วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567

"สันติศึกษา มจร" เปิดหลักสูตรระยะสั้น "ตายอย่างสันติ" รุ่น 1



เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2567 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร.  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ( มจร) เปิดเผยว่า เปิดรับสมัครท่านผู้สนใจทุกท่านทุกอาชีพ ทุกสถานะ ทุกกัลยาณมิตร ที่มองว่าไม่ควรใช้ชีวิตที่ประมาทแม้ลมหายใจเดียว มุ่งปรารถนาเตรียมตัวเตรียมใจก่อนตายเพื่อนำไปสู่สันติทั้งผู้ตายและผู้อยู่ โดยการตายของเราไม่สร้างความขัดแย้งให้ใครภายหลัง มาร่วมเรียนรู้ร่วมกัน 

จัดโดยหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา) มุ่งนำไปใช้ได้จริงเป็นการพัฒนาทักษะภายในและภายนอกเป็นหลักสูตรใบไม้กำมือเดียว  

เปิดแล้ว "หลักสูตร ตายอย่างสันติ" รุ่น 1 จากประสบการณ์การเป็นวิทยากรและกระบวนกรฝึกอบรมทั่วประเทศมากกว่า 20  ปี ผ่านงานขาวดำมาหลายร้อยงาน พร้อมแล้วที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตายดีตามสัมพันธภาพ ตายอย่างไรให้สันติทั้งผู้ตายและผู้อยู่เบื้องหลัง โดยย้ำว่า "อย่าใช้ชีวิตอย่าทำงานจนลืมว่าเราต้องตาย"   

โดยสิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้อย่างพิเศษพร้อมสามารถตอบโจทย์สำคัญ 10   ประเด็น  ประกอบด้วย 

1)วิเคราะห์และเรียนรู้การมีชีวิตอย่างไรให้มีความสุขอย่างแท้จริงโดยไร้เงื่อนไข

2)วิเคราะห์และเรียนรู้ความทุกข์ผ่านอริยสัจโมเดล ทำอย่างไรจะมีวิธีการที่เป็นสัมมาทิฐิออกจากความทุกข์หรืออยู่กับความทุกข์อย่างเข้าใจและมีความสุข  

3)วิเคราะห์และเรียนรู้ความตายตามบริบทสากลและการตายในมุมมองของศาสนาต่างๆ รวมถึงเจาะลึกการตายในทางพระพุทธศาสนามิติการมรณานุสสติ 

4)วิเคราะห์และเรียนรู้การรับมือกับความพลาดพรากผ่านการจากตาย "ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น" มีเทคนิคและเครื่องมือเพื่อการยอมรับอย่างไรให้ใจสันติ 

5)เคราะห์และเรียนรู้ความตายในมุมมองของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามองความตายอย่างไร มีท่าทีอย่างไร 

6)วิเคราะห์และเรียนรู้ความขัดแย้งกับบุคคลใกล้ชิด ความขัดแย้งทำให้เราจากเป็น ควรจะหาทางออกอย่างไรให้สันติที่สุด และเทคนิคคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสันติ 

 7)วิเคราะห์และเรียนรู้กระบวนการขอโทษอย่างจริงจัง การให้อภัยขั้นสูงสุด และเทคนิคการขอขมากรรมพร้อมวิธีการอโหสิกรรม   

8)วิเคราะห์และเรียนรู้การออกแบบการตายอย่างสันติ ต้องเตรียมอะไรบ้าง วางแผนอย่างไรบ้าง และการเขียนพินัยกรรมอย่างสันติ 

9)วิเคราะห์และเรียนรู้เทคนิคการทำใจยอมรับเมื่อสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักที่สุด และเทคนิคการจากลาอย่างเข้าใจอย่างมืออาชีพ     

10)วิเคราะห์และเรียนรู้การสื่อสารอย่างเข้าใจสร้างความสัมพันธ์ป้องกันความขัดแย้งป้องกันความรุนแรง รักษาความสัมพันธ์อย่างยั่งยืน     

หลักสูตร ระยะเวลา 3 วัน  5-7  เมษายน  2567 08.30-18.00 น. ฝึกอบรม ณ ห้องสัมมาปัญญา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

พิเศษสุด  จบหลักสูตรมีวุฒิบัตรรับรอง  จากหลักสูตรสันติศึกษา มจร และภาคีเครือข่าย  คณะวิทยากรกระบวนการโดย พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร.โค้ชสันติ  กระบวนกรธรรมะโอดี 

วิทยากรต้นแบบสันติภาพ Buddhist Peace Facilitator ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท  มจร  ผู้วิจัยและก่อตั้งการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ และวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี ดร.ด้านสันติภาพรุ่นแรกของประเทศไทย พร้อมคณะ 

สมัครฝึกอบรม  สนใจเข้าร่วมสอบถามรายละเอียดและสมัครฝึกอบรมได้ที่นางสาวกชพร  สอดส่อง เจ้าหน้าที่หลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร 0824229562 LINE ID : bbour

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ทางแห่งสันติ

คลิก ฟังเพลงที่นี่  (The Path of Peace) (ท่อนแรก) บนหนทางที่ลมพัดมา กลางพสุธาที่โศกเศร้า ฝุ่นคลุ้งฟ้าหม่นหมองเทา แสงแห่งธรรมยังน...