วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

“ธรรมนัส “เปิด “นวัตกรรมเสริมแกร่งถั่วเหลืองไทย เพิ่มรายได้เกษตรกร” ที่แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริแม้โจ้

 


“ธรรมนัส “เปิด “นวัตกรรมเสริมแกร่งถั่วเหลืองไทย เพิ่มรายได้เกษตรกร” ขับเคลื่อนนโยบาย 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ปั้นโมเดลต้นแบบ อ.แม่แตง สู่เมืองหลวงถั่วเหลืองของไทย พร้อมมอบโล่รางวัล ‘นักปลูกถั่วเหลืองมือทอง’ ประจำปี 2566 เป็นครั้งแรกของไทย

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่มอบนโยบายและพบปะเกษตรกร พร้อมลงแปลงสาธิตการปลูกถั่วเหลืองด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม้โจ้ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและเกษตรกรได้มีความรู้ความเข้าใจถึงศักยภาพของถั่วเหลืองไทยและต่อยอดร่วมกันต่อไป

จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “นวัตกรรมเสริมแกร่งถั่วเหลืองไทย เพิ่มรายได้เกษตรกร” พร้อมมอบโล่รางวัลนักปลูกถั่วเหลืองมือทอง ให้แก่เกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตสูง ณ นิคมสหกรณ์แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยกิจกรรมภายในงาน ได้มีการออกบูธนิทรรศการ การเสวนา และการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมมอบปัจจัยการผลิต โดยนำร่องพื้นที่อำเภอแม่แตง เป็นโมเดลต้นแบบ ยกระดับพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองไทย ผลักดันสู่ 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สอดคล้องนโยบาย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ของรัฐบาล อีกทั้งยังมีการจัดเสวนา เรื่อง “โมเดลเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการปลูกถั่วเหลือง” โดย รศ.ดร.อุทัย คันโธ นักวิชาการอิสระและเกษตรกรที่ได้รับรางวัลนักปั้นถั่วเหลืองมือทองด้วย

ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าวว่าถั่วเหลืองเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่สามารถผลิตหรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นใช้สกัดน้ำมัน แปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตอาหารสัตว์ จึงทำให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ อีกทั้งถั่วเหลืองเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำเพื่อการเกษตรไม่มาก หรือนอกเขตชลประทาน ที่สำคัญถั่วเหลืองยังช่วยบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารในดิน ลดการใช้ปุ๋ยในการปลูกพืชฤดูถัดไป แต่ปัจจุบันประเทศไทยกลับสามารถผลิตถั่วเหลืองได้เพียง 2 - 3 หมื่นตันต่อปี และยังได้ผลผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทั้งที่มีความต้องการใช้ถั่วเหลืองมากถึง 3.2 ล้านตันต่อปี จึงทำให้ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้ามากถึง 99% กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้ร่วมกับสมาคมการค้าผู้ผลิตอาหารจากถั่วเหลืองไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง ร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาส่งเสริมผลผลิตถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น จนสามารถเพิ่มผลผลิตจาก 267 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มเป็น 300 - 400 กิโลกรัม/ไร่ เป็นผลสำเร็จ

โอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบโล่รางวัลนักปลูกถั่วเหลืองมือทอง ประจำปี 2566 ให้แก่เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการปลูกถั่วเหลืองเป็นปีแรก โดยมีเกษตรกรที่ได้รับรางวัล จำนวน 5 รางวัล ได้แก่ อันดับ 1 นายสุทิน แสงมณี เกษตรกรจากหมู่บ้านสันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 492 กก./ไร่ อันดับ 2 นายเจน เตวิน จากหมู่บ้านสันป่าตึง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 487 กก./ไร่ อันดับ 3 นายสงัด เตวิน จากหมู่บ้านสันป่าตึง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 464 กก./ไร่ และ รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ นายบุญทา มณี จากหมู่บ้านหนองบัวหลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 449 กก./ไร่ และ นายสมบูรณ์ สุริยา จากหมู่บ้านสันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 429 กก./ไร่

“ขอแสดงความยินดีและขอชื่นชมเกษตรกรที่ได้รับรางวัลเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองมือทอง ตลอดจนขอชื่นชมเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่อำเภอแม่แตง และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ทุกๆ ท่าน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากนี้ ในพื้นที่อำเภอแม่แตง เราจะมีทั้งเกษตรกรต้นแบบและพื้นที่โมเดลในการผลิตถั่วเหลืองที่มีคุณภาพและผลผลิตต่อไร่ที่สูง เชื่อว่างานในวันนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เกษตรกรสนใจและหันมาปลูกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ได้ผลผลิตที่สูง เกษตรกรมีรายได้ดี มีความกินดีอยู่ดี และประเทศไทยสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าถั่วเหลืองได้ และนับจากวันนี้ พื้นที่ดังกล่าวจะเปรียบเสมือนเมืองหลวงถั่วเหลืองของประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบายที่ผมจะผลักดันสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง ด้วยการสร้าง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูงต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

ด้านนายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ร่วมกับทางสมาคมการค้าผู้ผลิตอาหารจากถั่วเหลืองไทย และสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว ดำเนินการโครงการนำร่องโมเดลเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการปลูกถั่วเหลืองเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยจะเน้นส่งเสริมถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผู้ประกอบการนิยมใช้ โดยผลจากการดำเนินโครงการดังกล่าว ในพื้นที่อำเภอแม่ริม และอำเภอ  แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง คอยนาง

คลิก ฟังเพลงที้นี่ (ท่อน 1) นั่งเหงาคอยนาง บนหอโหวดใหญ่ สายตาเหม่อมองไป ไกลเกินฝัน นั่งนับร้อยเอ็ด เจ็ดย่านน้ำ ทุกคืนวัน ใจพี่มั...