วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2567

กรมพัฒน์ จับมือเทคนิคสมุทรสงคราม เปิดศูนย์ทดสอบวัดทักษะฝีมือนักศึกษาช่างและพาณิชยการ



อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งผู้ตรวจกรม เปิดศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือช่างกลและคอมพิวเตอร์ของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม  เตรียมความพร้อมนักเรียน นักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567  นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำเนินการตามนโยบายของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ต้องการส่งเสริมนักศึกษาอาชีวะให้เป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานใหม่ โดยใช้ทดสอบทักษะฝีมือของนักศึกษาและกำลังแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน  ปัจจุบันกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวนทั้งสิ้น 603 แห่ง เป็นของสถาบันการอาชีวศึกษา 302 แห่ง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มอบหมายนางสาวอาภากร ว่องเขตกร ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานเปิดศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นเครือข่ายศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสมุทรสงคราม

นางสาวอาภากร ว่องเขตกร ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมามีผู้ผ่านการทดสอบฯ จากสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสมุทรสงคราม จำนวน 4,223 คน โดยวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามได้รับอนุญาตให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ใน 4 สาขา ได้แก่ สาขาช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ 1   สาขาช่างควบคุมด้วยระบบโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรเลอร์ (PLC) ระดับ 1 เป็นสาขาที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะในด้านนี้ สาขาพนักงานการใช้คอมพิวเตอร์ (ประมวลคำ) ระดับ 1 และ สาขาพนักงานการใช้คอมพิวเตอร์ (ตารางทำการ) ระดับ 1 สำหรับ 2 สาขานี้ เป็นสาขาที่เป็นพื้นฐานของตำแหน่งงานหลายตำแหน่ง เป็นความรู้และทักษะขั้นพื้นฐาน ก่อนยกระดับสู่ทักษะขั้นสูง โดยเฉพาะทักษะเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Excel ซึ่งในขั้นสูงจะสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีผู้ผ่านการทดสอบฯ ใน 4 สาขาดังกล่าวทั่วประเทศ จำนวน 12,151 คน 

“ศูนย์ทดสอบฯ ที่ได้รับอนุญาตจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  มีความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์พร้อมรองรับการทดสอบ และมีกรรมการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการตัดสินให้คะแนนและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมเป็นผู้กำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ  ดังนั้นผู้ผ่านการทดสอบ จึงการันตีทักษะฝีมือและสามารถทำงานอย่างคุ้มค่ากับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ” ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวในท้ายสุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎก 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกและบทบาทในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ “ยมกวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิ...