วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

มุสลิมอินเดียนิมนต์พระสงฆ์ไทยฉันภัตตาหาร





มุสลิมอินเดียนิมนต์พระสงฆ์ไทยฉันภัตตาหาร สร้างศาสนาสัมพันธ์ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

วันที่ 5 ก.ย.2560 เฟซบุ๊ก Namaste Dhamma ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า  "ศาสนาสัมพันธ์ ครอบครัวมุสลิมกุสินารานิมนต์พระสงฆ์ไทยฉันภัตตาหาร"


วันที่ 4 กันยายน 2560 วันพระ ขึ้น 15  ค่ำ เดือน 10  ครอบครัวชาวมุสลิมในเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย ได้นิมนต์พระสงฆ์ไทย 5 รูป ฉันภัตตาหารเพลที่บ้าน ในเทศกาลบูชาของชาวมุสลิม นับว่าเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศาสนาสัมพันธ์ในเมืองกุสินาราที่เข้าไปอยู่ในหัวใจของทุกศาสนาในเมืองกุสินารา ตามแนวคิดของพระเดชพระคุณ พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ที่กล่าวว่า


"จิตที่คิดให้มันเบา จิตที่คิดเอามันหนัก และเดินตามทางของเขา สู่เป้าหมายของเรา โดยไม่จำเป็นที่เขาจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาเรา แต่ทำอย่างไรให้เขามาเป็นพวกเราให้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นภาพที่หาดูได้ยากที่มุสลิมจะมาถวายภัตตาหารพระสงฆ์"


โดยหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระครูสมุห์สงกรานต์ กิตฺติวโส ได้กล่าวสัมโมทนียกถา เพื่อฉลองศรัทธาครอบครัวมุสลิม ในหลักของความเมตตา ทำให้ในชุมชนนั้น ทั้งพุทธ มุสลิม ฮินดู อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ภายใต้หลักคำสอนของแต่ละศาสนา การปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา โดยมี "บวร" บ้าน(ชุมชน) วัด (พุทธ มุสลิม ฮินเดีย) โรงเรียน เป็นศูนย์กลาง ในทางพุทธศาสนานั้นมีหลักในการปฏิบัติคือศีล 5  บุญกิริยาวัตถุ 3  ประการ คือ การให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา เมื่อนำมาปฏิบัติแล้วทำให้ชีวิต ครอบครัว ชุมชน มีความสุข และที่สำคัญคือ หัวใจหลักของพระพุทธศาสนา ๓ คือ ทำความดี ละความชั่ว ทำใจให้บริสุทธิ์ มีความสุข ซึ่งพระสงฆ์ทั้ง 5  รูปได้สวดมนต์ให้พรก่อนเดินทางกลับ เพื่อความเป็นสิริมงคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...