วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567

"ผอ.สันติศึกษาป.โท มจร" สันติสนทนากับผู้ทำงานด้านสันติภาพ ณ The Interanational Peace Museum Daytoy รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา



วันที่ ๒๗  มกราคม ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ถอดบทเรียนและสันติสนทนากับผู้ทำงานด้านสันติภาพ  ณ The Interanational Peace Museum  Daytoy รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการย้ำเตือนว่า โลกไม่ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยความรุนแรงเท่านั้น แต่ยังมีสันติวิธีเป็นวิธีการที่สำคัญในการออกจากความขัดแย้งทั้งปวง จึงมีการรวมพลังของบุคคลที่เห็นความสำคัญของสันติภาพในการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสันติวิธี โดยให้ความหมายของสันติภาพในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างด้วยความเคารพให้เกียรติกัน อยู่ร่สมกันอย่างไม่เบียดเบียนกัน ในมิติในทางพระพุทธศาสนาจะมองสันติภายในของแต่ละบุคคล "สันติส่วนบุคคลเป็นสันติสากลของโลก" 

ในฐานะศึกษาด้านการสร้างสันติภาพ เมื่อมีโอกาสเดินทางมาสหรัฐอเมริกา จึงแวะชมเกี่ยวกับการทำงานด้านสันติภาพ ทำให้นึกถึงบุคคลสำคัญในการสร้างสันติภาพด้วยสันติวิธี โดยได้ฝากสิ่งสำคัญให้กับโลกใบนี้ ถึงแม้จะจบชีวิตด้วยการถูกลอบสังหารก็ตาม ถึงเวลาผ่านไปนานแสนนานยังมีคนนึกถึงเขาคนนี้อยู่เสมอ เพราะการจะศึกษาด้านสันติภาพต้องเรียนรู้ชีวิตบุคคลท่านนี้ โดยข้อความของท่านกล่าวไว้ว่า "  ผมฝันว่าสักวันหนึ่ง มนุษย์จะไม่ตัดสินว่าใครเป็นอย่างไร เพียงด้วยสีของผิว แต่จะตัดสินด้วยเนื้อหาของความเป็นคนของเรา " 

ในปี ๒๕๐๖ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่นุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี ซี โดยมีผู้ร่วมเดินถึง ๒๐๐,๐๐๐  คน คิงได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญว่า " ข้าพเจ้ามีความฝัน: I Have a Dream "ว่าอเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสี ซึ่งคิงเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน โดยใช้นโยบายใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะคานธี คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทางร่วมกับคนผิวขาว

ในปี ๒๕๐๗ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี ( Kendy Peace Prize ) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ  เพราะเขาเป็นนักเรียกร้อง นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน  ต่อต้านการเหยียดสีผิวในอเมริกา  จึงถูกลอบสังหารในปี ๒๕๑๑ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติ  มีการสร้างอนุสรณ์สถานของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ นักต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและความยุติธรรมทางเชื้อชาติ ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี  เพื่อต้องการให้คนอเมริกันเห็นความสำคัญของความยุติธรรม ประชาธิปไตย ความหวังความรัก สมกับคำว่า I Have  a Dream  วันจันทร์ที่สามของเดือนมกราคม กำหนดให้เป็น ( Martin Luther King Jr. Day ) เป็นวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เพื่อยุติการแบกแยกและเหยียดสีผิว 


สันติภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะโลกใบนี้ไม่ได้แบ่งแยกใคร คนเราต่างหากที่แบ่งแยกกัน แยกเพื่อกดขี่ข่มเหงคนอื่น เพื่อความต้องเหนือกว่าคนอื่น แต่จริงๆ แล้วเราทุกคนต่างเป็นมนุษย์เหมือนกัน ในอเมริกาเห็นมิติคนสีผิวดำกับคนสีผิวขาวทำงานร่วมกัน ในตามสถานที่ต่างๆ แต่ในเชิงลึกแล้วอาจจะมีการเหยียดสีผิวกันอยู่ในบางบุคคล คำถาม "การเหยียด การบลูลี่ การกดทับ" จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงอย่างยิ่ง จึงต้องฝึกที่จะเคารพในความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งโลกมีความหลากหลาย  ตั้งแต่ สีผิว  เชื้อชาติ  ภูมิภาค  ศาสนา  วัฒนธรรม วิถีปฏิบัติ  ทัศนคติ เป็นต้น  

จึงย้ำว่าในโลกปัจจุบันที่มีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาซึ่งความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดาเกิดขึ้นได้ตลอด ด้วยเหตุนี้ สันติภาพมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง จงเริ่มต้นจากการมีสันติภาพในใจของตนเองแล้วขยายสันติภาพไปสู่ชุมชน องค์กร สังคม ประเทศ และโลกต่อไป  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ทางแห่งสันติ

คลิก ฟังเพลงที่นี่  (The Path of Peace) (ท่อนแรก) บนหนทางที่ลมพัดมา กลางพสุธาที่โศกเศร้า ฝุ่นคลุ้งฟ้าหม่นหมองเทา แสงแห่งธรรมยังน...