วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ม.ราชภัฏศรีสะเกษผลักดัน Soft Power สายมูเตลูตามนโยบายของรัฐบาล



เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567   ผศ.ดร.อาสนะ เชิดชู ผู้อำนวยการสถาบันภาษาวัฒนธรรม ในนามสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันกระแสมูเตลู ได้รับการกล่าวถึงในฐานะเป็นความเชื่อในวัตถุและเครื่องรางของขลังที่ทำให้เกิดโชคลาภและประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งนี้ ผู้ที่สวมใส่เครื่องรางของขลังที่ถูกสร้างขึ้นตามความเชื่อทางศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะต้องมีวิธีปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับการสวมใส่ เช่น การประกอบพิธีกรรม การเซ่นไหว้บวงสรวงเทพเจ้า การสักการะบูชารูปเคารพในสถานที่ทางศาสนา

ปรากฎการณ์เหล่านี้คือ ความเชื่อที่ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบัน พบเห็นได้ในหลายสังคม รวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาของชุมชน ซึ่งปรากฏการณ์มูเตลูเกิดขึ้นจากการใช้คำเรียกบุคคลที่มีความเชื่อ ความศรัทธา และเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงเครื่องรางของขลังต่างๆ ขณะเดียวกัน บริบทดังกล่าวยังสอดรับกับพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ 4 เผ่า ที่มีความเป็น “สายมู” อยู่มากเช่นกัน

"จากข้อมูลข้างต้น สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการเสวนาการ ประวัติศาสตร์ สายมูในสังคมไทย วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์มูเตลูในปัจจุบันให้กับผู้ที่สนใจต้องการศึกษาความเชื่อในวัตถุและเครื่องรางของขลังที่ทำให้เกิดโชคลาภและประสบความสำเร็จในชีวิต โดยโครงการนี้อาจเป็นประโยชน์ในเชิงการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง ให้เป็น Soft Power สายมูเตลู ที่สามารถหนุนตามนโยบายของรัฐบาล" 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครูติ๋วชูสกลนครเมืองพุทธธรรม เพื่อไทยเปิดตัวส่งชิงนายก อบจ.

"สกลนครดีกว่าเดิม"  ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno     คลิกฟังเพลงที่นี่ (Intro)   แดนธรรมพุทธา สกลนครเมืองงาม โค ข้...