ช่วงนี้ชาวพุทธส่วนใหญ่จะเดินทางไปที่วัดเพื่อทำบุญทอดกฐินหลังจากออกพรรษาแล้ว อย่างเช่นวันที่ 8 ต.ค.2560 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้เดินทางไปที่วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ ปัตตานี เพื่อเป็นประธานในพิธีทอดผ้าพระกฐิน โดยมีนายทหาร ประชาชนร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้พลเอกประวิตรได้เดินทางไปทอดกฐินที่วัดแห่งนี้เป็นประจำติดต่อกันมา 20 ปีแล้ว
การทอดกฐินปัจจุบันนี้นับได้ว่าสะดวกเพียงจอดกฐินที่วัดที่ยังไม่มีผู้จอง หรือจะร่วมเป็นกฐินสามัคคีก็ได้ หลังจากนั้นเจ้าภาพใหญ่ก็จะจัดหาผ้าไตรจีวรและอัฐบริขาร พร้อมบอกบุญกับผู้ที่รู้จักได้ร่วมบำเพ็ญทานบารมีด้วย เมื่อถึงวัดนัดก็ต่างพากันไปทอด ส่วนผู้ที่มีปัจจัยน้อยเห็นเขาทำบุญจะทำเพียงอนุโมทนาก็ถือว่าได้บุญเช่นเดียวกัน หลังจากทำพิธีทอดเสร็จแล้วโยมก็จะได้บุญ ส่วนพระก็จะได้อานิสงส์ของการกรานกฐิน โดยได้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระวินัยบ้างข้อ ก็จะจบเพียงเท่านั้นสำเร็จเทศกาลทอดกฐิน ส่วนความหมายที่ซ้อนอยู่ในพิธีกรรมนี้ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้คำนึงถึงเท่าใดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความสามัคคี
แต่ในครั้งพุทธกาลนั้นในพระวินัยบัญญัติได้กำหนดขั้นตอนของการทอดกฐินไว้อย่างชัดเจนเป็นลักษณะของกฐินสามัคคีคือการทำผ้ากฐินได้ร่วมจากการหาผ้า ออกแบบ ซึ่งพระอานนท์ก็ออกแบบจีวรไว้เรียบร้อยแล้ว การเย็บ ย้อม หากแห้งก็ประกอบพิธีกรานกฐิน ซึ่งกิจกรรมการทอดกฐินครั้งพุทธกาลนั้นจะทำต้องให้เสร็จภายในหนึ่งวัด
ปัจจุบันนี้การทอดกฐินที่มีกิจกรรมอย่างเช่นในอดีตนั้นหาน้อยเต็มที เพราะว่าปัจจุบันนี้จีวรผ้าไตรก็ง่ายเพียงมีปัจจัยก็หาซื้อมาทำเป็นองค์กฐินแล้ว จึงทำให้พลังแห่งความสามัคคีตามพุทธประสงฆ์ดูจะลดน้อยลง
แต่การทอดกฐินที่วัดศรัทธาราม บานะวิหาร รัฐอรุณาจัลประเทศ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ชาวพุทธไทใหญ่ ชาวพุทธเผ่าจั๊กมา ได้ประกอบพิธีเฉกเช่นครั้งพุทธกาล เริ่มจากทอผ้าเสร็จเป็นฝืน และประกอบพิธีถวาย ณ วัดสาขาของพระบานะ ภันเต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา
.............................
Credit : Ven. Brahma Dut Bhante ซึ่งเฟซบุ๊กนาควีโร ภิกขุ ศิริ นำมาเผยแพร่ต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น