ้างก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อย่างน้อยก็สามารถนำมาทำปุ๋ยมีประโยชน์กับพืชได้เป็นฐานคิดเชิงบวก ซึ่งอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานหามาได้เหล่านี้จากต้นทุนคือ “ศูนย์” สุดประหยัด หลังจากนั้นนำมารื้อถอนประกอบสร้างแล้วบูรณาการตามหลักอริยสัจโมเดลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ที่ตั้งฟาร์มสันติวิถีพอเพียง

    พร้อมกันนี้ใช้แนวคิดแบบกล้วยๆ คือ “ง่ายๆ” หากยากแสดงว่า “ผิด” เพราะกล้วยเป็นพืชที่ทรงคุณค่าพื้นฐานของมนุษย์สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหมักหน่อกล้วยนำมาประยุกต์ใช้กับเกษตรอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นพืชที่เก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้วได้เป็นอย่างดี
   
อันดับแรก คือ การทำนาปลูกข้าวตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่  ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐ จากข้าวที่ได้รับแจกจากการเข้าไปกราบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชครึ่งหนึ่ง โดยสาธิตทั้งปลูกในกระถาง ในเรือ บนดินและขุดเป็นร่องน้ำแล้วเอากระถางที่ปลูกแช่ พืชที่นำมาปลูกเพิ่มอย่างเช่น มะระ ถั่ว กล้วย ฟังทอง พริก ผักโขมแดง ผักกาด ผักกว้างตุ้ง ผักสลัด โดยมีแนวคิดที่จะเลือกพืชที่มีผลผลิตที่ออกมาเป็นโทนสีแดงหรือม่วง
    ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ซื้อมาจำนวน ๑ กิโลกรัม และฝึกการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์เอเอฟจำนวน ๑ กิโลกรัม ทำให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับปุ๋ยธรรมชาติที่ครบวงจรคือปุ๋ยที่เกิดจากมูลวัวที่ให้ผลผลิตทางใบ หมูให้ผลผลติทางหัว ไก่ให้ผลผลิตทางผล ขณะที่มูลไส้เดือนเป็นปุ๋ยเย็นและสมดุลมีจุลทรีย์และธาตุอาหารที่ให้ผลผลิตครบทั้ง ๓ ด้าน และสามารถพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจได้ทั้งตัวไส้เดือน มูล และน้ำเหงื่อ สามารถนำมาทำเป็นน้ำหมักมูลไส้เดือนฉีดพ่นพืช และมีสรรพคุณดับกลิ่นปรับสภาพน้ำ และทำให้ผิวมนุษย์สดชื่น ขณะเดียวกันไส้เดือนเป็นสัตว์ตรงตามหลักการของสันติวิธีคือเป็นสัตว์เลือดเย็นที่ชอบอาหารเย็นไม่ร้อน อาศัยปัจจัยทั้งน้ำ อาหาร สภาพแวดล้อมที่สมดุล ไส้เดือนที่ทรงคุณค่ากับพืชและสัตว์ และเป็นหลักคิดในการสร้างความปรองดองได้

ผลผลิตที่ได้ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

    ทุกขั้นตอนและทุกวันของการลงมือปฏิบัติจะมีการถ่ายภาพลงเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีผู้สนใจติดตามจำนวนหนึ่ง พร้อมกันนี้ทั้งญาติและเพื่อนนิสิตสันติศึกษาได้ถามความคืบหน้าและเป็นพูดคุยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของฟาร์มสันติวิถีพอเพียง พร้อมกันนี้มีแนวความคิดที่จะขยายฟาร์มสันติวิถีพอเพียงไปที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ของน้องสาวจำนวน ๓๐ ไร่ หลังจากได้ฝึกปฏิบัติผ่านไป ๑ ปีแล้ว

    ฟาร์มสันติวิถีพอเพียเป็นรูปแบบของเกษตรอินทรีย์สิถีพอเพียงเชิงพุทธที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีล ๕ ผลิตดอกออกช่องสะอาดทั้งด้านสุขกาย พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสังคม มีจิตอาสาเพิ่มพูนด้วยปัญญาที่รู้คู่คุณธรรมอย่างเข้าใจเข้าถึงพร้อมที่จะเป็นรูปแบบที่พัฒนาตามโมเดล “บวร” บ้าน วัด โรงเรียนหรือโรงแรม อย่างพอเพียง สมดุล สมเหตุสมผล และมีภูมิต้านทานความเสียง อันจะเป็นรูปแบบที่พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสมาร์ทฟาร์มอริยะที่ใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดสุดคุ้มค่าสุดจะไม่สร้างความสุขสำเร็จที่ต้องทำร้ายหรืิอเบียดเบียนคนอื่น แต่จะเป็นฟาร์มที่รู้จักแบ่งปันไม่ทรมานตนและคนอื่น จะไม่ใช้วิธีการชวนเชื่อตามทฤษฎีเข็มฉีดยาอัดข้อมูลจนผู้รับข้อมูลเชื่อ แต่จะมุ่งเสริมปัญญาเป็นบริโภคที่ชาญฉลาดเป็นที่ตั้ง 

