เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 จากประเด็นการศึกษาพระปริยัติธรรมที่มีกฎหมายรองรับแล้วตั้งปี 2562 แต่คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเงินอุดหนุนสมทบค่าตอบแทนรายเดือนแก่เจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรม (จศป.) แผนกสามัญศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 และนายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ลงนามประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง การควบคุมการเบิกจ่ายงบกลางดังกล่าวนั้น
พระเมธีวัชรบัณฑิต ผู้อำนวยการวิทยาลัย วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Hansa Dhammahaso" ว่า พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรมการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยคณะสงฆ์ เพื่อคณะสงฆ์ จัดการศึกษาได้ตั้งแต่มัธยมศึกษาจนถึงปริญญาเอก คนที่อ่าน พรบ.การศึกษาพระปริยัติธรรมแบบผิวเผินแล้ว มักจะสรุปเอาดื้อๆ ว่า ตามมาตรา 22, 23 และ 24 นั้น ผู้เรียนจะได้วิทยฐานะตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงปริญญาตรีเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าอ่านกฏหมายให้ละเอียดลึกซึ้ง จะพบว่า มาตรา 24 วรรคสอง ได้ชี้ว่า "ในกรณีที่ผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวงชั้นใด ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ให้ผู้นั้นมีวิทยฐานะระดับใด ๆ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติกำหนด"
ในวรรคสองกล่าวถึงระบบและกลไกสำคัญของผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการอนุมัติปริญญา ตามมาตรา 12 (5) อนุมัติให้ปริญญาและประกาศนียบัตร ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะมีหน้าที่ในการออกแบบเกณฑ์ให้มีการศึกษาเพิ่มเติมและอนุมัติหลักสูตรทั้งปริญญาโท และเอก โดยผ่านความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
จะเห็นว่า คณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาตินั้น สามารถอนุมัติวิทยฐานะ ตั้งแต่ ป.ตรีจนถึงเอกได้ ถ้าการจัดการศึกษานั้นสอดรับกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ออกโดยกระทรวงอุดมศึกษาฯ
จากร่องรอยของแนวทางดังกล่าว ต้องชื่นชมคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ยกร่างที่ดูเหมือนจะถอย แต่จริงๆ มิใช่การถอยหากแต่เป็นการรุก ในกรณีที่เสนอให้ผู้จบประโยคเก้าซึ่งจบการศึกษาสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ให้มีวิทยฐานะเป็นปริญญาเอกได้รับการปฏิเสธ แต่พบว่ามีการประนีประนอมว่า ถ้าหากมีการศึกษาเพิ่มเติม เช่น การเรียนวิชาวิจัยชั้นสูง แล้วทำสารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ หรือดุษฏีนิพนธ์ ผู้เรียนก็จะมีสิทธิ์จบการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือเอกในที่สุด
พรบ.การศึกษาพระปริยัติธรรมฉบับนี้ จัดเป็นการศึกษาแบบ Monastic Education โดยจิตวิญญาณและลมหายใจ ที่มุ่งให้ยกระดับการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยคณะสงฆ์ เพื่อคณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์สามารถจัดการศึกษาสงฆ์ ให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 5 ที่ว่า
"มาตรา ๕ การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อให้การศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นไปตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก โบราณราชประเพณี และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
(๒) เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรมีการน าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และมีการรักษาพระธรรมวินัยให้เป็นไปอย่างถูกต้องดีงามโดยเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป
(๓) เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง"
ขออนุโมทนาครูบาอาจารย์ที่เป็นเทคโนแครตทางการศึกษาของคณะสงฆ์ที่มีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล เพียรพยายามประนีประนอมแนวทางในการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ เพื่อให้พระหนุ่มเณรน้อย กุลบุตรกุลธิดา อุบาสกอุบาสกทั้งหลายได้พากันศึกษาธรรม เรียนรู้ธรรม ปฏิบัติธรรม และเผยแผ่ธรรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสมดังความตั้งใจที่ว่า
ขณะที่พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร ผู้ร่าง พ.ร.บ. การศึกษาพระปริยัติธรรม ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก "Uthai Manee" ว่า อนาคต "วิทยาลัยบาลี" 4 ภาค ภายใต้ พ.ร.บ. นี้เกิดแน่..มจร มมร ผวา?"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น