วันอังคารที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560

น้ำพระทัย“ในหลวง ร.๙”ไม่เคยเหือดแห้ง



ตลอดพระชนน์ชีพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พสกนิกรชาวไทยได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์มีแต่คำว่า “ให้” นับได้ว่าน้ำพระทัย“ในหลวง ร.๙”ไม่เคยเหือดแห้ง

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...
ชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดน้ำ ทรงคิดโครงการฝนหลวง (Royal Rain Project) ช่วย โครงการฝายชะลอน้ำหรือฝายแม้ว (Moisture Retention Dams) แก้ปัญหาภัยแล้ง โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (Pa Sak Jolasid Dam Project) แก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก และแห้งแล้งในช่วงฤดูร้อน กังหันน้ำชัยพัฒนา (The Chaipattana Aerator) แก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง (Pak Phanang Project) แก้ปัญหาน้ำท่วม โครงการแก้มลิง โครงการเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน โครงการห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขื่อนขุนด่านปราการชล โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "คลองลัดโพธิ์" โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำทอน จังหวัดหนองคาย

สุดจะกลั้นน้ำตาในรินหลั่ง
สุดจะยั้งน้ำตาให้รินไหล
สุดจะกลั้นวิญญาให้อาลัย
ขอเทิดไท้สถิตย์สรรค์นิรันดร์เทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายสำราญ สมพงษ์ ขอถวายความอาลัย
(หมายเหตุขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านในครั้งนี้ด้วย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...