วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

"มจร"ติวเข้มครูเชิงพุทธ4.0แนะอย่าลืมราก


"มจร"ติวเข้มครูเชิงพุทธ4.0แนะอย่าลืมราก ยึดหลักโยนิโสมนสิการเป็นฐานการคิดเชิงระบบพัฒนานิสิต เน้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใหม่ หวังปรับตัวสอดให้คล้องกับยุค

วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร  ได้เสนอมุมมองการพัฒนาครูอาจารย์ที่น่าสนใจมากในการสัมมาปฎิบัติการพัฒนาครูอาจารย์ผู้สอนกล่าวว่า การพัฒนาครูอาจารย์ควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพราะครูอาจารย์เป็นต้นธารน้ำ นิสิตที่จะเลือกเรียนที่ใดๆ เพราะตัวของครูอาจารย์เป็นตัวชี้วัดถือว่าเป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงดูด พระพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ กว่าจะมาเป็นครูต้องเรียนรู้ แลกเปลี่ยนจากผู้เชี่ยวชาญมากมาย ในทางตะวันตกที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด มีสุภาษิตข้อหนึ่งว่า " ครูมีหน้าที่ถาม ในคำถามที่ถูก เพื่อให้ผู้เรียนตอบให้คำถามที่ถูก " ถ้าครูตั้งโจทย์ผิด นิสิตก็ตอบผิดเหมือนกัน


มหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีนิสิตไปเรียนจำนวนมาก มองว่าครูอาจารย์เป็นแรงบันดาลใจ อย่างเช่นศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาววีย์ เป็นคนเขียนหนังสือด้านพระพุทธศาสนา มีความเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ทุกคนมุ่งไปหาท่านศาสตราจารย์ ในมิติบ้านเราก็เหมือนกันการประกันคุณภาพเป็นข้อหนึ่งใน มาตรฐานหลักสูตร พูดถึงครูอาจารย์ 11 ข้อ จะเห็นว่าหลายหลักสูตรไม่ผ่านมาตรฐานการประกันคุณภาพ เพราะเขาให้ความสำคัญกับครู " ครูอาจารย์คือศูนย์กลางของหลักสูตร " เป็นเหตุให้ครูต้องมาอบรมเพื่อ " การพัฒนาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ เพื่อลูกศิษย์จะได้อะไรใหม่ๆ "


เรามักจะยกตัวอักษรในพระไตรปิฎกเพื่อยกไปไว้ในความคิดของนิสิต เรามักจะมองว่า" เนื้อหาคือราชา"ใครมีเนื้อหาที่ดีเหมือนราชาที่มีอำนาจ เป็นแนวคิดจากเจ้าพ่อไมโครซอฟพูดจากประสบการณ์ของตนเอง ถือว่าเป็นการทำสื่อ ยิ่งมีข้อมูลมาก ยิ่งมีประโยชน์มาก การเป็นครูอาจารย์ก็เช่นเดียวกัน กล่าวว่า " ครูอาจารย์ท่านใดมีข้อมูลมากเปรียบกับราชามีอำนาจ ฝึกการเรียนรู้ออกนอกห้องเรียน ลงพื้นที่ลงชุมชนสังคม และครูอาจารย์ท่านใดสามารถถอดแนวคิด หลักการ วิธีการถือว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ " สามารถอธิบายที่มาที่ไป สิ่งที่อยู่เบื้องหลังได้ ถือว่าสุดยอด ครูอาจารย์เวลาสอนจะต้องนึกถึงต้นแบบ "


ต้นแบบของครูที่สุดยอด คือ พระพุทธเจ้า " สามารถอธิบายได้ชัดเจน จึงทำให้ผู้เรียนเห็นปรากฎอยู่เบื้องหน้า และถอยหลังที่มาของเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น เวลาสอนต้องบอกได้ว่า " แนวคิดที่สำคัญของเรื่องอยู่ตรงไหน " นี่คือหัวใจสำคัญ หลังจากนั้นเราพาลงพื้นที่เพื่อทราบที่มาและที่ไป จะสามารถบอกเล่าเรื่องราว เวลาเราสอบวิทยานิพนธ์ของนิสิตเรา จุดอ่อนของนิสิตเรา คือ " ความคิดเชิงระบบ " สะท้อนถึงต้นธารของความคิด " ครูอาจารย์คือ ต้นธารของความคิด " การคิดเชิงระบบตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ โยนิโสมนสิการ เป็นการคิด ๑๐ แบบ เป็นกระบวนการและเครื่องมือสำคัญที่จะสะท้อนที่มาของครูอาจารย์ในยุค 4.0 คือ อาจารย์ที่คิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นความคิดเชิงระบบทางพระพุทธศาสนา


"การจะไป 4.0  อย่าลืมฐานและรากเหง้าของเราว่าเราอยู่ตรงไหน อาจารย์ต้องไม่ไร้ราก มีฐานของความเป็นพุทธศาสนา มีหลักการพุทธที่ชัดเจนจะบูรณาการอย่างไรก็จะมีสง่าราศีบนเวทีของอาจารย์ ลักษณะที่ว่า " โลกก็ไม่ซ้ำ ธรรมก็ไม่เสีย " สามารถอธิบายเชื่อมโยงพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างงดงาม ทำให้ลูกศิษย์เกิดความภาคภูมิใจ ถือว่าเป็นความโชคดีของมวลศิษย์ เพราะครูอาจารย์ต้องนำไปต่อยอดการพัฒนาการสอนอย่างมีระบบ" พระมหาหรรษา ระบุ


 พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ที่เข้าร่วมสัมมนาด้วย กล่าวว่า จากการถอดบทเรียนในฐานะนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษาและฐานะเป็นวิทยากรกระบวนธรรมะโอดี เพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุขมีประโยคสำคัญอยู่ 12  ประเด็น ซึ่งขยายความได้ ภายใต้แนวคิดของนิสิต ดังนี้ คือ


ประเด็นที่ 1) คือ " นิสิตเลือกเรียนที่ใด เพราะครูอาจารย์เป็นแม่เหล็กดึงดูด " มองว่าเรื่องนี้เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะตัวอาจารย์จะสะท้อนรูปแบบอัตลักษณ์ต่างๆ ออกมา บางท่านเชี่ยวชาญด้านคัมภีร์ เชี่ยวชาญด้านวิชาการ เชี่ยวชาญกิจกรรม เชี่ยวชาญด้านลงสู่ชุมชน หรือเชี่ยวชาญทั้งหมด นิสิตจะมองอาจารย์มากกว่าหลักสูตรที่จะเรียน


ประเด็นที่ 2) คือ " พระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบของครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"มองว่า พระพุทธเจ้าพระองค์เป็นต้นแบบที่ครูอาจารย์ต้องเดินตาม พระองค์มีหลักการ วิธีการ อุดมการณ์ และกระบวนการสอนอย่างเป็นระบบ มีวิธีการสอนที่มีความหลากหลาย วิเคราะห์ผู้เรียน ก่อนจะนำเสนอธรรมะให้เหมาะสมกับบุคคลนั้น พระองค์จึงเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


ประเด็นที่ 3) คือ " ครูมีหน้าที่ถามในคำถามที่ถูก ศิษย์มีหน้าที่ตอบในคำถามที่ถูกเช่นกัน " มองว่า กระบวนการคิดของครูอาจารย์ต้องเป็นระบบ คือ โยนิโสมนสิการ ถือว่าเป็นกระบสนการคิดในทางพระพุทธศาสนา มีสัมมาทิฐิ มีเห็นที่ถูกต้อง มีความรักต่อมวลศิษย์ เรียกว่า " ให้ความรักก่อนให้ความรู้ " การคิดของครูอาจารย์จึงเป็นจึงสะท้อนกระบวนการคิดของศิษย์ ครูตั้งคำถามที่ถูก ศิษย์ก็จะตอบคำถามถูกเช่นเดียวกัน


ประด็นที่ 4) คือ " ครูอาจารย์คือศูนย์กลางของหลักสูตร การประกันคุณภาพจึงวัดคุณภาพของครูอาจารย์ " มองว่า การที่ สกอ. มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรนั้น หัวใจสำคัญคือ การประเมินคุณภาพของครูอาจารย์ เมื่อครูอาจารย์ไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์จะทำให้หลักสูตรมีคุณภาพได้อย่างไร เพราะครูอาจารย์เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักสูตร เป็นศูนย์กลางของหลักสูตร แต่ละหลักสูตรจึงพัฒนาครูอาจารย์อย่างสุดฝีมือ เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ


ประเด็นที่ 5) คือ" สร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อลูกศิษย์จะได้สิ่งใหม่ ๆ " มองว่า ครูอาจารย์ที่สุดยอด คือ ครูอาจารย์ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับศิษย์มากกว่าครูอาจารย์มาบอกแค่ข้อมูลหรือเล่าเรื่องราวเท่านั้น เมื่อครูอาจารย์มีแรงบันดาลใจใหม่ๆ จะส่งผลต่อลูกศิษย์ก็จะมีแรงบันดาลใจใหม่ๆ เช่นกัน


ประเด็นที่ 6) คือ " เนื้อหาคือราชา ครูอาจารย์มีเนื้อหามากเปรียบกับราชาผู้มีอำนาจ " มองว่า การมีข้อมูลมากจะต้องค้น คว้า คีย์ คลุก คิด ใช้กระบวนการสุตมยปัญญา คือ การฟังจะนำมาการมีข้อมูล หมั่นค้นคว้าพัฒนาตนเอง รอบรู้ รู้ลึก รู้กว้าง รู้ไกล ผู้มีปัญญาจึงเป็นผู้มีอำนาจ เพราะปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก


ประเด็นที่ 7) คือ " แนวคิดสำคัญของเรื่องที่สอนอยู่ตรงไหน ลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อการเรียนรู้ที่มาที่ไป " มองว่า การเป็นครูในปัจจุบันต้องพัฒนาไปสู่การเป็น KF. คือ เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มิใช่เรียนแค่ทฤษฎีแต่ต้องสามารถนำทฤษฎีลงไปทำได้ในชุมชนสังคม เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง


ประเด็นที่ 8) คือ " จุดอ่อนของนิสิตคือ ความคิดเชิงระบบ สะท้อนความคิดของครูอาจารย์ " มองว่าในฐานะนิสิตปริญญาเอก การคิดเชิงระบบถือว่าเป็นจุดด้อย เพราะเหตุใด ? รู้หลักธรรมรู้ศาสตร์สมัยใหม่ แต่เวลาเขียนหรือสื่อสารออกมาไม่สามารถคิดเป็นระบบได้ กระบวนการเรียนรู้ถือว่าเป็นเหตุผลสำคัญของต้นเหตุ หัวใจหลักก็คือ ครูอาจารย์ จะออกแบบการสอนอย่างไรให้นิสิตคิดเชิงระบบเป็น เป็นโจทย์ที่ท้าทายของครูอาจารย์ 4.0


ประเด็นที่ 9) คือ " ครูอาจารย์คือ ต้นธารของความคิดเชิงระบบ ด้วยโยนิโสมนสิการ " มองว่า กระบวนการคิดเชิงระบบทางพระพุทธศาสนาคือ โยนิโสมนสิการ จะเรียนอย่างไรถึงจะเข้าใจระบบของโยนิโสมนสิการ มีกิจกรรมอะไรที่สามารถสอดคล้องกับโยนิโสมนสิการ ถึงเวลาออกแบบการเรียนรู้เรื่องนี้อย่างจริงจังหรือยัง ผ่านกิจกรรมมากกว่าการท่องจำเท่านั้น ครูอาจารย์จึงเป็นต้นธารของความคิดเชิงระบบ


ประเด็นที่ 10  คือ " โยนิโสมนสิการเป็นฐานของการคิดเชิงระบบในยุค 4.0 ของครูอาจารย์ " มองว่า ในด้านการสอนทางพระพุทธศาสนาโยนิโสมนสิการเป็นฐานที่สำคัญสู่การคิดเชิงระบบจนเกิดนวัตกรรมในการเรียนรู้ของนิสิต ครูอาจารย์ 4.0 ต้องมีฐานการคิดมาจากโยนิโสมนสิการ ถึงจะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาได้ ถึงจะตอบสนองความต้องการของนิสิต


ประเด็นที่ 11) คือ " ก่อนจะไป 4.0 อย่าลืมรากเหง้าของเราว่าอยู่ตรงไหน พระพุทธศาสนาคือรากฐานของเรา " มองว่า สะท้อนถึงคำว่า เมื่อก้าวหน้า อย่าลืมก้าวแรก อย่าลืมรากฐานของเราว่าเรามาจากไหน จะไปที่ใด ไปอย่างไร พระพุทธศาสนาจึงเป็นรากเหง้าของสถาบันการศึกษาของสงฆ์ ขาดไม่ได้เลย กล่าวว่า อย่าลืมของเก่า อย่าเมาของใหม่ การสอนจึงต้องมีพุทธเป็นฐานและบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่เพื่อความทันสมัยมากขึ้น


ประเด็นที่ 12 ) คือ " ปรับศาสตร์เข้าหาพระพุทธศาสนา อธิบายเชื่อมโยงกับศาสตร์สมัยใหม่ " มองว่า การสื่อสารของครูอาจารย์ในยุคสมัยนี้จะต้องใช้พุทธเป็นฐานวิทยาการสมัยเป็นตัวขับเคลื่อน เช่น ใช้ทฤษฎีการสื่อสารของเบอร์โล คือ SMEMR เป็นแนวคิดของศาสตร์สมัยใหม่ แต่ฐานพุทธจะต้องมีสติทุกครั้งเมื่อเราสื่อสาร มีฐานพุทธด้วยหลักธรรม คือ สัมมาวาจา ปิยวาจา วจีสุจริต จึงต้องมีการเชื่อมโยงของทุกศาสตร์เพื่อการเป็นครูอาจารย์ในยุค 4.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รวม 4 สุดยอดเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส จ.นครพนม อายุ109 ปี

เหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช  หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อายุ 109 ปี รวมความเป็นสุดยอดดังนี้ สุดยอดพุทธศิลป์ สุดยอดม...