ท่ามกลางความตรึงเครียดที่รัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา เนื่องจากเมื่อวันที่ 25 ส.ค.2560 ตามที่แถลงการณ์ของรัฐบาลเมียนมาระบุว่า "กลุ่มติดอาวุธชาวบังกลาเทศ(กลุ่มติดอาวุธมุสลิม โรงฮิงญา) บุกโจมตีสถานีตำรวจเมืองมองดอว์ในรัฐยะไข่ด้วยระเบิดที่ประกอบขึ้นเอง พร้อมกับร่วมกันโจมตีด่านตำรวจอีกหลายแห่งเมื่อเวลา 1 นาฬิกา" ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 71 ราย ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร 12 ราย
ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่เมียนมาได้เข้าควบคุมพื้นที่โดยอพยพชาวเมียนมาที่เป็นชาวพุทธออกนอกพื้นที่ ขณะเดียวกันโรงฮิงญาได้อพยพหนีภัยออกนอกพื้นที่ส่วนหนึ่งอพยพยังไปประเทศบังกลาเทศและประเทศอินเดียแต่ถูกผลักดันกลับเป็นจำนวนมาก และเหตุการณ์ยืดเยื้อจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันได้มีชาวมุสลิมประเทศต่างๆได้ชุมชนประท้วงประเทศเมียนมาอย่างเช่นที่ประเทศมาเลเซีย รัสเซีย พร้อมกันนี้ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามได้มีมาตรการกดดันอย่างประเทศมัลดีฟส์ประกาศระงับความสัมพันธ์ทางการค้าจนกว่าประเทศเมียนมาไม่ใช้ความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา
ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมานางเรตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปยังประเทศเมียนมาโดยขอให้ป้องกันความรุนแรง เพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนทุกคน รวมทั้งชาวมุสลิม และเพื่อให้เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรธม
อย่่างไรก็ตามดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวถึงกรณีโรฮิงญาผ่านหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์วันที่ 6 ก.ย.ความว่า วันที่ 25 สิงหาคม 2560 เมื่อกองกำลังที่ถูกเรียกว่า กลุ่มก่อการร้ายโรฮิงญา ได้เข้าโจมตีกองกำลังตำรวจ และฐานทัพทหาร ชาวโรฮิงญา UN ระบุตัวเลขว่า อพยพ จำนวน 123,000 คน ชาวพุทธยะไข่ รวมถึงชาวฮินดู เอง ก็มีข่าวว่าหลบหนีไปยังค่ายในพม่ากว่า 400 คน ประเทศสมาชิกอาเซียนควรหาวิธีป้องกันอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความตึงเครียดที่กำลังเกิดขึ้น เพราะอาจจะได้สูญเสียความน่าเชื่อถือ รวมถึงความเชื่อมั่นจากนานาชาติ ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นภัยพิบัติของมนุษย์ ชมรัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซียที่ไปเมียนมา
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า นักรบตอลิบาน 200 คน และ ชาวเชเชน ดากิสถาน 300 คน ช่วยมุสลิมโรงฮิงญาแล้วนั้น
วันที่ 6 กันยายนนี้เฟซบุ๊ก Narendra Modi ของนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีได้เผยแพร่ภาพนายโมดีเดินทางไปเยือนประเทศเมียนมาโดยได้ถ่ายภาพคู่กับนางออง ซาน ซูจี ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย และรัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดี
ภายหลังการหารือ ผู้นำทั้งสองประเทศได้ร่วมกันแถลงข่าวในประเด็นความรุนแรงสุดโต่งที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา และขอให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดร่วมสร้างสันติภาพด้วยการหารือหาแนวทางให้การแก้ไขปัญหาที่เป็นภูเขาน้ำแข็งมานานโดยตั้งอยู่บนหลักของเอกภาพภายในประเทศ
นายกรัฐมนตรีประเทศอินเดียยังชื่นชมนางออง ซาน ซูจีในการรักษาสันติภาพในประเทศเมียนมา ขณะที่นางออง ซาน ซูจีก็ได้ขอบคุณนายโมดีที่ได้ยืนหยัดต่อสู้กับภัยคุกคามที่น่ากลัวของเมียนมาดังกล่าว
"เราจะทำให้มั่นใจว่าความหวาดกลัวไม่ได้รับอนุญาตให้หยั่งรากลงบนดินหรือบนดินแดนของประเทศเพื่อนบ้านของเรา" นางซูจีระบุ
พร้อมกันนี้ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงด้านความปลอดภัยทางทะเลและความมั่นคงของประเทศทั้งสองเพื่อให้ความหวาดกลัวได้หมดไป
...................
(หมายเหตุ : ที่มาของข้อการหารือระหว่างนายโมดีกับนางออง ซาน ซูจี http://www.news18.com/news/world/india-shares-myanmars-concern-over-extremist-violence-in-rakhine-state-pm-1510943.html)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น