วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2567

"เศรษฐา" พบ "บิล เกตส์" ที่ดาวอสสวิส หวังดึงดันไทยเป็นศูนย์กลาง Data Center



เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความหลังได้พบกับนายวิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม หรือ บิล เกตส์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ระหว่างเข้าร่วมประชุม World Economic Forum ประจําปี 2567 หรือ WEF ที่เมืองดาวอส สหพันธรัฐสวิส

โดยนายเศรษฐา ระบุว่า ความหวังของตนเองคือการได้บริษัทใหญ่มาลงทุนเปิด Data Center ในประเทศ ให้ไทยเป็นศูนย์กลาง Data Center ของภูมิภาค ซึ่งจังหวะได้พบ Mr. Bill Gates จึงไม่พลาดโอกาสที่จะนำเสนอศักยภาพของประเทศ และความเป็นไปได้ในการเปิด Data Center ของ Microsoft ในไทย ตามที่ได้เคยพูดคุยกับ Mr.Satya Nadella CEO คนปัจจุบันไปแล้วที่ซานฟรานซิสโก

ทั้งนี้นายเศรษฐา  ระหว่างการเข้าร่วมประชุม World Economic Forum ได้หารือประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แก่ Nestlé และ Robert Bosch รวมถึง Google เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน และเจรจาดึงดูดและขยายการลงทุนของบริษัท เพื่อสร้างรายได้และยกระดับเศรษฐกิจไทย นายกรัฐมนตรีได้ร่วมหารือกับผู้นำ ดังนี้ 

1. หารือกับนาง Ursula Von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป โดยทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและความไม่สงบทั่วโลก รวมถึงความจำเป็นของประเทศต่างๆ ที่จะเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ไม่ว่าจะในระดับประชาชนและเศรษฐกิจ พร้อมเห็นพ้องกันในการเดินหน้าการเจรจาความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) ไทย-อียู ให้บรรลุผลโดยเร็ว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เจรจาการขอวีซ่าฟรีจากกลุ่มประเทศยุโรปสำหรับคนไทยด้วย

 2. หารือกับนาย Remy Ejel ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย โอเชียเนีย และแอฟริกา บริษัท Nestlé บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีโรงงานอยู่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ปัจจุบันบริษัทได้ขยายการผลิตอาหารสัตว์ที่มีความต้องการศูนย์มาก โดยจะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตและส่งออก เนื่องจากมีความพร้อมด้านภูมิศาสตร์ การขนส่ง และวัตถุดิบการผลิต ทั้งนี้ ปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่องกรอบความร่วมมือการค้าเสรีที่ไทยยังมีไม่ครอบคลุม รวมถึงข้อจำกัดทางกฎหมายและขั้นตอนการส่งออกที่มีความทับซ้อน นายกรัฐมนตรียืนยันว่ารัฐบาลมีนโยบายและให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ (Ease of doing business) ทั้งสองฝ่ายยังหารือในเรื่อง Single form โดยจะประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง BOI เพื่อเร่งรัดประเด็นนี้ 

3. หารือกับ ดร. Christian Fischer รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท Robert Bosch บริษัทเทคโนโลยีชั้นนําของโลกด้านยานยนต์ อุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค เทคโนโลยีพลังงานและอาคาร ทั้งสองฝ่ายหารือเรื่องการลงทุนในไทย โดยโรงงานในประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางในการผลิตของภูมิภาค มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค บริษัทต้องการขยายไปผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะสร้างโรงงานเพิ่มในประเทศไทยและคาดว่าจะผลิตได้เต็มศักยภาพได้ภายในปี 2026 นายกรัฐมนตรีได้ชวนให้บริษัทมาตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค (Regional HQ) ในไทย โดยพร้อมจะสนับสนุนมาตรการต่างๆ 

4. หารือกับนาง Ruth Porat ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน ของ Alphabet และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงินของ Google โดยได้พูดคุยถึงการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในการลงทุน Cloud Center  ในประเทศไทย โดย Google มีความตั้งใจที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในระบบบริการสาธารณสุข ตลอดจนมีความตั้งใจที่จะยกระดับรายได้ของเกษตรกรไทย เพื่อให้ประชาชนทุกระดับได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กำลังจะเข้ามา ภายใต้แนวความคิดไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leave no one behind)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎก 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกและบทบาทในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิ...