วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567

พ่อเมืองมะขามหวานผสานพลัง "บวร" นิมนต์พระสงฆ์ลงนาม MOU ร่วม 7 ภาคีเครือข่าย ยกระดับชีวิตประชาชนอยู่ดียั่งยืน



พ่อเมืองมะขามหวานผสานพลัง “บวร” นิมนต์พระสงฆ์ลงนาม MOU ร่วม 7 ภาคีเครือข่าย ตอกย้ำจุดมุ่งหมายสำคัญในการใช้กลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทุกพื้นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน 

เมื่อวันที่  4 มกราคม 2567  นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน เพื่อตอบสนองการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs ) โดยได้รับเมตตาจากพระราชพัชรธรรมเมธี เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ และพระโสภณวชิรากร เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ (ธ) เป็นตัวแทนภาคศาสนา ร่วมลงนาม พร้อมด้วยผู้แทนภาคีเครือข่าย คือ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อมวลชน ร่วมลงนาม ณ ห้องเมืองราด ชั้น 5 อาคาร 2 ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ 

"การจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานนโยบายต่าง ๆ และภารกิจสำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ให้สามารถสัมฤทธิ์ผลภายใต้หลักการ "การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย" ที่มีพระเดชพระคุณเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 2 นิกาย อันเป็นหลักชัยของพุทธศาสนิกชน ตลอดจนศาสนิกชนอื่น ๆ ในพื้นที่ สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่ 17 (Partnership) ที่จะต้องขยายผลอย่างต่อเนื่องไปสู่ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และประชาชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้คนพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" นายกฤษณ์ฯ กล่าวในช่วงต้น

นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทยมีความมุ่งมั่นส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้กับสังคมและประชาชนอย่างยั่งยืนตามที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือบทบาทตามโครงการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ร่วมกับมหาเถรสมาคม และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนภารกิจงานสาธารณสงเคราะห์ และส่งเสริมให้มหาเถรสมาคมสามารถขับเคลื่อนงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ทั้งการส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือข่าย การสาธารณสงเคราะห์เพื่อสังคมที่ยั่งยืน ด้วยการนำหลักการ 4 ประการ คือ 1) สงเคราะห์ 2) เกื้อกูล 3) พัฒนา และ 4) บูรณาการ มาเป็นหลักในการทำงาน ประสานความร่วมมือในรูปแบบพลัง “บวร” คือ บ้าน วัด ราชการ สู่การพึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็งและช่วยเหลือเกื้อกูล เสริมสร้างให้คนในสังคมมีจิตใจที่เป็นบุญเป็นกุศล เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ลด ละ การทำบาปและสิ่งที่เป็นอกุศล สิ่งไม่ดีไม่งาม แทนที่ด้วยการเพิ่มพูนการทำความดี ทำบุญ ทำกุศล ช่วยกันดูแลสังคม ประชาชนให้ทำมาหาเลี้ยงชีพของประชาชนที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน ขณะเดียวกันจะทำให้คณะสงฆ์ซึ่งมีท่านเจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดเป็นหลักชัยในทางพระพุทธศาสนา ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ เป็นหลักชัยทางฝ่ายปกครอง ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ตำบล และเจ้าอาวาส ขยายผลไปสู่ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

 “เป้าหมายสำคัญในการขยายผลไปสู่ในระดับพื้นที่หลังจากนี้ จะใช้การดำเนินการด้วยกลไกการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานภายใต้กรอบแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งหนุนเสริมเสาหลักของประเทศชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้เป็นสถาบันหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน ด้วยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกิจการพระพุทธศาสนาตามพันธกิจคณะสงฆ์ 6 ด้าน คือ การปกครอง การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแพร่ การสาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชน รวมทั้งสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามร่วมกัน สร้างโอกาส และความเสมอภาค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ดูแลประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างความมั่นคงทางอาหารในทุกครัวเรือนตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และโครงการ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้เพื่อทำให้พี่น้องประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี “พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น” พี่น้องประชาชนสามารถพึ่งพาตนเอง นำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการให้ประชาชน เพื่อนำทักษะความรู้มาพัฒนา ปรับใช้ในการดำรงชีวิต มีการดูแลซึ่งกันและกัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี นำไปสู่การเป็น “หมู่บ้านยั่งยืน” (Sustainable Village) ที่ประชาชนทุกคนมีความมั่นคงและมีความสุขอย่างยั่งยืน" นายกฤษณ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย

 #WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร

  "วิเคราห์   ทิฏฐิสังยุตต์  มูลปัณณาสก์  ทุติยเปยยาล  -   นวาตสูตร  - เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร - รูปีอัตตาสูตร - อรูปีอัตตาสูตร -รูปีจอร...