วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2567

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนรัฐและเอกชนเป็นศูนย์ทดสอบฝีมือยกระดับผู้ฝึกสอนมวยไทย หนุนเป็นกีฬา Soft Power และ Sport tourism



เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลและนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายผลักดันให้กีฬามวยไทยเป็น Soft Power ในการสร้างชื่อเสียงสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เป็น Sport tourism ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าสู่ประเทศ ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพในสายงานของนักมวย ผู้ฝึกสอน และกรรมการ และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ผลักดันให้เกิดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย ระดับ 1 เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ในการพัฒนาขีดความสามารถ วัดทักษะฝีมือและทัศนคติในการทำงาน

นางสาวบุปผา กล่าวต่อไปว่า และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกีฬามวยไทย จัดตั้งเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย (สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย) ศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก (มวยไทยลุมพินี) สนามมวยราชดำเนิน ค่ายมวย Tiger มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น ปัจจุบันสามารถก่อตั้งศูนย์ทดสอบฯ ได้แล้ว 1 แห่ง คือ บริษัท กำปั้นมวยไทย จำกัด ที่จังหวัดขอนแก่น และช่วงระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2567 มีการจัดอบรมผู้ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานหรือกรรมการคุมสอบ ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

“ที่กล่าวมาเป็นการเริ่มต้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานพร้อมขับเคลื่อนกลไกในการผลิตแรงงานในการสาขาอาชีพนี้ โดยร่วมกับเครือข่ายจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและทดสอบฯ มากขึ้น เพื่อให้แรงงานได้มีการพัฒนาทักษะฝีมือแบบครบวงจรรองรับการเติบโตของกีฬามวยไทยต่อไป”  อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎก 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกและบทบาทในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิ...