วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567

“พวงเพ็ชร” ชม “วัดบ้านหงาว ” เมืองระนอง งดงามสมเป็นวัดในโครงการอารามภิรมย์ จุดเด่นชูเมืองรองน่าเที่ยว


เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มกราคม 2567   เวลา 14.45 น. นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางลงพื้นที่ วัดบ้านหงาว หมู่ที่ 1 ต.หงาว อ.เมืองระนอง จ.ระนอง เพื่อตรวจเยี่ยมวัดตามโครงการอารามภิรมย์ ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายแก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เพื่อดำเนินการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เชิงศาสนา เพื่อดึงดูดผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย และประชาสัมพันธ์ความสวยงามของวัดไทยให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายหลัก คือ วัดจำนวน 202 วัด ที่อยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยว 56 เส้นทาง ตามการบูรณาการร่วมกันระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 

“ประเทศไทยมีวัดกระจายอยู่ทั่วทุกที่ หลายวัดนอกจากเป็นที่นิยมของพุทธศานิกชน ยังได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  โดยพบว่าบางวัดมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม อย่างเช่น วัดบ้านหงาว ที่ได้มาชมในวันนี้ ที่มีทั้งอุโบสถที่งดงาม รวมถึงพระพุทธรูปดีบุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก สิ่งนี้ถือเป็นจุดเด่นที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้าประเทศมากยิ่งขึ้น การได้มาพูดคุยกับทางวัดวันนี้ ได้รับทราบปัญหาและแนวทางพัฒนา ที่จะตอบโจทย์ตามโครงการอารามภิรมย์ โดยขอให้ทางคณะกรรมการหาแนวทางการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ บอกต่อให้วัดเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น คนไทยเองจะได้รู้ว่ามีวัดสวยงามเช่นนี้อยู่ในประเทศ  ชาวต่างชาติก็จะได้เรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย รวมถึงได้จับจ่ายใช้สอยสินค้าไทยจากชุมชนใกล้เคียง เป็นการกระจายรายได้ให้คนในพื้นที่ ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจระดับชุมชนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย” นางพวงเพ็ชร กล่าว 



สำหรับวัดบ้านหงาว ถือเป็นหนึ่งในจำนวน 202 วัดเป้าหมาย ตามโครงการอารามภิรมย์ ซึ่งในพื้นที่ จะ.ระนองมีวัดที่เข้าร่วมโครงการนี้ จำนวน 2 วัด ทั้งยังเป็นวัดศูนย์กลางชุมชนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดระนอง  มีที่ตั้งใกล้กับภูเขาหญ้าและน้ำตกหงาว ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมของจังหวัด มีสถาปัตยกรรม ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม เป็นเอกลักษณ์ มีชื่อเสียง 3 อย่าง คือ  1. วังมัจฉา มีปลาขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น ปลาบึก ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลาดุกยักษ์ 2. อุโบสถหลังใหม่ ที่มีการตกแต่งที่สวยงามมาก 3. พระพุทธรูปดีบุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎก 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกและบทบาทในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิ...