วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ที่วัดอินทาราม ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระเมธีวัชรประชาทร (ดร.หลวงพ่อแดง นันทิโย) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 15 อนุกรรมการหน่วยอบรมประชาชนส่วนกลาง และเจ้าอาวาสวัดอินทาราม เปิดเผยว่าคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงครามมอบโซล่าเซลล์ให้โรงพยาบาลอัมพวา มูลค่า 1.5 ล้านบาท โดยมีพระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภออัมพวา พระเมธีวัชรประชาทร และคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม และ แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัยประธานฝ่ายฆารวาส ได้ส่งมอบโครงการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) (ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง) โดยมี นายแพทย์สิทธิโชค จิติวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอัมพวา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรสงคราม
โดยโครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการขับเคลื่อนงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม ตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัด โดยนำไปดำเนินการให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์อย่างสูงสุด ด้วยหลักการปฏิบัติ 4 หลัก คือ 1.สงเคราะห์ 2.เกื้อกูล 3.พัฒนา 4.บูรณาการ
ด้วยพลัง “บวร”บ้าน วัด ราชการ โดยในโครงการพระเมธีวัชรประชาทร ได้บริจาคปัจจัย 1.5 ล้านบาท เพื่อทำโซล่าเซลล์มอบให้กับโรงพยาบาลอัมพวา ซึ่งสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้เดือนละประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน และ 360,000 บาทต่อปี ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 4 ปี อายุการใช้งาน 15-20 ปี สามารถช่วยลดการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าได้ถึง 14 ตันต่อปี
"ขออนุโมทนาประธานฝ่ายสงฆ์ พระเดชพระคุณพระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม เจ้าอาวาสวัดประดู่พระอารามหลวง ได้มอบปัจจัยสนับสนุนเพิ่มอีก 15,000 บาท และพระครูโสภิตวิริยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี มอบปัจจัยสนับสนุนเพิ่มอีก 100,000 บาท เพื่อที่จะติดตั้ง โซล่าเซลล์ ให้กับโรงเรียนวัดเสด็จ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหมืองใหม่ และภายในในจังหวัด ต่อไปในอนาคต ขออนุโมทนาบุญ งานนี้จะสำเร็จไม่ได้เลย จึงต้องขออนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่ง แก่อาจารย์บัณฑิต ป้านสวาท ผู้เป็นวิศวกรออกแบบวางแผนประสานงานทุกเรื่องจนสำเร็จเรียบร้อยทุกประการ" พระเมธีวัชรประชาทร กล่าวและว่า
และในวันเดียวกันนี้ได้บรรยายพิเศษ "พระพุทธศาสนากับความพอเพียง ด้วยหลักธรรม"บวร" มีรองอธิบดีกรมอนามัยเป็นประธาน มีนายนิพนธ์ เงินคงพันธ์ ผอ.รพ.สต.บ้านคลองเหมืองใหม่ เป็นผู้ประสานงาน นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย, นายคำรน ศรีวงศ์ษา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม, นายเจริญ จังหวัด สาธารณสุขอำเภออัมพวา พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ในงานพิธี มอบประกาศเกียรติคุณ ณ วัดอินทาราม โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1. การบรรยายพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน" โดย พระเมธีวัชรประชาทร (ดร.หลวงพ่อแดง นันทิโย) 2. พิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณ โดยนพ. เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย แก่ พระเมธีวัชรประชาทร (ดร.หลวงพ่อแดง) รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา เจ้าอาวาสวัดอินทาราม" รางวัลพระสงฆ์ต้นแบบในการขับเคลื่อนงานวัดส่งเสริมสุขภาพและพระคิลานุปัฏฐาก ดีเด่นระดับประเทศ" และประกาศเกียรติคุณแก่วัดอินทาราม เพื่อแสดงว่าเป็น "วัดส่งเสริมสุขภาพระดับยั่งยืน"
สธ. ติดตั้ง"โซล่าเซลล์" 1,252 แห่งลดค่าไฟ กว่า 322 ล้านบาท/ปี
ทั้งนี้นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Climate Change) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งจากโรคต่างๆ และภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น โดยผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2565 พบว่าโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนร้อยละ 9 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งประเทศ หรือ 33,766,720 tCO2-eq /ปี โดยกิจกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสูงสุด คือ การเดินทางมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยและญาติ และการใช้ไฟฟ้าในโรงพยาบาล ซึ่งข้อมูลการจัดการพลังงาน ปี 2564 พบว่า มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าถึง 1,217 ล้านกิโลวัตต์/ปี คิดเป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 4,730 ล้านบาท/ปี
นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำแผนเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย Smart Energy and Climate Action (SECA) : พลังงานอัจฉริยะและการดำเนินการที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ โดยให้ทุกหน่วยงานในสังกัดใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการสูญเสียพลังงานอย่างไร้ประโยชน์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ผ่านกลไกการทำงาน 8 ด้าน คือ
1.การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน) 3.ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า (EV) 4.อาคารอนุรักษ์พลังงาน (Green Building) 5.การเพิ่มพื้นที่สีเขียว 6.เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ (ลดการเดินทาง, Telemedicine) 7.เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอย,น้ำเสีย 8.กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลระดับต่างๆ ซึ่งข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีหน่วยบริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว 1,252 แห่ง จากทั้งหมด 1,857 แห่ง มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 62,245.80 กิโลวัตต์ สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 35,420 tCO2-eq /ปี ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 322 ล้านบาท/ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น