วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

เริ่มแล้ว! วธ.เปิดเส้นทางสักการะพระธาตุประจำปีเกิด หนุน soft power ผ่านเส้นทางท่องเที่ยว บนฐานศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

 


วธ.เปิดเส้นทางสักการะพระธาตุประจำปีเกิด หนุน soft power ผ่านเส้นทางท่องเที่ยว บนฐานศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ชุมชน และประเทศ 

เมื่อช่วงเย็นวันที่ 27 มกราคม 2567 ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา : เส้นทางสักการะพระธาตุประจำปีเกิด ภายใต้โครงการจาริกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา โดยมี พระพรหมเสนาบดี เจ้าคณะภาค ๗ และพระเทพสิงหวราจารย์  เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ นายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล  สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนานายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ วัฒนธรรมจังหวัดภาคเหนือ หัวหน้าส่วนราชการ เครือข่ายทางวัฒนธรรม สื่อมวลชน นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมงาน 



กระทรวงวัฒนธรรมมีนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ด้วยมิติทางวัฒนธรรม มุ่งเน้นนำ Soft Power ของท้องถิ่นมานำเสนอผ่านเส้นทางท่องเที่ยวบนฐานของศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่จัดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา : เส้นทางสักการะพระธาตุประจำปีเกิดขึ้น เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่ มีพระธาตุประจำปีเกิดถึง 5 แห่ง และมีศาสนสถานโบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่า สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ 

โดย กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นศักยภาพของเมืองเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีความพร้อม จึงได้จัดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา : เส้นทางสักการะพระธาตุประจำปีเกิดขึ้น  โดยคัดเลือกพระธาตุประจำปีเกิดซึ่งทรงคุณค่าและมีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนในพื้นที่ กำหนดเป็นเส้นทางสักการะพระบรมธาตุประจำปีเกิด จำนวน 5 วัด ได้แก่ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พระธาตุประจำปีเกิดปีชวด ,วัดพระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะแม ,วัดพระสิงห์ พระธาตุประจำปีเกิดปีมะโรง ,วัดเกตุการาม พระธาตุประจำปีเกิดปีจอ และวัดเจ็ดยอด พระธาตุประจำปีเกิดปีมะเส็ง 



สำหรับการจัดงานในครั้งนี้จะประกอบด้วย การแสดงฟ้อนบูชามหาเจดีย์ธาตุ (พระธาตุหลวง) การแสดงแสง สี เสียง และศิลปวัฒนธรรม จากเครือข่ายทางวัฒนธรรม อาทิ การแสดงชุดเล่าขานตำนานพระพุทธสิหิงค์ และตำนานพระธาตุหลวงวัดพระสิงห์ นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการห่มผ้าพระมหาธาตุเจดีย์ธาตุ (พระธาตุหลวง) เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อินเดียยกภาษาบาลีเป็นภาษาทางราชการ ภาษาคลาสสิกในประเทศอีกหนึ่งภาษา

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 เฟซบุ๊ก Namaste Dhamma ของพระธรรมทูตไทยในประเทศอินเดียได้โพสต์ภาพและข้อความว่า "งานประชุมสัมมนา ในการที่นาย...