วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

"ณพลเดช" ที่ปรึกษา "พวงเพ็ชร" แนะ "พศ.-คณะสงฆ์" ฟ้องมือดีใช้เอไอสร้างภาพพระ สื่อ "เสื่อมเสีย" สน.ทั่วประเทศ



เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวโดยระบุว่า วันนี้ในฐานะเป็นคณะปรึกษาได้เข้าร่วมงานมอบนโยบาย ให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ที่หอประชุมพุทธมณฑล จ.นครปฐม โดย ฯพณฯ ท่าน ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ท่านได้มอบนโยบายในหลายเรื่อง ขอยกประเด็นที่น่าสนใจ เช่น ทำอย่างไรพุทธศาสนาศรัทธาเป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชน และอยากให้ไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก และการป้องกันพุทธศาสนาที่ปัจจุบันมีกลุ่มที่อาจที่จ้องทำลายพุทธศาสนา โดยวันสองวันก่อน พระก็ถูกกลุ่มไม่หวังดีสร้างภาพวาด Ai โดยให้ Ai สร้างภาพวาดที่มีพระขับมอเตอร์ไซด์ ไปร้องคาราโอเกะ แชร์ไปยังโลกอินเตอร์เนตทำให้ประชาชนคิดว่าเป็นภาพจริง ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาให้กับพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ ว่าที่ ผอ.อินทพร ได้แจ้งว่าสามารถโทรร้องเรียนไปยังหมายเลข 1374 ที่กระทบต่อความมั่นคง ทั้งนี้ท่าน รมต. ฝากให้สำนักงานพุทธฯ ช่วยเป็นหูเป็นตา ซึ่งก็จะพอจะช่วยเหลือกันได้มาก

ในประเด็นการสร้างภาพ Ai ผมขอเพิ่มเติมแนวทางด้านกฎหมายเพิ่มเติมครับ ว่ากลุ่มที่สร้างภาพ Ai ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมเสียอย่างไร และสามารถดำเนินคดีในฐานความผิดดังนี้ 

1.ภาพ เป็นภาพตัดต่อ บ่งชี้ สื่อความหมายแสดงให้เห็นว่า พระสงฆ์ พระภิกษุ ซึ่งเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา เป็นตัวแทนเผยแพร่ คำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดา  ทำผิด วินัยสงฆ์มั่วสีกา ต้องอาบัติในสิ่งที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์   2.ภาพตัดต่อตามข้อ 1 สื่อความหมายว่า ตัวแทนของพุทธศาสนา "เลว"  ศาสนาย่อมเสื่อม เหมือนสมาชิกในครอบครัวไม่ดี หรือเลว พ่อแม่ ย่อมถูกมองว่า เป็นคนไม่ดี  3.ภาพรวมทำให้พระสงฆ์ วงการพระสงฆ์และพุทธศาสนาเสื่อมไม่น่าเคารพศัทธา   

4.การดำเนินการตามกฎหมาย  4.1 เนื่องจากภาพ เป็นภาพตัดต่อ แนะนำให้ดำเนินคดีในฐานการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 16 มีหลักกฎหมายว่า “ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย  ต้องระวางโทษ  จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท”

4.2 ภาพดั้งกล่าว ทำให้พระสงฆ์และ พุทธศาสนาถูกลดค่า ทอนความศัทธา แนะนำให้สำนักพุทธศาสนา หรือ พระสงฆ์ รวมตัวกันเป็นคณะบุคคล เข้าร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้เผยแพร่และจัดทำภาพตาม ป.อาญา มาตรา  326 หรือ  328  อีกคดี 

มาตรา 326  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษรกระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

4.3  หากบุคคลตามภาพ (เป็นคนที่มีตัวตนอยู่จริงและมิใช่พระสงฆ์ มิได้บวช) จะผิด ป.อาญา มาตรา 208  ที่บัญญัติว่า มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.4 ทั้งนี้ เนื่องจากภาพถ่ายพระสงฆ์ เช่นภาพของเกจิ เข้าข่ายเป็นภาพซึ่งเป็นวัตถุที่พุทธศาสนิกชนเคารพบูชา  แนะนำให้ทางสำนักพุทธศาสนา ร้องทุกข์ดำเนินคดีตาม ประมวลอาญา ตามมาตรา  206 อีกส่วนหนึ่ง  โดย ป.อาญา มาตรา  206 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ครับ

ดังนี้ สามารถไปร้องทุกขอกล่าวโทษได้ทุก สน. ทั่วประเทศครับ ส่วนใครที่จะแชร์ขอแนะนำว่างดไปก่อน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: หลักสูตรนักธรรมตรียุคเอไอ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) สารบัญ 1. คำนำ ความสำคัญของการศึกษานักธรรมในสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลแ...