วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560
นายกฯอินเดียเยือนเมียนมาภาวะปมโรฮิงญาเดือด
นายกฯอินเดียเยือนเมียนมาภาวะปมโรฮิงญาเดือด มุสลิมยกมนุษยธรรมบีบ"ซูจี"ลดความรุนแรง
ท่ามกลางความตรึงเครียดที่รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา เนื่องจากเมื่อวันที่ 25 ส.ค.2560 ตามที่แถลงการณ์ของรัฐบาลเมียนมาระบุว่า "กลุ่มติดอาวุธชาวบังกลาเทศ(กลุ่มติดอาวุธมุสลิม โรงฮิงญา) บุกโจมตีสถานีตำรวจเมืองมองดอว์ในรัฐยะไข่ด้วยระเบิดที่ประกอบขึ้นเอง พร้อมกับร่วมกันโจมตีด่านตำรวจอีกหลายแห่งเมื่อเวลา 1 นาฬิกา" ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 71 ราย ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร 12 ราย
ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่เมียนมาได้เข้าควบคุมพื้นที่โดยอพยพชาวเมียนมาที่เป็นชาวพุทธออกนอกพื้นที่ ขณะเดียวกันโรงฮิงญาได้อพยพหนีภัยออกนอกพื้นที่ส่วนหนึ่งอพยพยังไปประเทศบังกลาเทศและประเทศอินเดียแต่ถูกผลักดันกลับเป็นจำนวนมาก และเหตุการณ์ยืดเยื้อจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันได้มีชาวมุสลิมประเทศต่างๆได้ชุมชนประท้วงประเทศเมียนมาอย่างเช่นที่ประเทศมาเลเซีย รัสเซีย พร้อมกันนี้ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามได้มีมาตรการกดดันอย่างประเทศมัลดีฟส์ประกาศระงับความสัมพันธ์ทางการค้าจนกว่าประเทศเมียนมาไม่ใช้ความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมานางเรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปยังประเทศเมียนมาโดยขอให้ป้องกันความรุนแรง เพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนทุกคน รวมทั้งชาวมุสลิม และเพื่อให้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรธมนั้น
วันที่ 5 กันยายนนี้เฟซบุ๊ก Narendra Modi ของนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีได้เผยแพร่ภาพนายโมดีเดินทางไปเยือนประเทศเมียนมา
อย่างไรก็ตามเฟซบุ๊ก The MATTER ได้รายงานเรื่อง "Timeline ชะตาชีวิตชาวโรฮิงญา ชาติพันธุ์ไร้แผ่นดิน" ความว่า
"ไร้แผ่นดิน" "อพยพไปไหนใครก็ไม่รับ" "อยู่ที่ไหนก็ถูกกดขี่ ข่มเหง ใช้แรงงานเป็นทาส" นี่คือชะตากรรมชีวิตของชาวโรฮิงญา ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในพม่ากับเรื่องราวที่มีมาให้เราได้ยินตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้แต่ในประเทศของเราเอง ก็ยังมีข่าวพวกเขาลงเรือ หาทางอพยพเข้าไทย แต่ไม่ได้รับการยอมรับ และการพบศพคนกลุ่มน้อยนี้จากการค้ามนุษย์ในภาคใต้
ก่อนจะมาเป็นชาวโรฮิงญาที่ถูกเรียกในปัจจุบัน มีการเรียกชนกลุ่มนี้ทั้งชาวมุสลิมเบงกาลี มุสลิมอาระกัน ซึ่งโดยรวมแล้วหมายถึงชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในแถบบังกลาเทศและรัฐยะไข่
ทำไมชาวโรฮิงญาถึงเป็นชนชาติที่ไร้แผ่นดิน ทำไมพม่าถึงไม่ยอมรับพวกเขาแม้จะอาศัยอยู่ในประเทศนี้มากว่า 100 ปี ความขัดแย้งของคนพม่ากับชาวโรฮิงญาคืออะไร The MATTER ได้สรุปไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ ชะตาชีวิตของชาวโรฮิงญามาให้ทุกคนได้เข้าใจสถานการณ์ของชาติพันธุ์นี้กันมากขึ้นแล้ว
ก่อนอาณานิคม (ช่วง พ.ศ. 1443-2367)
- ชาวพุธและมุสลิมอยู่ร่วมกันในอาระกัน (รัฐยะไข่ ประเทศพม่าในปัจจุบัน) และจิตตะกอง (บังกลาเทศ) โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่า บรรพบุรุษของชาวโรฮิงญาคือพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่เดินทางมาค้าขาย และตั้งถิ่นฐานในแถบนั้น
- เมื่อปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าโบดอพญาผนวกยึดดินแดนอาระกัน ทำให้ชาวมุสลิมที่อยู่ในดินแดนนี้ ต้องอพยพหนีไปอยู่เบงกอล (บังกลาเทศในปัจจุบัน)
ยุคอาณานิคม (พ.ศ. 2367-2490)
- อังกฤษเข้ายึดครองเบงกอล และพม่า รวมทั้งสองเข้าเป็นอาณานิคม British India ผู้คนจากทั้งสองฝั่งไปมาหาสู่กันได้อย่างอิสระ เพราะกลายเป็นประเทศเดียวกัน และมีการนำชาวโรฮิงญาที่อยู่ในเบงกอลกลับมาเป็นแรงงานในพม่า
- ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2485 พม่าแยกตัวจากอาณานิคม British India โดยได้รับความช่วยเหลือจากจักรวรรดิญี่ปุ่นที่แผ่เข้ามาในประเทศ และขับไล่กองทัพอังกฤษให้ถอยร่นไปอยู่อินเดีย อังกฤษจึงติดอาวุธให้ชาวโรฮิงญา เพื่อแลกกับโอกาสในการตั้งรัฐอิสระ แต่ชาวโรฮิงญากลับใช้อาวุธโจมตีชาวพม่าในรัฐอาระกัน จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง
- ภายหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษกลับเข้ามาในพม่าเพื่อสถาปนาระบอบอาณานิคมอีกครั้ง ในปี 2488 ด้วยการนำของนายพลอองซาน
ยุคหลังพม่าได้รับเอกราช (พ.ศ. 2491-2555)
- ในปี 2491 พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ โดยมีการเซ็นสนธิสัญญาปางหลวง ระหว่างนายพลอองซานกับผู้นำชนกลุ่มน้อย เพื่อสร้างเอกภาพในการรวมชาติ แต่ชนกลุ่มน้อยอย่างโรฮิงญากลับไม่ได้รับเชิญ ชาวโรฮิงญาเห็นแบบอย่างของปากีสถานและบังกลาเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมที่สามารถแยกประเทศออกมาจากอินเดียได้ จึงต้องการขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับบังกลาเทศ แต่ได้รับการฏิเสธ
- สถาการณ์ของชาวโรฮิงญาดีขึ้น เมื่อนายพลอูนุ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ได้มีนโยบายผลักดันให้ตั้งเขตการปกครองพิเศษในพื้นที่ของชาวมุสลิมในรัฐอาระกัน รวมทั้งชาวโรฮิงญาได้รับการประกาศให้เป็นพลเมือง มีบัตรประชาชน และมีสถานีวิทยุเป็นภาษาของตัวเอง แต่ก็ยังมีความพยายามในการแยกรัฐอิสระและการสู้รบกับฝ่ายพม่าอยู่เรื่อยๆ
- ในช่วง พ.ศ. 2505-2517 สถานการณ์ของชาวโรฮิงญาต้องเปลี่ยนไป เมื่อนายพลเนวิน ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจ ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม ทั้งมองว่าชาวโรฮิงญาเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีปัญหา ต้องการแยกรัฐอิสระ จึงเริ่มยกเลิกเขตปกครองพิเศษ ยกเลิกบัตรประชาชน สิทธิพลเมือง ปฏิเสธไม่ให้ชาวโรฮิงญา และได้มีการเปลี่ยนชื่อจากรัฐอาระกันมาเป็นยะไข่ ในปี 2517
- เท่านั้นยังไม่พอ ในช่วง พ.ศ. 2520-2521 รัฐบาลเนวินเริ่มปฏิบัติการ Naga Min หรือ Dragon King โดยอ้างว่าเพื่อสำรวจพื้นที่ที่มีผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย แต่ข้อมูลจากหลายฝ่ายรายงานว่าแท้จริงแล้วเป็นปฏิบัติการเพื่อล้อมกรอบชาวโรฮิงญา จนทำให้มีชาวโรฮิงญาประมาณ 2 แสนคน ต้องหนีไปบังกลาเทศ
- ในช่วงพ.ศ. 2534-2540 เริ่มมีรายงานว่าชาวโรฮิงญาลี้ภัยกว่า 250,000 คน เพื่อหนีออกจากพม่า จากการถูกบังคับใช้แรงงาน การข่มขืน และการข่มเหงทางศาสนา โดยกองทัพพม่ารายงานว่าเป็นความพยายามจัดระเบียบในรัฐยะไข่ แต่ถึงแม้จะหนีออกมา แต่ก็ชาวโรฮิงญากว่า 230,000 คน ก็ถูกส่งกลับมารัฐยะไข่ ในข้อตกลงการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ
- ในปี พ.ศ. 2555 เกิดเหตุจลาจล และปะทะครั้งใหญ่ในรัฐยะไข่ ระหว่างคนพุทธกับมุสลิมโรฮิงญา จนมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในรัฐนี้ โดยมีการประเมินว่ามีชาวโรฮิงญา 150,000 คนอพยพจากความรุนแรงดังกล่าว มีบ้านเรือนของทั้งชาวโรฮิงญาและชาวพุธยะไข่เรือนถูกเผาราวกว่า 3,000 หลัง และมีผู้เสียชีวิตกว่า 150 ราย
ยุคปัจจุบัน
- ในปัจจุบันถึงจะมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยมากขึ้น แต่ชาวโรฮิงญากลับยังต้องเผชิญปัญหา และถูกกวาดล้างอยู่ โดยในปีที่แล้ว ชาวโรฮิงญากว่า 100 รายถูกฆ่า และอีกกว่า 600 รายถูกจับกุม รวมถึงทำลายบ้านเรือน จากการกวาดล้างและจับกุมผู้ต้องสงสัยที่สังหารตำรวจชาวพม่า 9 ราย ทั้งยังมีผู้อพยพกว่า 25,000 คนที่อพยพจากเหตุในครั้งนี้
- ในต้นเดือนที่ผ่านมา มีข่าวชาวโรฮิงญาถูกกวาดล้างอีกครั้ง โดยมีรายงานว่ากองทัพของพม่าได้เริ่มปฏิบัติการต่อสู้กับกองกำลังติดอาวุธของชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ซึ่งมีชาวโรฮิงญาเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 400 คน ทั้งยังมีการอพยพครั้งใหญ่ที่มีชาวโรฮิงญาลี้ภัยเกือบ 1 แสนคนแล้ว โดยมีการประเมินว่านี่คือเหตุการณ์นองเลือดที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีของพม่าเลยทีเดียว
แม้พม่าจะเปลี่ยนจากการปกครองของรัฐบาลทหาร มาอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พร้อมความคาดหวังว่าออง ซาน ซู จี เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ และมุขมนตรีแห่งรัฐ จะแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่สถานการณ์ในตอนนี้กลับถูกรายงานว่ารัฐยะไข่กลายเป็นพื้นที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา ท่ามกลางการปฏิเสธของกองทัพเมียนมา และซู จี ที่อ้างว่าเป็นปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อจับกุมชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธ ทั้งเธอยังเคยบอกชาวพม่าให้หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "โรฮิงญา" และ "เบงกาลี" แต่แนะนำให้ใช้คำว่า "ชาวมุสลิมที่อยู่ในรัฐยะไข่" แทน ซึ่งในตอนนี้ ซู จีก็ถูกตำหนิจากหลายฝ่ายถึงความละเลย และไม่ปกป้องชาวโรฮิงญา รวมทั้งยังมีการสร้างแคมเปญลงชื่อถอดถอนรางวัลโนเบลสันติภาพของซู จี ซึ่งมีผู้ลงชื่อเกือบ 30,000 คนแล้ว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา
การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น