วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

"กระทรวงอุตสาหกรรม"ยก "ฮาลาล" 1 ใน 3 อุตสาหกรรมแชมป์เปี้ยนในไทย



เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567  นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ขณะนี้กระทรวงต้องการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน โดยได้กำหนดแนวทางในการยกระดับอุตสาหกรรมของไทยให้สอดรับกับกติกาโลกและเทรนด์ของผู้บริโภคมากขึ้น โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมดั้งเดิมให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ เนื่องจากเทรนด์ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากเพื่อเป็นการดึงนักลงทุนต่างประเทศแล้ว สิ่งสำคัญคือการมีมาตรการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยเฉพาะ ซัพพลายเชนที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั้งหมด ที่สำคัญ กระทรวงฯ ได้วางแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะเป็นแชมป์เปี้ยน (Champion Industries) เบื้องต้นหลัก ๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี), อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมฮาลาล และจะมีการมองในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตามมาเป็นลำดับ

นอกจากนี้กระทรวงอุตฯ เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ จากเดิมที่เป็น "เสือหลับ" ได้ปลุกมันให้ตื่น ด้วยการส่งเสริมการลงทุนทั้งผู้ประกอบการในและต่างประเทศ รวมถึงอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคให้ได้ ด้วยไทยเรามีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว

"จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้เปิดรับนักลงทุนจากทั่วโลก โดยชูประเทศไทยมีความพร้อมในทุกมิติ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ ที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ลดขั้นตอน เช่นเดียวกับกระทรวงอุตสาหกรรม ที่พร้อมดำเนินการ เช่น i.Industry ระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรมแบบ One Stop Service ลดขั้นตอน ลดความยุ่งยาก ลดปริมาณเอกสาร อำนวยความสะดวกในทุกมิติ ครบครันทุกบริการ เชื่อมต่อทุกหน่วยงานที่ดูแล เป็นต้น" นางรัดเกล้า กล่าว

นางรัดเกล้ายังระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังมีมาตรการดูแลและไม่ทิ้งอุตสาหกรรมเดิมในประเทศ คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งต้องปรับตัวโดยเร็ว โดยการแก้ปัญหา คือการดึงซอฟต์พาวเวอร์ เข้ามาช่วย เพื่อเป็นโอกาสในการแข่งขัน ส่วนอุตสาหกรรมเหล็กที่ต้องสู่กับการการแข่งขันจากการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎก 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกและบทบาทในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิ...