พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวจการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา กล่าวส้่ พระพรหมบัณฑิต ศ
.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต) กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ในวันที่ 17 ก
.ย. ได้เป็นประธานเปิดนิทรรศการ "กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต" ที่หอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร (1) การจัดทำเป็นดิจิทัล ที่จัดเก็บข้อมูลและการนำเส
นอแบบดิจิทัล ทั้งไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง ของกิจกรรม และหนังสือจำนวนมาก และวางแนวทางการบริหารให้สอดรับ และอยู่รอดกับโลกในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิผลต่อ
ไป" -เปิด"กงล้อชีวิตพระพรหมบัณฑิต"ถามหาคำพูดที่ยูเอ็น http://www.banmuang.co.th/news/education/91049
พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า ในยุคดิจิตอลเทคโนโลยีมีความเจริญมาก ขณะเดียวกันข้อมูลที่เผยแพร่ทางโลกดิจิตอลนั้นมีลักษณะเป็นมารคือมีทั้งจริงและไม่จริงเป็นภัยก็
มาก ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นข้อมูลเชิงบวกที่เป็นประโยชน์ขึ้นไปในกระแสโลกดิจิตอลบ้าง แนวทางก็คือจะ
ต้องมีการร่วมมือของชาวพุทธเป็นลักษณะเครือข่าย
ด้วยเหตุนี้มหาจุฬาฯจึงได้ลงทุนงบประมาณเป็นจำนวนมากด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการจัดการศึกษา กิจกรรมการเรียนสอน ทั้งสื่อการสอน การสอนและประชุมทาง
ไกล ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีถูกลงมาก
"อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญอยู่ที่เนื้อหา (Content) ซึ่งอาจารย์และนิสิตควรร่วมมือกันออกแบบเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาให้น่าสนใจ เพื่อพานิสิตเข้าถึงองค์
ความรู้ที่กว้างขวางและมีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลก เพื่อตอบโจทย์ข้อนี้ มหาจุฬาฯ จึงมุ่งที่จะนำพระไตรปิฏกฉบับสากล (Common Buddhist Text:
CBT) มาพัฒนาต่อยอดเป็นสหบรรณานุกรม (Union Catalog of Buddhist Text:UCBT) โดยการสร้างโปรแกรมดิจิตอล เพื่อแปร
ข้อมูลพระไตรปิฏกฉบับต่างๆ ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ชาวโลกสามารถ Search Engine เข้าถึงเนื้อหาที่เชื่อมโยงถึง
กันเหมือนกัน Google" พระพรหมบัณฑิตระบุ
พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวจการวิทยาลัยพระพุทธศาสตร์นานานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา ได้กล่าวว่า หลังจากนั้นได้มี
การอภิปรายโต๊ะกลมโดยการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนักวิชาการจากทั่วโลก เพื่อนำเสนอปัญหา และโอกาสของยุคดิจิตอล โอกาสของยุคดิจิตอลนั้น ได้เปิดช่องทางให้ชาว
โลกได้เชื่อมถึงกันอย่างรวดเร็ว ทั้งการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี สำหรับการไปมาหาสู่ทั้งทางบก และทางอากาศ การมีศักยภาพที่จะเข้าถึงและใช้สอยข้อมูลที่หลาก
หลายสำหรับการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ต่างๆ ในการสร้างความร่วมและแสวงหาประโยชน์ร่วมกันของมนุษยชาติ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ตามมาในยุคดิจิทัลก็มีมากมายเช่นกัน เราใช้การสื่อสารเพื่อเชื่อมกัน แต่นับวันความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว และสังคมเริ่มเหินห่างกันมากยิ่ง
คนสนใจดิจิทัลแต่ไม่สนใจชีวิตของกันและกัน คนชอบที่จะเสพมากกว่าที่จะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ข้อมูลที่ท่วมทันแต่อยากที่จะแยกแยะอันไหนจริงและปลอม คนใน
สังคมจึงขัดแย้งเพราะข้อมูล และใช้ข้อมูล หรือบิดเบือนข้อมูลใส่ร้ายด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ โดยการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกัน ทางออกที่สำคัญคือ คือ การนำ
ข้อมูลที่มากหมายและหลากหลายมาสร้างมูลข้อเพิ่ม Big Data จะไม่มีประโยชน์อันใด หากมนุษย์ไม่สามารถนำมาสร้างมูลค่า
"เพิ่มและต่อยอดให้เกิดการพัฒนาในเชิงบวก ในยุคดิจิตอลที่หมู่คนเห็นแก่ตัว ว้าเหว่ และเปลี่ยวเหงา และแปลกแยกกันในสังคม เราจึงควรใช้จุดเด่นเรื่องจิตใจของ
พระพุทธศาสนาไปพัฒนา และดูแลจิตใจ โดยการพัฒนาจิตใจให้ทัน และมองดิจิตอลแบบเสริมมูลค่ามนุษย์ แทนที่จะลดทอนคุณค่าของมนุษย์ โดยพัฒนาจาก
Digital Mind ไปบูรณาการเชื่อมสมานโลกในยุคดิจิตอล (Digital World) โดยใช้ทั้งสติกับสมาธิเข้ามาช่วยเติมจิตใจที่แปลกแยก ขาดชีวิตชีวา
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกัน แบ่งปัน (Caring&Sharing) ความสุขและความทุกข์ของกันและกันตลอดไป" พระมหาหรรษา กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการอภิปรายโต๊ะกลมนั้นได้มีการหยิบยกประเด็นปัญหาโรงฮิงญาที่ประเทศเมียนมาโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในโลกดิจิดอลที่เป็นเท็จเสีย
เป็นส่วนมาก ซึ่งพระมหาหรรษา กล่าาวว่า ในภาวการณ์ปัจจุบันนี้ประเทศเมียนมามีปัญหาหลายประการ ยากที่นางออง ซาน ซูจี ผู้นำประเทศเมียนมาจะแก้ปัญหาโดย
เบล็ดเสร็จและมีลักษณะเหมือนหนังหน้าไฟ ดังนั้น เธอจึงเลือกที่จะนิ่ง - มส.หวั่นโพสต์มารว่อนสร้างเครือข่ายพุทธต้าน
http://www.banmuang.co.th/news/politic/90892
วันที่ 18 กันยายน 2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต) กรรมการเถรสมาคม อธิการบดี มจร เจ้า
คณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ได้เป็นประธานการประชุมเตรียมการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกประจำปี 2561 ซึ่ง
ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพต่อจากประเทศศรีลังกา และได้รับมอบธงคืนสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก จาก Mr. Chandrapema Gamage เลขานุการ
รัฐมนตรีกระทรวงพุทธศาสนา ในนามรัฐบาลประเทศศรีลังกา
อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธีม (Theme) ของงานวิสาขบูชาโลก และบุคคลผู้จะมาเป็น Keynote Speaker โดยเลือกหัวข้อจะ
ยึดกรอบแนวคิดจากองค์การสหประชาชาติ 3 ประการ คือ "คน สันติภาพ และความยั่งยืน" โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือเรื่อง "สันติภาพ" ระดับในโลกเพื่อการอยู่ร่วม
กันอย่างสงบสุข แต่ที่ประชุมยังไม่ตกผลึก
ทั้งนี้พระพรหมบัณฑิต ได้กล่าวในทีประชุมว่า ในโลกปัจจุบันเป็นยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร ? จากเทคโนโลยี จะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการ
เผยแผ่ธรรมะอย่างไร? ให้เกิดสติและปัญญา - มส.แนะชาวพุทธใช้ไอทีช่วยแผ่ธรรมะให้เกิดปัญญา
http://www.banmuang.co.th/news/education/91126
ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน พ.ศ.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการประชุมคณะกรรมการสภาสากลวัน
วิสาขบูชาโลก และกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติจาก 18 ชาติ โดยมีพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ประธาน
กรรมการสมาคมฯ และประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก เป็นประธานเพื่อเตรียมการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 โดยที่ประชุมมีมติให้ประเทศ
ไทยเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ได้กำหนดหัวข้อหลักในการจัดงานโดยเน้นพระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to
Human Development)
พระพรหมบัณฑิต กล่าวในที่ประชุมว่า องค์การสหประชาชาติได้เคยถวายรางวัลสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในฐานะ "พระมหา
กษัตริย์นักพัฒนา” ในปี 2549 นับเป็นครั้งแรกที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำรางวัลเกียรติยศนี้ขึ้น เพื่อมอบให้กับบุคคลดีเด่นที่อุทิศตนตลอดช่วงชีวิต และสร้าง
คุณค่าของผลงานเป็นที่น่าประจักษ์และคุณูปการที่ผลักดันความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์
"ถือว่าเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการศึกษา การขยายโอกาสและทางเลือก ซึ่งเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถแก่ปัจเจกชนที่จะเลือก
ให้มีชีวิตยืนยาวด้วยการมีสุขพลานามัยที่แข็งแรง มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจและ
อย่างยั่งยืน สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงในชีวิต และความเท่าเทียม" ประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก กล่าวและว่า
ด้วยเหตุผลสำคัญดังกล่าว่า ทำให้คณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นหัวข้อหลักในการจัดพิธีเฉลิมฉลงวันวิสาขบูชาโลก
ครั้งที่ 15 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้ และมีองค์กรพระพุทธศาสนาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน โดยที่ประชุมได้มีมติจัด
งานตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561 ในการจัดงาน ทั้งนี้จะมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงมหานครในวันที่
27 พฤษภาคม 2561
สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ได้มีการประชุมวิชาการนานาชาติแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม (Buddhist
Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth
through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural
Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนากับการสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for
Social Welfare) พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมานำเสนอประสบการณ์ทำงานมานำเสนอในเวทีของการเฉลิม
ฉลองครั้งนี้ด้วย - เชิดชู"กษัตริย์นักพัฒนา"ไทยเจ้าภาพจัดวิสาขะโลก61 http://www.banmuang.co.th/news/education/91236
วันที่ 4 ก.ย.2560 พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร บรรยายเรื่อง"บัณฑิตศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 "
ไทยแลนด์ 4.0 เกิดมาจาก World Bank ในพ.ศ.2554 ธนาคารโลก กลุ่มเศรษฐกิจโลกได้จัดอันดับประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศมีรายได้ปานกลางระดับสูง
( Upper - middle - income group ) ไทยมีแผนพัฒนาประเทศ 20 ปี จะพัฒนาประเทศมีรายได้สูง ไปถึงแน่ถ้าคนไทยไม่ทะเลาะกัน
ไม่ขัดแย้งกันเหมือนในปัจจุบัน โมเดลไทยแลนด์ 4.0 คือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมหนัก และนวัตกรรม เราจะทำอย่างไร ? ถึงจะไม่ติดในกับดัก
ในการพัฒนา และสามารถเป็นไทยแลนด์ 4.0 ทุกอย่างย่อมมีกับดักของชีวิต กำลังทำงานสื่ออย่างดี อนาคตกำลังรุ่ง แต่ตอนนี้อยู่ในคุก เรียนบัณฑิตต้องทราบบริบท
สังคม คำถามบัณฑิตวิทยาลัยจะไปสู่ไทยแลนด์ 4.0อย่างไร อะไรคือกับดักในทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยของเราต้องช่วยคนในมิติใดมิติหนึ่ง งานวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย
ต้องสามารถจัดการกับกำดักของสังคม เราในฐานะบัณฑิตศึกษาจะเอาธรรมะหรืองานวิจัยอะไรไปช่วยสังคม ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทราบว่าคนไทยมีกับดักชีวิต จึงมี
แนวคิดด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยปฏิบัติเพื่อความสุขของชีวิต
ในเรื่องของThai Economy 4.0 เราจะ "ทำมากแต่ได้น้อย ทำน้อยแต่ได้มาก " เรียกว่า more for loss หรือ less for more
ภูฏานทำงานได้เงินน้อยแต่มีความสุข ส่วนไทยทำงานหนักแต่ได้เงินน้อยเพราะคนไทยเป็นลูกน้อง ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นผู้จัดการ ด้วยการใช้สมองและเป็นเจ้า
ของกิจการ ทำงานเบาแต่ได้เงินมาก คนที่รวยที่สุดในโลกอยู่ที่สหรัฐอเมริกา คือ บิลเกต ถามว่าบิลเกตทำงานอะไร เพราะใช้สมอง ? รวมถึงสติปจ๊อปได้เงินมหาศาล
รวมถึงซัมซุงของเกาหลีตอนนี้โน้ต 8 เตรียมออกแล้ว เตรียมกอบโกยเงินมหาศาล แล้วงานวิจัยบัณฑิตวิทยาลัยเราจะทำอย่างไร?เรียนจบมหาจุฬาต้องเป็นเจ้าอาวาส
อย่าไปเป็นแค่ลูกวัดเท่านั้น เจ้าอาวาสใช้สมองในการบริหาร ถ้าพระลูกต้องใช้แรงงาน
เครื่องมือสำคัญจะไปสู่ 4.0 คือ นวัตกรรม งานวิจัยของบัณฑิตวิทยาลัยมีนวัตกรรมอะไรบ้าง ? ให้สอดรับกับยุคไทยเเลนด์ 4.0 สมัยอธิการเรียนปริญญาเอก มีความ
ลำบากมาก เพราะมีเงื่อนไขมาก เช่น จะทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ จะต้องมีหนังสือเล่มนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับว่าต้องมีหนังสือเล่มนี้ ถึงจะสามารถทำวิทยานิพนธ์ได้ ใน
สมัยอดีตเทคโนโลยีไม่ทันสมัยค้นคว้าลำบากมาก แต่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีช่วยแต่นิสิตก็ยังเรียนไม่จบ บัณฑิตวิทยาลัยต้องไปหาคำตอบ เพราะอะไร ? ทำไมต้องทำ
วิจัยเรื่องยากๆ เพราะเป็นการวางแผนระยะยาวเพื่อนำมาใช้ในปัจจุบัน ยิ่งเรียนยิ่งสนุก โดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศล มีการเชื่อมภาษาบาลี เหมือนเวลาทำงานต้องเชื่อม
ระหว่างวิชาการกับปฏิบัติ เช่น เมื่อเป็นเจ้าอาวาสบริหารแล้ว มักจะไม่เทศน์ ไม่เขียน ถ้ามาเรียนมหาจุฬาถ้าบริหารวัดยังแย่อยู่ ไม่ต้องมาเรียน มาเรียนมหาจุฬา
ต้องบริหารวัดตนเองให้ดี อย่าแยกการบริหารและงานวิชาการออกจากกัน เราต้องบริหารด้วยสมองจึงจะพัฒนา อย่าแยกออกจากกัน จะทำได้ต้องมี " นวัตกรรม
เทคโนโลยี และการบริการ " งานวิจัยต้องมีนวัตกรรม เทคโนโลยี การบริการ
พระพระพุทธเจ้าเป็นผู้ก่อตั้งถือว่าเป็นการประดิษฐกรรม Invention เราอย่าคิดคำสอนใหม่ที่ไม่พื้นฐาน มีการตีความผิด ๆ เราไม่ต้องประดิษญ์คำสอนใหม่ แต่
เราสามารถเป็นนวัตกรรม ใครก็ตามที่นำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเหมาะสมกับสังคมด้วยการประยุกต์บูรณาการ ทำให้น่าสนใจมากขึ้น เรียกว่า นวัตกรรม วิปัสสนา
กรรมฐานเป็นนวัตกรรม ท่านติช นัท ฮันห์ นำเสนอการภาวนาให้เหมาะกับคนในสังคมปัจจุบัน ถือว่าเป็นนวัตกรรม นิสิตบัณฑิตทุกสาขามกาจุฬาจะทำวิจัยเรื่องใดก็
ตามจะต้องเป็นมีนวัตกรรม ถือว่าเป็นบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ เราต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ
สาขาธรรมนิเทศมีคนเรียนน้อยเพราะขาดนวัตกรรม ต้องเป็นไปเพื่อการเผยแผ่ธรรมะ จะต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแผ่ นำศาสตร์นิเทศ เป็นนิเทศศาสตร์เพื่อ
การเผยแผ่ สงฆ์เราอ่อนแอ่เพราะเราขาดนิเทศศาสตร์ ต้องมีการเชื่อมธรรมะกับนิเทศศาสตร์เป็นการบูรณาการ เรียนจบต้องสามารถเป็น สื่อมวลชนของสงฆ์ มิใช่มา
เรียนเรื่องเทศน์เท่านั้น ส่วนสันติศึกษาเรียนแล้วต้องใจกว้าง ทุกมิติทางศาสนา พูดคุยกับบุคคลที่มีความต่าง รับฟังกันและกัน ไม่คลั่งศาสนาของตน สันติศึกษากับ
ปรัชญาจึงไปด้วยกัน สิ่งสำคัญทุกหลักสูตรต้องมีนวัตกรรม
งานวิจัยต้องมี 4 นวัตกรรม คือ " ด้านผลผลิต ด้านการบริการ ด้านกระบวนการ ด้านการจัดการ " งานวิจัยต้องสอดคล้องกับด้านใดด้านหนึ่งให้ได้ 1)นวัตกรรม
ด้านการผลผลิต คือ การนำเอาองค์ความรู้ในอภิธรรมปิฏกและวิธีปฏิบัติกรรมฐานมาบูรณาการเข้ากับจิตวิทยาตะวันตกจนเกิดสาขาพุทธจิตวิทยาและชีวิตและความตาย
รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของโลกที่ผลิตนวัตกรรม ทำหนังสือพระไตรปิฏกเล่มแรกของโลกด้วนการใช้เทคโนโลยี ในพ.ศ. 2436 ถือว่าเป็นการน
วัตกรรมด้านผลผลิต รัชกาลที่ 5 จึงมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและมหาจุฬาเป็นอย่างยิ่ง บัณฑิตวิทยาลัยต้องสร้างนิเทศศาสตร์ทางธรรมะให้ได้ ด้วยการนำ
เทคโนโลยีมาช่วย ต้องพัฒนาไปสู่อนุสาสนียปาฎิหาริย์
2) นวัตกรรมด้านกระบวนการ คือ การแสวงหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดขั้นตอนในการผลิต เช่น วิธีการสอนภาษาอังกฤษแก่มหาเปรียญโดยเทียบเคียงกับภาษาบาลี วิธี
การสอนเชิงพุทธบูรณาการ
3) นวัตกรรมด้านการบริการ คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์มาใช้ในการเรียนการสอนและเผยแผ่ธรรม บริการด้านวิชาการเพื่อให้
เข้าถึงคนในยุคสมัยใหม่
4) นวัตกรรมด้านการบริหาร คือ การนำหลักธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการจนได้ผลจริง (Paperless Office) บัณฑิตวิทยาลัยจึงต้องคุมคุณภาพ
การศึกษา
-มส.แนะธรรมนิเทศต้องผลิตสื่อมวลชนของสงฆ์ http://www.banmuang.co.th/news/education/89815
เรามีหลักสูตรสันติศึกษา ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อิสลามในอินโดนีเชีย มาเลเชีย บรูไน มี ๓ ประเภท แต่ละประเทศอยู่ในกลุ่มใด เราโชคดีที่อยู่ในกลุ่ม เราเป็น
ศูนย์อาเซียนเราจะทำอย่างไร ? เพื่อการอยู่ร่วมกัน เราต้องจัดประชุมสันติสนทนาระหว่างศาสนา อย่าคิดว่าแค่บริการวิชาการเท่านั้น อย่าคิดแค่บริการวิชาการเท่านั้น
แต่ต้องจัดการศึกษา ส่งเสริม แลกเปลี่ยน เชื่อมโยง ทำเองไม่ได้เราจะร่วมมือกับใคร - มส.ชี้สังคมพหุวัฒนธรรมแท้จริงคือหัวใจอา
เซียนhttp://www.banmuang.co.th/news/education/89545
"บ้านเมืองของเราขัดแย้งกันมาก เกิดเพราะอะไร ทำไมบางประเทศใหญ่กว่าทำไมถึงมีความสามัคคีกัน โดยไม่ต้องใช้อำนาจบังคับ เราต้องเรียนรู้จากประเทศนั้นๆ จึงมี
ระบอบไม่ให้เกิดความขัดแย้ง 2 ระบอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง สามารถคุมอยู่ คือ 1) การใช้อำนาจแบบเผด็จการ คุมอยู่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความขัด
แย้ง 2) การใช้ประชาธิปไตย เป็นการอยู่ร่วมกันแบบหลอมๆ ไม่เกิดความขัดแย้ง" อธิการบดีมหาจุฬา กล่าวและว่า - มส.แนะให้คิด!เหตุใดปท.ใหญ่สามัคคีไม่ใช้อำนาจ
http://www.banmuang.co.th/news/education/89087
พระราชวรเมธี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย( มจร ) ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการ
ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (คปพ.) เป็นประธานปิดการฝึกอบรม "ค่ายเพชรวัยใส ใส่ใจคุณธรรม" ของนักศึกษาอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม
จำนวน 300 คน ที่ห้องประชุมใหญ่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้การดำเนินการของซึ่งมหาจุฬาฯร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)
- ศีลข้อที่ 4 "เป็นหลักประกันสังคม" การพูดการสื่อสารที่สร้างความสามัคคี อาวุธที่ร้ายแรงที่สุด คือ วาจา พูดที่ทำให้เกิดความเกลียดชังกัน ต่างคนต่างพูดในสิ่งที่ไม่มี
ของคนอื่น ก็เกลียดชังกัน แม้แต่ระดับบ้านเมือง ก็มีการทำร้ายกันด้วยคำพูด วาจาสร้างความเกลียดกัน พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องการสื่อสารเพื่อสันติ คือ " จริง ไพเราะ
เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วยเมตตา" ศีลข้อที่ 5 "หลักประกันสุขภาพ" ยาเสพติดทำลายสุขภาพ ชีวิตอย่าได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทั้งปวง
สอดคล้องกับเบญจธรรม เพราะ ถ้าเรามีเมตตาเราสามารถรักคนทั้งโลกได้ คุณธรรมจะทำให้เราไม่สามารถไปทำร้ายคนอื่นได้ เพราะ " เมตตาธรรมค้ำจุนโลก " -
"มจร-สอศ."ใส่ใจวัยใส ชูศีล 5 สร้างภูมิป้องเฮดสปีด http://www.banmuang.co.th/news/education/89082
วันที่ 18 สิงหาคม 2560 วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ได้จัดพิธีปฐมนิเทศรับนิสิตใหม่ทั้ง 3 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรปริญญาโท หลักสูตรปริญญาเอก สาขา
พระพุทธศาสนา และหลักสูตรปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา ภาษาอังกฤษ โดยกิจกรรมช่วงเช้าเริ่มจากการสวดมนต์ และปฏิบัติสมาธิร่วมกัน หลังจากนั้น จึงเป็นการ
อธิบายเส้นทางการศึกษาทั้งภาคปริยัติ และภาคปฏิบัติ ภาคปริยัติเน้นพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่เป็นแก่นพระพุทธศาสนา ส่วนภาคปฏิบัติเน้นการเรียนรู้
รูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญานอกและปัญญาในตามม็อตโตของวิทยาลัยที่ว่า "ปัญญาเพื่อชาวโลก" หรือ "Wisdom for the World"
พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรปริญญาโท
และเอก สาขาสันติศึกษา เปิดเผยว่า มุ่งหวังมาเนิ่นนานว่า เมื่อพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาภาษาไทย จนพออยู่ตัวแล้ว จะเดินหน้าพาสันติศึกษาสู่ระดับอินเตอร์ เพื่อเปิด
พื้นที่ให้นิสิตทั้งไทยและต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ บัดนี้ สันติศึกษาเดินหน้าจากไทยสู่ภาคอินเตอร์เรียบร้อยแล้ว โดยมีนิสิตทั้งไทยและต่างประเทศ รุ่น
แรกจำนวน 10 รูป/คน
"สิ่งที่นำความปลาบปลื้มใจแก่ลูกศิษย์ยิ่งไปกว่านั้น คือ การที่ ศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ซึ่งเคยสอนตัวเองในขณะเรียนปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ ได้ปล่อยวางงานที่
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วมาเป็นทำงานเป็นอาจารย์ประจำที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ประทับใจท่านอาจารย์ที่เรียกตัวเองทุกครั้งว่า "ครู" ตั้งแต่วินาทีแรกที่
พบกัน และวันนี้ มีครูมีอยู่ใกล้ ได้ทำงานร่วมกับครู เชื่อว่าประสบการณ์ของครูจะช่วยเติมเต็มให้วิทยาลัยพุทธนานาชาติได้เจริญก้าวหน้าเป็นศูนย์กลางพรัพุทธศาสนา
นานาชาติตามที่มหาวิทยาลัยมุ่งหวังต่อไป" พระมหาหรรษา ระบุ - "มจร"เปิดแล้ว!สันติศึกษาภาคภาษาอังกฤษรุ่นแรก
มุ่งหวังพัฒนาจากไทยสู่อินเตอร์ http://www.banmuang.co.th/news/education/88492
พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร .อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดงาน "56 ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก"
และบรรยายพิเศษ เรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาคณะครุศาสตร์ยุค มจร 4.0 การเป็นคนดีและคนเก่งไม่ได้แยกจากกัน จะต้องไปด้วยกัน อุดมคติของครูจะต้อง เก่ง ดี
มีสุข เป็นจตุสดมภ์ของการศึกษา คือ " การศึกษาเพื่อพัฒนา เพื่อศักยภาพ เพื่อสมรรถภาพ เพื่อคุณภาพ และเพื่อสุขภาพ " ครูจะต้องมีความสุขในการสอน ฝึกปฏิบัติ
เมตตากรุณา ประสิทธิภาพในการสอนจึงมีความสำคัญ " ประโยชน์สูงประหยัดสุด " เป็นครูมีคุณภาพ มหาวิทยาลัยที่เจริญแล้วอยู่ที่ครูเก่งและดี มิใช่อยู่ที่สถาบัน เรา
ต้องมีตัวตายตัวแทน เราจากพุทธคุณ 3 ประการ คือ มีปัญญาคุณ คือ สอนให้เก่ง มีกรุณาคุณ คือ สอนให้ดี มีวิสุทธิคุณ คือ สอนด้วยความบริสุทธิ์ อย่าเอาเครื่องตอบ
แทนเป็นตัวตั้ง เราจะมีความสุข ฐานสำคัญคือ เก่ง ดี มีสุข
ในมุมของเถรวาทเมื่อเกิดปัญญาแล้วมีความกรุณาสงสารบุคคลจึงออกไปเผยแผ่ช่วยเหลือชี้ทางที่ถูกต้อง ทำด้วยความบริสุทธิ์ ส่วนมหายานมีความกรุณาคุณเป็นฐาน
ช่วยเหลือคนอื่นก่อน ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เรามาเรียนครูเพราะเรามีความรู้เพื่อจะถ่ายทอดช่วยเหลือคนอื่นทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ สรุปว่าครูจะต้องมีปัญญา กรุณา
วิสุทธิ ครูในมหาจุฬาฯต้องสอนเก่งกว่าครูที่อื่น ครูภายนอกสอนให้เก่งอย่างเดียว สอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้เพียงแจ่มแจ้ง แต่ครูมหาจุฬาฯต้องสอนให้เกิดการจูงใจ เกิด
ศรัทธาอยากจะมาเรียนครู เป็นต้นแบบ เด็กเล็กมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นครู สอนให้เกิดความแกล้วกล้า และมีความร่าเริงในการเรียนรู้ มีอารมณ์ขัน แต่มิใช่ตลกคาเฟ่
สรุปคือจะจบครุศาสตร์ครูต้องพัฒนาและประเมิน ๔ ส คือ "แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง " การไปฝึกสอนให้ดู 4 ส. เป็นเกณฑ์การประเมินครู ยูเนสโกบอกว่า การ
ศึกษา ต้องสอนให้ " รู้ ทำ อยู่ร่วมกัน เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ "
ตามแผนแม่บทใหม่ของครูดีในยุคไทยแลนด์ 4.0 มี 4 ประการ คือ "พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา" มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ ยืนยันมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทำ
วิจัยว่า เมื่อนิสิตเรียนจบไปแล้วชีวิตต้องการอะไร ? ชีวิตต้องการเป็นอะไร ศึกษาสองกลุ่ม กลุ่มที่เรียนกับกลุ่มที่ไม่ได้เรียน ตามดูชีวิตของนิสิตที่เรียนจบไป เป็นการ
ทำวิจัย บทสรุป คือ ผู้มีเงินผู้มีอำนาจตายไปแล้ว และใครเป็นผู้ที่มีอายุยืนสุขภาพจิตดีที่สุด คำตอบคือ ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะมีความสุข มีกัลยาณมิตรที่ดี มาจาก
ความสัมพันธ์ที่ดี มีความสุขร่วมกับคนอื่น เพราะความเหงามีอันตรายเท่ากับการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า
แม้แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า " อานนท์ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว " กัลยาณมิตรกัลยาณสหายกัลยาณธรรม ถือว่าเป็นสุดยอดใน
การอยู่ร่วมกัน ในธรรมบทกล่าวว่า วิสฺสาสปรมา ญาติ แปลว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง ครูต้องไม่เหินห่างต้องมีความสัมพันธ์กับศิษย์ ปัจจุบันมีการเรียนผ่าน
คอมพิวเตอร์ จุดด้อยทำให้เกิดความเหินห่าง วิชาเดียวที่เรียนผ่านคอมพิวเตอร์ไม่ได้ คือ วิชาคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้นแบบ พันธกิจของครู คือ สอนให้รู้ (ปริยัติ) ทำ
ให้ดู (ปฏิบัติ) อยู่ให้เห็น ( ปฏิเวธ) การล้มเหลวของการศึกษา คือ ครูมัวแต่ทำวิจัยเพื่อเลื่อนตำแหน่ง ไม่มีเวลาให้กับลูกศิษย์ ไม่มีเวลาสอน เด็กขาดความอบอุ่น เด็กขาด
ความรัก ครูจะต้องสอนให้คิดวิเคราะห์ เด็กจึงจะคิดเป็น ฉะนั้น ครูกับศิษย์ต้องไม่มีช่องว่างในการอยู่ร่วมกัน ครูเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับศิษย์ ให้ความรักก่อนให้ความรู้
- มส.ปลื้ม!ผลผลิตครู"มจร"ครบ"เก่ง ดี มีสุข" http://www.banmuang.co.th/news/education/86471
พระโสภณธรรมวาที ต้นแบบพระธรรมกถึก กล่าวว่า พระผู้เป็นทรัพยากรของพระพุทธศาสนา เราจะเป็นนักเทศน์ เสือยังรู้จักเก็บซ้อนเล็บ เราพระนักเทศน์ต้องเก็บ
ความรู้ไปเทศนา ถ้าไม่เคยข้ามคลองอย่าริไปข้ามทะเล เป็นนักธรรมต้องนำนักเทศน์ ต้องรู้หลักธรรม ต้องจำหลักสูตร พระนักเทศน์ต้อง " ฝืน ฝึก ฝน " เราต้องค้น
ต้องคิด ต้องเขียน ต้องพากพียร และต้องปฏิบัติ เรามาครั้งนี้ถือว่ามา " เก็บความรู้ มาดูสังคม " สิ่งสำคัญต้องมี 5 บ. คือ " บริเวณ บริวาร บริขาร บริกรรม
บริการ " เราต้องปฏิรูปตัวเราเอง ยึดแม่แบบ ทำตามแม่บท พระนักเทศน์อย่าลืมต้น อย่าได้ตัด 7 ต้น คือ " ต้นแบบ ต้นบุญ ต้นทุน ต้นคิด ต้นน้ำ ต้นไม้
ต้นตระกูล " - มส.ยันหน้าที่ชาวพุทธชี้แจงคนโจมตีว่าร้าย http://www.banmuang.co.th/news/education/85751
แนะสร้างบทบาท"วัด-พระ"ใหม่สอดรับสังคมยุคดิจิทัล ลดบทบาท "เสก เป่า เงินทอน โพนทนา"
http://www.banmuang.co.th/news/education/83371