๖. สรุป

    ฟาร์มสันติวิถีพอเพียงนับได้ว่า เป็นฟาร์มที่ตั้งอยู่บนหลักการ ๓ ประการคือ (๑) ไม่สร้างความสุขสำเร็จที่เบียดเบียนตนและคนอื่น  (๒) ยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรอินทรีย์ (๓) มุ่งพัฒนาความรู้คู่คุณธรรมเป็นฟาร์มอริยะสร้างภูมิพลังแผ่นดิน พร้อมกันนี้ การดำเนินการฟาร์มสันติวิถีพอเพียงที่ผ่านมาตรงตามเป้าหมายของการพัฒนา (ภาวนา) ๔ ด้าน คือ 
    ๑. กายภาพ คือ ทำให้สุขภาพแข็งแรงเพราะเป็นการออกกำลัง ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในครอบเรือนจากเดิมที่รับประทานอาหารนอกบ้านมือละ ๕๐-๖๐ บาท ลดลงเหลือ25-30 บาท  อย่างเช่นต้มยำปลากระป๋องใส่ผักโขมแดงและไข่ พร้อมกันนี้สิ่งที่ได้ความรู้ก็คือผักโขมแดงสามารถนำไปเป็นประกอบของเย็นตาโฟหรือสุกี้จะทำให้สีสันดีขึ้นน่ารับประทาน
    ๒. พฤติกรรมภาพ คือได้มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านมากขึ้นเป็นการปรับภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้านให้ดูสวยงานและเป็นแบบอย่างของการปลูกป่าในใจคนก่อน ๓. จิตภาพ คือ ได้บำเพ็ญเพียรความ อดทดต่อแดดร้อน และความเหน็ดเหนื่อย อากาศร้อน เป็นพื้นฐานทำให้จิตสงบต่อยอดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทุกวันๆ ละ ๑ ชั่วโรง ทำให้ไม่ย้อท่อต่ออุปสรรคและการดูแคลนของสังคม
    ๔. ปัญญาภาพ คือ รู้จักวิเคราะห์ประโยชน์ที่บุคคลเอามาทิ้งเช่นเอามาทำปุ๋ยเอามาทำอุปกรณ์เพาะปลูกนับเป็นการลดต้นทุนการผลิตคือศูนย์บาทซึ่งก็ได้อุปกรณ์มามากมาย พร้อมกันนี้ทำให้เกิดความรู้ว่า การปลูกพืชน้ำอย่างเดียวไม่พอต้องมีปัจจัยอีกหลายตัวเปรียบเทียบได้กับการพัฒนาจะอาศัยเงื่อนเดียวคือความรู้ไม่พอจะต้องคุณธรรมด้วย เท่านี้ยังไม่พอจะต้องดูปัจจัยด้านความสมดุลความสมเหตุสมผลพร้อมกันนี้จะต้องดูปัจจัยความเสี่ยงภูมิคุ้มกันการบำรุงรักษาด้วยเช่นเดียวกับการฝึกจิตจะต้องมีสติเพื่อบริหารความรู้กับความเชื่อและความเพียงกับความสงบให้สมดุลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ที่ต้องการได้ดี
    “ฟาร์มสันติวิถีพอเพียง” จึงเป็นถือว่า เป็นพื้นฐานของการพัฒนาส่วนบุคคลให้มีกายสะอาด พฤติกรรมสะอาด จิตสะอาด ปัญญาสะอาด และเป็นตัวอย่างให้กับหมู่บ้านชุมชน จนสามารถยกระดับหมู่บ้านสันติสุขหรือหมู่บ้านช่อสะอาดได้ ที่แต่ละหมู่บ้านได้สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่กันและกัน และอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกันอย่างสันติสุข เป็นต้นแบบให้คนไทยในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ในฐานะผู้ส่งสารก็ไม่ตกอยู่ภายใต้ทฤษฎีเข้มฉีดยา ทฤษฎีการสื่อสารเศรษฐศาสตร์การเมือง ไม่สนใจการสื่อสารสันติภาพเชิงพุทธ ส่งผลให้ข้อสองเนื้อหาไม่เป็นไปการสื่อสารสันติภาพเชิงพุทธเน้นทฤษฎีโฆษณาชวนเชื่อ ไม่เน้นทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสร้างสรรค์ ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสังคม และทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ส่วนผู้รับสารไม่รู้จักทฤษฎีการสื่อสารทางโครงสร้างและหน้าที่ ทฤษฎีตีความ ทฤษฎีสัญวิทยา รวมถึงทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และไม่เข้าใจแนวคิดอริยสัจโมเดลมุ่งแต่จะตัดสินไม่สังเกตข้อเท็จจริงความจริง ไม่มองลึกถึงความรู้สึกและความต้องการจึงมักจะมีนิสัยออกคำสั่งแทนที่จะเป็นการร้องขอ และสามารถเป็นต้นแบบพัฒนาไปสู่ตำบลสันติสุขหรือตำบลช่อสะอาดได้ระดับหนึ่ง
    ดังนั้น หากไม่มีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงคุณอันประเสริฐพระเกียรติก้องเกรียงไกรไปทั่วโลก เพราะพระองค์เป็นผู้นำชาวไทยที่ให้กำเนิดโครงการต่างๆ ด้วยหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่เป็นประโยชน์กับลูกหลานไทยและชาวโลก มีการจดสิทธิบัตรผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ หน่วยงานระดับโลกให้การยกย่อง และมีพสกนิกรชาวไทยและชาวโลกรวมถึงฟาร์มสันติวิถีพอเพียงเจริญรอยตามเนื่องจากเห็นว่านี้คือแบบอย่างของการพัฒนาที่ยั่งยืน 

สุดจะกลั้นน้ำตาในรินหลั่ง
สุดจะยั้งน้ำตาให้รินไหล
สุดจะกลั้นวิญญาให้อาลัย
ขอเทิดไท้สถิตย์สรรค์นิรันดร์เทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสำราญ สมพงษ์ ขอถวายความอาลัย
(หมายเหตุขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านในครั้งนี้ด้วย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ทางแห่งสันติ

คลิก ฟังเพลงที่นี่  (The Path of Peace) (ท่อนแรก) บนหนทางที่ลมพัดมา กลางพสุธาที่โศกเศร้า ฝุ่นคลุ้งฟ้าหม่นหมองเทา แสงแห่งธรรมยังน...