วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560
"สมภาร"ชี้โรฮิงญาปมปัญหาทั้งการเมือง-ศาสนา
"มจร"จัดถก"ศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน" "สมภาร พรมทา"ระบุเหตุปะทะโรฮิงญาเมียนมาเป็นปัญหาทั้งการเมืองและศาสนา นิสิตป.เอก สันติศึกษา แนะควรมีกระบวนการสร้างความเข้าใจ
วันที่ 19 ก.ย.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มจร จัดการสัมมนาวิชาการ "ศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน" โดยมี ศ.ดร.สมภาร พรมทา ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา มจร ได้ร่วมบรรยายด้วย โดยมองปัญหาโรฮิงญาที่ประเทศเมียนมาว่า เป็นปัญหาทางการเมืองและศาสนา เพราะศาสนาทำให้เรามองว่าเป็นพวกเดียวกัน ศาสนาอิสลามจะถูกปลูกฝังมาแบบเชิงลึกรักพวกพ้อง ในกรณีการเป็นพวกเดียว เช่น ศาสนาเดียวกัน ส่วนศาสนาพุทธถือว่าน้อยในเรื่องศาสนาเดียวกัน เพราะบางครั้งคนพุทธยังขัดแย้งกันเอง
ศ.ดร.สมภาร กล่าวด้วยว่า มหาจุฬาฯจะชี้นำอย่างไรเมื่อศาสนามีการกระทบกระทั่งกัน บางครั้งเราชี้นำให้เกิดการทะเลาะกันบางครั้งเราชี้นำให้เกิดสันติสุข มหาจุฬาฯเป็นสถาบันการศึกษามีนักวิชาการทางด้านศาสนา ควรจะมีนักวิชาการทางด้านศาสนาทุกศาสนา เพื่อไม่สร้างความขัดแย้งในศาสนา แต่มุ่งให้ศาสนาอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งคุณสมบัติของนักวิชาการศาสนาควรจะเป็นอย่างไร? เราต้องพัฒนาเหมือนนักวิทยาศาสตร์ พยายามจะศึกษาความจริงด้วยการผ่านการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาที่ปราศจากอคติ นักวิทยาศาสตร์ ต้องศึกษาธรรมชาติโลกอย่างเป็นกลาง ดังนั้น นักการศาสนาต้องศึกษาอย่างเป็นกลางเหมือนกัน
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร มองว่า นักวิชาการศาสนาต้องไม่ไปเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือศาสนา แต่เราควรจะหาวิธีในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากกว่า เพราะหนังสือเล่มกล่าวไว้ว่า " สงครามกับศาสนาเป็นของคู่กัน " เพราะสามารถปลุกระดมคนง่ายเมื่อใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาในประเทศไทยอย่างไร? รัฐควรจะสร้างการอยู่ร่วมกันหาจุดร่วม มากกว่าจุดต่าง อะไรคือจุดร่วมของศาสนา? ซึ่งเป็นเรื่องปกติศาสนามีความต่างอย่างแน่นอน เช่น
อาหารฮาลาล คนซื้อคือคนอิสลาม แต่คนขายเป็นคนนับถือศาสนาพุทธ ถ้าเราต่อต้านกันถือว่ากระทบกันระหว่างศาสนา ปัจจุบันตะวันตกเป็นโรคความกลัวศาสนาอิสลาม ถ้ากลัวไม่ต้องไปฆ่ากันเพราะไม่จบสิ้น แต่จะหาวิธีอยู่ร่วมกันอย่างไรในความแตกต่าง? นักวิชาการศาสนาต้องชี้นำเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ นักวิชาการต้องไม่ไปรบกับใคร นักวิชาการศาสนาในบ้านเราบางครั้งเราเงียบ เพราะพูดแล้วจะโยงว่าอยู่ฝ่ายใด นักวิชาการจะชี้ว่า " ถ้าคุณเลือก A คุณจะได้อะไรคุณจะเสียอะไร ถ้าคุณเลือก B คุณจะได้อะไรคุณจะเสียอะไร นักวิชาการต้องชี้ให้เป็นกลางที่สุดด้วยการปราศจากอคติ
พระปราโมทย์ ระบุด้วยว่า ฉะนั้น ในช่วงเวลาแต่ละศาสนาปะทะกันเราจะเห็นข้อดี เพราะเราได้เรียนรู้เห็นมิติต่างๆซึ่งผู้นำศาสนาจะต้องรู้ศาสนาอื่นให้มากๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ เช่น อาหารฮาลาล ถ้ามองด้านเศรษฐกิจถามว่า ถ้าเราต่อต้านกันเราจะได้ขายไหม? แต่ถ้าเราปฏิบัติตามกฎระเบียบเขาเราก็ได้ขาย คนที่ได้ประโยชน์คือ " ชาวพุทธ" สิ่งสำคัญเราต้องศึกษากันและกันเพราะแต่ละศาสนามีกติกาของแต่ละศาสนา แม้แต่ล่าสุดมีการไปสัมภาษณ์ฮองซานซูจีกรณีโรฮินญา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของการเมือง ควรมาศึกษาให้เชิงลึก แต่เราจะบอกว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาไม่ได้เพราะ ส่วนหนึ่งประกาศว่า " เป็นการต่อสู้ในนามศาสนา " ซึ่งมีความชัดเจนที่หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า "ทำความเข้าใจระหว่างศาสนา" ปัจจุบันเราทำความเข้าใจกันมากน้อยเพียงใด? หรือเราจะโจมตีกันไปมา ประเด็นนี้น่าสนใจมากที่ศาสนาเปรียบเทียบให้ความสนใจ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น