วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ทอดกฐินสร้างวัดมหาจุฬาฯรับพระถังซัมจั๋งยุคใหม่มาเรียน



ทอดกฐินสร้างวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศรับพระถังซัมจั๋งยุคใหม่มาเรียน ฟื้นฟูประวัติศาสตร์นาลันทาสู่มหาจุฬาฯอันยิ่งใหญ่ทางพระพุทธศาสนา บูชาคุณหลวงพ่อปัญญานันทะพระมหาเถระผู้สร้างโบสถ์กลางน้ำที่ใหญ่ที่สุด


วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ ที่พระอุโบสถกลางน้ำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี มจร เป็นประธานในการทอดกฐินสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ พร้อมกล่าวสัมโมทนียกถาความว่า วันนี้ในนามคณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร โดยมีแม่ชีทองสุข   นามเจ็ดสี และญาติโยมจากฮ่องกง ในฐานะอธิการบดีมหาจุฬาฯ ขออนุโมทนาที่มาร่วมงานสำคัญของมหาจุฬาฯ  ทำให้เรานึกถึงคำว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน" เป็นคำที่พูดถึงต่อเนื่องยั่งยืน มหาจุฬาฯ  ๑๓๐ ปี ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๙ และหอประชุม มวก รัชกาลที่ ๑๐  เป็นการพัฒนาไม่หยุด


การมาทอดกฐินครั้งนี้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน  ซึ่งจะมีการสร้างกุฏิสงฆ์ สร้างศาลาสำหรับพระสงฆ์ รวมกับอุโบสถ โดยมีชื่อวัดว่า "วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ" แปลว่า วัดที่สร้างถวายพระเจ้าแผ่นดินทรงนามว่า มหาจุฬาลงกรณ์  ปัจจัยทุกบาทจะนำไปสร้างวัด เพื่อถวายรัชกาลที่ ๕  วัดอยู่ภายในรั้วมหาจุฬาฯ ซึ่งประวัติศาสตร์มหาจุฬาฯตั้งอยู่ในวัด โดยมีวัดมหาธาตุเป็นต้น  ซึ่งปีนี้มีพระจำพรรษาวัดมหาจุฬาฯจำนวน  ๔๗๐  รูป ถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่  ขอให้เราอนุโมทนาบุญร่วมกัน  การถวายบริวารกฐินถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และอานิสงส์ยิ่งใหญ่มาก 
               

วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศที่เราสร้างขึ้นมาทำให้เรานึกภาพของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก ชื่อว่า มหาวิทยาลัยนาลันทา นาลันทาที่อินเดียมีความเจริญรุ่งเรื่องมากเมื่อ พศ.๑๐๐๐ ผ่านมา ๑๕๐๐ ปีมาแล้ว ที่มหาวิทยาลัยนาลันทารวมเป็นหนึ่งเดียว ชื่อ นาลันทามหาวิหาร มีพระและครูอาจารย์อยู่รวมกันเป็นหมื่นรูปคน รู้จักจากพระถังซัมจั๋งจากประเทศจีน เดินทางจากจีนไปเรียนที่มหาวิทยาลัยนาลันทาถึงเวลา ๕ ปี  บันทึกไว้หมดว่าวัดวาอารามเป็นอย่างไร


พระถังซัมจั๋งยุคใหม่จากจีนจากฮ่องกงมาเรียนที่มหาจุฬาฯเป็นการฟื้นประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของนาลันทา ด้วยการสร้างวัดมหาจุฬาฯ ซึ่งอดีตที่นี่เป็นท้องทุ่งนา ได้รับการบริจาคจำนวน  ๘๔  ไร่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จาก ๘๔ ไร่ เป็น ๓๒๐ ไร่ โดยมุ่งจะสร้างวัดมหาจุฬาฯ  โดยได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นผู้นำในการสร้างอุโบสถกลางน้ำ " แปลกและมหัศจรรย์" ถือว่าเป็นโบสถ์กลางน้ำที่มีความยิ่งใหญ่ที่สุด สามารถทำกิจกรรมได้ ๔,๐๐๐ รูป  เป็นโบสถ์สองชั้น มีจิตรกรรมที่สวยงาม  หลวงพ่อปัญญานันทะท่านสร้างให้ ถือว่าเป็นคุณูปการต่อมหาวิทยาลัย 
              

"ฉะนั้นเราต้องนึกถึงหลวงพ่อปัญญานันทะ เพราะทานผลไม้ต้องนึกถึงคนปลูกต้นไม้  ทานน้ำต้องนึกถึงคนขุดบ่อ เราชาวมหาจุฬาต้องนึกถึงหลวงพ่อปัญญานันทะผู้สร้างอุโบสถกลางน้ำวัดมหาจุฬา วันที่ ๕  พฤศจิกายน  ๒๕๖๐ เป็นวันพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อปัญญานันทะ ณ วัดชลประทานรังสกฤษฎ์ พวกเราชาวมหาจุฬาฯต้องไปร่วมงานครั้งสุดท้าย  เรามาทำบุญวันนี้ถือว่าเป็นบูชาคุณหลวงพ่อปัญญานันทะ" พระพรหมบัณฑิต กล่าว


.................................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์  วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก   สาขาสันติศึกษา มจร)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ทางแห่งสันติ

คลิก ฟังเพลงที่นี่  (The Path of Peace) (ท่อนแรก) บนหนทางที่ลมพัดมา กลางพสุธาที่โศกเศร้า ฝุ่นคลุ้งฟ้าหม่นหมองเทา แสงแห่งธรรมยังน...