วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567

ปลุกปั้น Festival เทศกาลไทยสู่สากล


ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌
ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno 
 (Verse 1)
สงกรานต์ ลอยกระทง ผีตาโขนสวยงาม
วัฒนธรรมไทย สืบทอดกันมา
ประเพณีดี มีค่าควรอนุรักษ์
เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
 (Verse 2)
วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม พัฒนาเทศกาล
ให้ทันสมัย น่าสนใจ
ร่วมมือกันทุกภาคส่วน
เทศกาลไทย สู่สากล
 (Verse 3)
จากสงกรานต์บ้านเรา ก้าวไกลให้โลกเห็น
สายน้ำยังเย็น เย็น รดใจไม่เปลี่ยนแปลง
วัฒนธรรมแสนงาม สืบต่อไม่จางหาย
เพิ่มนวัตกรรมสมัย หัวใจยังคงไทยแท้
(Chorus)
ภูเก็ตถึงบางแสน...สร้างฝันไว้ที่นี่
ทุกย่างก้าวที่มี เสริมงานให้ยั่งยืน
การท่องเที่ยวเบ่งบาน...ศิลป์ไทยยิ่งงดงาม
ขอเพียงร่วมมือกัน สู่โลกใบนี้ด้วยใจ
 (Outro)
ภาคภูมิใจในไทยแลนด์
เทศกาลของเรา สู่โลก
มาร่วมกันอนุรักษ์
วัฒนธรรมไทย ให้ยั่งยืน


 
สอวช.จับมือ NIDA ปลุกปั้น Festival ไทยให้รู้จักไปทั่วโลก โดยยังคงรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ เสริมกลยุทธ์งานวิจัยและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อความยั่งยืน ยกประเพณีสงกรานต์ 67 เป็นกรณีศึกษา หลังเงินสะพัด 1.4 แสนล้าน 

เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567   เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดตัวโครงการศึกษาเชิงนโยบายและพัฒนากลไก ด้านนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวประเภทงานเทศกาลท้องถิ่นสู่ระดับสากล และเปิดวงเสวนาในหัวข้อ วิจัยและนวัตกรรมยกระดับ Festival ไทยสู่สากล ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายวงการที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ ชมรมผู้ประกอบการสถานบันเทิง หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี บริษัทอินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทไมซ์ แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด ณ ห้องประชุม Ballroom A โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส  

ผศ.ดร.โชคชัย สุเวชวัฒนกูล หัวหน้าโครงการและอาจารย์คณะการจัดการการท่องเที่ยว NIDA กล่าวว่า การศึกษาครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการนําเอางานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปประยุกต์ใช้ในการจัดงานเฟสติวัลของไทย โดยการหาแนวทางหรือกลไกที่เหมาะสมเพื่อช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้มีการยกระดับงานเทศกาลท้องถิ่นที่มีศักยภาพให้ไปสู่ระดับสากล แต่ยังคงรักษาจิตวิญญาณ วัฒนธรรม ซึ่งเป็นมนต์เสน่ห์ของท้องถิ่นให้คงอยู่ โดยเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมเข้าไปเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และจะเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของไทยและสนับสนุนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล

ดร.สิริพร พิทยโสภณ นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทนผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวว่า สอวช. ในฐานะหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านและทุนทางวัฒนธรรมของประเทศ สนับสนุนการต่อยอดงานวิจัยในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ทันสมัย รวมทั้งส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตผลงานสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของไทยในรูปแบบร่วมสมัยไปสู่ระดับสากล ทั้งด้าน อาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น กีฬา สื่อสร้างสรรค์ และการจัดเทศกาล จึงได้ร่วมกับ NIDA ทำการศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายหรือพัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเฟสติวัลหรือเทศกาลขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งมุ่งหวังที่จะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่จัดงานและส่งเสริมการกระจายการท่องเที่ยวไปสู่เมืองรองโดยรอบ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การท่องเที่ยวของไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน

“การที่ประเทศต่าง ๆ จะสามารถจัดงานเฟสติวัลหรือเทศกาลท้องถิ่น ที่มีรากฐานจากวัฒนธรรมของตนให้เป็นที่รู้จักและยอมรับจำเป็นต้องพิจารณาและจัดการความพร้อมของกลไกต่าง ๆ ในพื้นที่นั้นอย่างรอบคอบ เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่อาจยังไม่เพียงพอ สำหรับการรองรับผู้คนจำนวนมาก ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบการจัดการขยะ เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาถึงความพร้อมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งการประเมินและจัดการปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยให้การจัดงานเทศกาลท้องถิ่นอย่างราบรื่นและยั่งยืนช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อท้องถิ่นและเพิ่มความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมงานได้อีกด้วย” ดร.สิริพร กล่าว

นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนหน่วยงานราชการในพื้นที่ ที่มีการจัดกิจกรรมเทศกาลต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้งและต่อเนื่องทุก ๆ ปี โดยเฉพาะงานที่กลายเป็นภาพจำของบางแสน คืออีเวนต์งานวิ่งบางแสน การมีเฟสติวัลเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่และประเทศในหลายด้านมาก เช่น เกิดมูลค่า

 ทางเศรษฐกิจจำนวนมากผ่านการจ้างงาน เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในพื้นที่จากการใช้จ่ายในช่วงระหว่างการจัดกิจกรรม เกิดการลงทุนหรือการพัฒนาพื้นที่จัดงาน รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและสร้างความรับรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างผู้มาเยือนและคนในพื้นที่ หากพูดถึงบางแสน โดยส่วนใหญ่ความพิเศษของเทศกาลท้องถิ่นมักจะพ่วงไปกับเรื่องศาสนา อย่างงานประเพณีก่อพระทรายวันไหล บางแสน ซึ่งมีการดึงเอกลักษณ์ของบางแสนออกมาอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันก็ได้ใช้ความเป็นผู้นำรุ่นใหม่ขยับไปจัดงานอีเวนต์ระดับประเทศและระดับโลก โดยมองเห็นจากปัญหาของประชาชนในพื้นที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรค NCDs จึงทำให้เกิดกิจกรรมรณรงค์ให้คนพื้นที่ออกกำลังกาย สู่การจัดงานวิ่งระดับนานาชาติ ถือเป็นการตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาให้ประชาชนมีสุขภาพดีและพัฒนาเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้อย่างลงตัว

ด้าน ดร.ปรีชาวุฒิ กี่ลิ้น ประธานที่ปรึกษาชมรมผู้ประกอบการสถานบันเทิง หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมาภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวเพราะมีเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตผู้คน ธรรมชาติ วัฒนธรรมในท้องถิ่น นำไปสู่เทศกาลงานสินค้า OTOP สู่งานเทศกาลดนตรีไทย และขยับสู่เทศกาลงานดนตรีระดับนานาชาติ โดยเฉพาะภูเก็ตเป็นหนึ่งในร้อยประเทศของโลกที่มี DJ ชื่อดังระดับโลกมาเยือน การจะทำให้เทศกาลท้องถิ่นไทยเป็นที่รู้จักระดับโลก ต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นคือการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ให้ยั่งยืน โดยใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ผนวกกับการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น ประชาชนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ขณะเดียวกันหากมีระบบการจัดการที่แข็งแกร่งก็จะขับเคลื่อนเทศกาลท้องถิ่นไทยให้กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

“ภูเก็ตนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นต่างชาติเยอะมาก เราสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ ทั้งสถานบันเทิง ร้านอาหาร ที่พัก รวมถึงดึงชุมชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วม ยกตัวอย่างเช่น มีน้อง ๆ มาร้องเพลงเปิดหมวก ถนนบางลา ที่ป่าตอง ทำให้บางคนถูกชักชวนไปเป็นนักร้องจนโด่งดังด้วยศักยภาพเขาเอง เพียงแค่เรามีพื้นที่สร้างสรรค์ให้เขา ถนนบางลาจึงกลายเป็นถนนที่สื่อถึงการพัฒนาจากระดับท้องถิ่นไปสู่ระดับโลก From Local to Global ได้ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ป่าตองมีนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ เวลาจัดอีเวนต์ประเด็นสำคัญคือคำนึงถึงชุมชน ไม่ได้มีเพียงผู้ประกอบการเท่านั้น และในอนาคตอยากเห็นเอนเทอร์เทนเมนต์และการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันซึ่งกำลังเป็นกระแสทั่วโลก” ดร.ปรีชาวุฒิ กล่าว

นางสาวอุมารี ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะที่มีประสบการณ์ด้านการจัดอีเวนต์ให้ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและระดับนานาชาติกล่าวว่า อยากเห็นภาครัฐมีการผลักดันและยกระดับเทศกาลท้องถิ่นสู่ระดับสากล พร้อมตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ประเทศไทยเต็มไปด้วยเทศกาลท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ และมีเสน่ห์เฉพาะตัว ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ หากได้รับการผลักดันจากทุกส่วน ยกตัวอย่าง เทศกาลผีตาโขน จ.เลย หากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลักดันงาน ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพื้นที่จัดงาน การบริหารจัดการ การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการจัดเตรียมมาตรฐานการบริการที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติได้ เป็นต้น ในฐานะออแกไนซ์ เราสามารถช่วยส่งเสริม ถ่ายทอดเรื่องราวเทศกาลท้องถิ่นต่าง ๆ สร้างความน่าสนใจ ผ่านกลยุทธ์การสื่อสารต่าง ๆ การนำเสนอเรื่องราวโดยใส่ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ เพื่อให้เข้าถึงชาวต่างชาติได้ง่ายขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลงหิวธรรม

เพลง "หิวธรรม" (จังหวะปานกลาง สื่อความรู้สึกลึกซึ้งแต่เข้มแข็ง) บทที่ 1: เขาว่าฉัน "หิวแสง" ใจมันเรียกหา แต่...