วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567

เจ้าคุณอเมริกาตั้งจิตพาญาติธรรมอเมริกาและไทยในสหรัฐฯแสวงบุญแดนพุทธภูมิ



วันที่ ๒๙  มกราคม  ๒๕๖๗   พระวิเทศวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำอเมริกา รัฐโอไอโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประธานเปิดกิจกรรมสันติสนทนา ผ่านกิจกรรม "Storytelling ดินแดนพุทธภูมิอินเดียเนปาล" โดยมีญาติธรรมกัลยาณมิตรของวัดปากน้ำอเมริกาเข้าร่วมกิจกรรม Storytelling จำนวน  ๒๐ รูปคน โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างศรัทธาให้เข้มแข็งและสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในมิติของดินแดนพุทธภูมิอันเป็นสถานที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งในช่วงปลายปี ๒๕๖๗ หรือ ต้นปี ๒๕๖๘ ทางวัดปากน้ำอเมริกาจะนำพาญาติโยมเดินทางไปแสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย-เนปาล จึงเป็นที่มาของการเล่าธรรมผ่านภาพเป็นการ Storytelling เพื่อสร้างความรับรู้สร้างความเข้าใจสร้างศรัทธา

โดยมีการเตรียมความพร้อมก่อนการ Storytelling โดย พระอาจารย์วีระศักดิ์  ชยธมฺโม  (Ajahn Tah) เป็นผู้ดำเนินรายการกิจกรรม ผ่านการตั้งคำถามในการเรียนรู้และได้แนะนำพระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. โค้ชสันติ และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ Storytelling ดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย-เนปาล แบบเชิงลึก 

โดยมองถึง Storytelling ในดินแดนพุทธภูมิ โดยการเล่าสะท้อนถึงระดับเล่าเรื่องราวระดับสุตมยปัญญา เรื่องราวระดับจินตามยปัญญา และระดับภาวนามยปัญญา ซึ่งคำว่า Intelligence: แปลว่าฉลาด มาจากคำว่า Inter แปลว่า ระหว่าง และ Legere แปลว่า การเลือก คำว่า ฉลาด จึงหมายความว่า ความสามารถในการเลือกระหว่างสิ่งดีกับเลือกสิ่งไม่ดีอันหมายถึงปัญญาในการใคร่ครวญผ่านโยนิโสมนสิการอย่างมีสติ 

ความสำเร็จวัดกันที่การเดินทางไม่ใช่จุดหมายปลายทางเสมอไป โดยการเดินทางอย่าเพียงแค่ให้เกิด Connection คือการรู้จักกันมีเครือข่ายเท่านั้น แต่ต้องยกระดับไปให้ถึง Relation เป็นความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือกันหาทางความร่วมมือกัน ซึ่งขั้นสูงสุดในการเดินทางจะต้องนำไปสู่ Trust เป็นการรู้ใจกันอย่างลึกซึ้งถึงใจ ให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมมืออย่างมืออาชีพ โดยการเดินทางภายนอกจะต้องยกระดับไปสู่การเปลี่ยนแปลงภายใน เพราะการเดินทางในแต่ละครั้งย่อมไม่ใช่เหตุบังเอิญอย่างแน่นอน ย่อมมีเหตุมีปัจจัยที่มีบุญสัมพันธ์แต่ละสถานที่ เวลา บุคคล เรื่องราวที่เกิดขึ้น จะต้องมีบุญสัมพันธ์กัน

ภาพจะมีการสะท้อนถึง ๒ ประเด็น ประกอบด้วย ๑)FACT หมายถึง ภาพสะท้อนถึงเหตุการณ์แห่งความจริงที่เกิดขึ้นจริง อาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในอดีต ปัจจุบัน รวมถึงประวัติศาสตร์ความจริงของแต่สถานที่ที่เราไป ๒)STORY หมายถึง ภาพสะท้อนความรู้สึกผ่านเรื่องราวต่างๆ ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ถ่ายภาพจะบอกเรื่องราวในช่วงขณะนั้นที่จะสื่อสารผ่านภาพ โดยผู้ถ่ายกำลังจะบอกอะไรบางอย่าง ชีวิตที่ดีภาพที่ดีจะต้องมีเรื่องราว สถานที่แต่ละที่ย่อมมีเรื่องราวเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าของสถานที่นั้น ชีวิตเราเช่นกันควรมีเรื่องราวเพื่อย้ำเตือนตนเองและผู้อื่นเพื่อสร้างคุณค่ามูลค่ารวมถึงแบรนด์ชีวิตผ่านเรื่องราวอีกด้วย  

ภาพจึงมีเรื่องราวเสมอ มีทั้งภาพเล่าเรื่องปลายปิดและภาพเล่าเรื่องปลายเปิด จึงมีคำกล่าวว่า “ไม่มีความจริงเพียงหนึ่งเดียวในภาพ” เพราะถ้ามองผ่านปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนาภาพจะบอกเรื่องราวถึงมิติประกอบด้วย ภาพเชิงป้องกัน ภาพเชิงแก้ไข ภาพเชิงเยียวยา และภาพเชิงรักษาพัฒนา ภาพที่ดีจึงต้องกระทบธรรม แต่ไม่กระทบคน พยายามสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักบอกให้เรามีสติ รวมถึงป้องกันความขัดแย้งป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น 

พระพุทธศาสนามี ๒ ภาพ ประกอบด้วย ภาพแบบธรรมาธิษฐานซึ่งสะท้อนธรรมะขั้นสูง และภาพแบบบุคลาธิษฐานสะท้อนถึงเรื่องราวเหตุการณ์รวมถึงอารมณ์และความรู้สึกในขณะนั้น การถ่ายภาพต้องหลงใหล หมกหมุ่น อธิษฐานบารมี โฟกัสให้เวลา มีความปรารถนาแรงกล้า เพราะจุดหมายปลายทางอาจไม่ใช่ที่สุดของความงดงาม จึงต้องออกเดินทางปีละครั้ง ไปยังที่ที่คุณยังไม่เคยไปหรือ สถานที่นั้นเคยไปมาแล้ว ก็ได้  

ในทางพระพุทธศาสนาการถ่ายภาพจะต้องมีพละเป็นฐาน: พลังภายใน อันประกอบด้วย ๑)ศรัทธาพละ ๒)วิริยะพละ ๓)สติพละ ๔)สมาธิพละ ๕)ปัญญาพละ พลังจึงมีความยิ่งใหญ่อย่างเช่น พลังความรัก Love (ทัชมาฮาล)พลังศรัทธา Faith (พีรมิดอียิปต์) และพลังหวัง Hope (กำแพงเมืองจีน) จึงเริ่มด้วยคำว่าศรัทธา ท่านผู้รู้ได้สะท้อนว่าอำนาจก่อเกิดลูกน้องผ่านสั่งการ คำสั่ง อิทธิพลก่อให้เกิดลูกศิษย์ผ่านการจูงใจ เชื่อใจ ศรัทธาก่อเกิดสาวกผ่านการปฏิบัติคำสอน และบารมีก่อเกิดทายาทผ่านการมีอุดมการณ์ 

การเดินทางจึงช่วยเยียวยา บำบัด มีความเป็นสัปปายะ เป็นการให้เราได้อยู่กับตัวเองมีโอกาสทบทวน เบาสบายมีอิสระปล่อยวาง ลืมปัญหามันไปซะบ้าง เติมเต็มชีวิตให้มีรอยยิ้ม เพิ่มสารแห่งความสุขให้ชีวิต ได้มองเห็นชีวิตในแบบอื่นๆ และลองทำสิ่งใหม่เดินทางคนเดียว 

คำว่า Sacrifice หมายความว่า เป็นการเสียสละเวลาที่เราจะต้องไปเรียนรู้ เป็นการเสียสละเวลาเพื่อเดินตามฝันตนเอง ซึ่งนักท่องเที่ยวจะรู้ว่าตนเองไปไหนแต่นักเดินทางจะไม่รู้ว่าตนเองไปไหน ชีวิตควรเดินทางเพราะชีวิตมี ๒ จาก ประกอบด้วย จากเป็น และ จากตาย  ซึ่งชีวิตนี้มีค่ามีเวลาจำกัด เราจึงเหลือเวลาไม่มากพอ ที่จะไปทะเลาะหรือเบียดเบียนรวมถึงขัดแย้งกับใคร การเดินทางจึงเป็นการลงทุนในตัวเองเพราะใบปริญญามีวันหมดอายุ จงจ่ายให้ตนเองก่อนจ่ายให้คนอื่น จ่ายให้ตนเองไปเรียนรู้ในโลกใบนี้ จงฝึกเป็นผู้นำอย่าฝึกเป็นผู้ตาม ปริญญาความฝันเป็นเรื่องเดียวกัน การเดินจึงช่วงที่จะให้อภัยใครบางคนถึงแม้จะคำกล่าวที่ว่า "การแก้แค้นไม่ใช่คำตอบเสมอไป แต่การให้อภัยไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมเช่นกัน"  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ “พระธรรมราชานุวัตร” ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ “พระพรหมวชิโรดม”

เมื่อวันที่  8 พฤษภาคม 2567    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ความว่า