สมเด็จฯประยุทธ์แนะเร่งทำพระไตรปิฏกดิจิทัลช่วยโลก http://www.banmuang.co.th/news/education/82802
วิจัย'มจร'ปลื้มเณร!ใช้มือถือถูกที่ถูกเวลา http://www.banmuang.co.th/news/education/82768
ประเทศไทย 4.0 ต้องสร้างนวัตกรรม เรามาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศนวัตกรรม 2) การให้บริการ คือ ด้วยการมีวิธีการใหม่ ๆ เช่น วัดนี้มีตลาดนัด เรามีอะไรที่
เป็นนวัตกรรม เป็นการตกปลานอกบ้าน นำธรรมะออกนอกวัด เราต้องมีการบริการทางสื่อออนไลน์ ท่านองค์ดาไล ลามะ ใช้เทคโนโลยีกับกรรมฐาน มีการวัดคลื่น
สมอง ถือว่าเป็นนวัตกรรม 4.0 ทำให้คนในสหรัฐอเมริกาสนใจพระพุทธศาสนาแบบทิเบต ามว่าเราพระธรรมทูตในสหรัฐอเมริกายุคไหน ? เรามาอยู่ดินแดนตะวันตก
เราต้องสร้างนวัตกรรม - มส.แนะพระธรรมทูตอเมริกาเผยแผ่ธรรมแบบ4.0
http://www.banmuang.co.th/news/education/82320
พระมหาหรรษา ธัมมหาโส (นิธิบุณยากร) ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา,วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC) ,สำนักงาน
เลขานุการ(IABU) บรรยายถวายความรู้เรื่อง "ประสบการณ์ในการอยู่ต่างประเทศ" วิกฤตของโลก คือโอกาสของเรา
(1) โลกดิจิทัล มนุษย์สมัยใหม่ โลกแห่งการแชร์ ไม่ต้องการครอบครองหรือเป็นเจ้าของ แต่ต้องการใช้ของที่ดีที่สุด พระพุทธศาสนาคือของที่ดีที่สุด สอนให้ไม่ต้องการ
ให้ครอบครองหรือไม่ต้องการให้เป็นเจ้าของ
(2) โลกสมัยใหม่ โลกของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุล้นโลก เกิดน้อยกว่าตาย ผู้สูงอายุโดดเดี๋ยว ต้องการที่พึ่งพิง ต้องการโลกหน้า สนใจการความสงบ ความการเรื่องของภาพกาย
ใจ
(3) โลกกำลังเข้าสู่สงครามและความรุนแรง เป็นยุคมิคสัญญี ใช้ความรุนแรงในการจัดการความขัดแย้ง ขาดความอดทน ไม่สนใจเพื่อนรอบข้าง
(4) โลกพึ่งพาเทคโนโลยี สนใจโทรศัพท์มากกว่าคนใกล้ตัว และพึ่งพาปัจจัยภายนอก เปลี่ยวเหงา เข้าไม่ถึงความสุขภายใน
(5) โลกวัตถุนิยม เสพจนเซ เสพจนสำลัก เสพจนหัวปักหัวปำ กามสุขัลลิกานุโยค จนหนีไปปีนเขา ปฏิเสธวัตถุ ปล่อยวางวัตถุ หันไปหาความหมายของชีวิต
(6) ผู้นับถือศาสนาเทวนิยมในโลก กำลังเผชิญหน้ากัน กลุ่มหนึ่งตีความศาสนาไปรับใช้วัตถุนิยม กลุ่มหนึ่งตีความศาสนาไปสนองตอบต่อสงครามและความรุนแรง
ศาสนาพุทธคือทางสายกลาง
โอกาสของเราคืออะไร??
โลกต้องการสติ โลกต้องการสมาธิ โลกต้องการสันติ เรียนรู้กรรมฐาน ฝึกสมาธิ พัฒนาสติ ให้พอเพียง แล้วหยิบยื่นสิ่งที่เขาต้องการ สิ่งที่เขาโหยหา สิ่งที่เสริมสร้างคุณค่า
ภายใน เราจึงพัฒนาหลักสูตรพวกนี้ จับมือกับยุโรปอเมริกา ทำเรื่องพวกนี้ ฮังการี อังกฤษ นาโรปะ
หัวใจสำคัญในการทำงานพระธรรมทูตคือ "ปริยัติยอด ปฏิบัติเยี่ยม เปี่ยมกรุณา หยิบยื่นพุทธปัญญาแก่ชาวโลก" โดยการส่งสารแห่งสันติสุขแก่ชาวโลก ตามพุทธ
ปณิธานที่ว่า "เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไป เพื่อความเกื้อกูน เพื่อความสุข เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก" - แนะพระธรรมทูตยุคดิจิทัลร่วมสร้างโลกสันติ
http://www.banmuang.co.th/news/education/81688
3กุรูเผยโลกยุคดิจิทัล!เหมือนร้านกาแฟต้องไม่มีฝ่ายแพ้ http://www.banmuang.co.th/news/education/81146
เผยแบบหอสมุดวิทยาลัยพุทธนานาชาติ'มจร4.0' http://www.banmuang.co.th/news/education/81124
อัพพระไตรปิฎกสากลขึ้นเว็บเล็งพัฒนาเป็นอีบุ๊ก-แอพ http://www.banmuang.co.th/news/education/80165
'คณิต'ย้ำ!สื่อต้องปฏิรูป! ปล่อยไว้กระทบมั่นคง http://www.banmuang.co.th/news/politic/79845
มส.เตือน!หลุมพรางไทยแลนด์4.0แนะต้องคู่วิถีพุทธ http://www.banmuang.co.th/news/education/77877
วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา
การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น