วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560
พระพยอมคลอดหนังสือ"มหาบุรุษกองขยะ"
พระพยอมปลื้ม "ในหลวงร.9" ทรงส่งคนดูกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่วัดสวนแก้ว ขยายออกเป็น 4 ภาค สร้างอาชีพแทนสร้างโบสถ์วิหารใหญ่โต ได้แรงบันดาลใจคลอดหนังสือ "มหาบุรุษกองขยะ"
วันที่ 16 ก.ย.2560 ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 62 ปี พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต) กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส วันที่ 17 ก.ย.2560 โดยวันนี้(16 ก.ย.) มีพิธีบำเพ็ญกุศลวัดประยุรวงศาวาส พร้อมกันนี้มีบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสตร์พระราชาในมิติพระพุทธศาสนา" โดย พระราชธรรมนิเทศ หรือพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงใช้ธรรมะตามอริยมรรค 8 คือ สัมมาอาชีพ คือ การประกอบอาชีพที่สุจริต
"จึงทำหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งคือ "มหาบุรุษกองขยะ" สามารถเลี้ยงชีวิตชอบ ถ้าขยันอดทน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงส่งคนมาดูกิจกรรมเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง จึงมีการขยายออกเป็น 4 ภาค เพราะตั้งใจการสร้างอาชีพให้คนดีกว่าสร้างโบสถ์สร้างวิหารใหญ่โตแล้วทิ้งเฉยๆ ปัจจุบันวัดสวนแก้วทำตามศาสตร์พระราชาเป็นระบบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตรัสเกี่ยวกับน้ำ จึงมีการจัดระบบน้ำแบบแก้มลิง เพราะสมัยพุทธกาลก็มีสงครามแย่งน้ำกัน น้ำจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญ" พระพยอม กล่าวและว่า
ใครจะไปวัดสวนแก้วอยากทำบุญให้นำเอาขวดน้ำเปล่าไปทำบุญ เพราะปัจจุบันวัดเก็บสะสมน้ำไว้ น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก ที่วัดสวนแก้วดูแลผู้สูงอายุจำนวนมากให้กินอิ่ม นอนอุ่น พระราชาสนใจเรื่องน้ำมาก พระราชาจึงตรัสว่า " น้ำคือชีวิต " มีน้ำสามารถทำเกษตรได้อย่างดี ย้ำว่าจะทำอะไรรีบทำ เพราะความตายไม่แน่นอน ล่าสุดเขาบอกว่าพระพยอมล้มเกือบตาย ปัจจุบันตั้งกองทุนสัมมาอาชีพ เลี้ยงชีวิตชอบ การงานชอบ เพราะปัจจุบันมีการเลี้ยงชีพแบบผิดๆ เช่น อาชีพรับแต่งงาน พระราชาทรงมองเห็นความทุกข์ของประชาชน จึงมีศาสตร์พระราชา เราต้องมีการพัฒนาชาวนาให้พัฒนา จึงย้ำว่า " ศาสนาไหนยังมัวแต่สอนอยู่ ปล่อยให้ศาสนิกชนท้องหิว ศาสนานั้นจะอยู่ไม่ยั่งยืน และรัฐบาลไหนปล่อยให้ประชาชนท้องยังหิว รัฐบาลนั้นจะอยู่ไม่ยั่งยืนเช่นกัน
นายสด แดงเอียด อดีตอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในรัชกาลที่ 9 ทรงไม่ได้เกิดในเมืองไทย ศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ศึกษาในต่างประเทศแต่มีแม่ คือ สมเด็จย่าสนใจธรรมะ จึงเป็นแบบอย่างเป็นต้นแบบที่ดี จึงมีการสอนวิถีธรรมวิถีไทยรวมถึงวิถีพุทธ ทำให้พระองค์มาเรียนทางสังคมศาสตร์ เพื่อให้รู้จักคนในสังคม สิ่งสำคัญคือ พระองค์มาศึกษาพระพุทธศาสนา รวมถึงปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตามแนวของ 3 ป. คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สนทนาธรรมกับพระมหาเถระ ทำให้พระองค์ทรงมองเห็นความทุกข์ของประชาชน หรือ ศัตรูของพระมหากษัตริย์ คือ ความยากจน จึงมองว่าพระพุทธศาสนาจะเป็นเครื่องมือทำให้ประชาชนมีความสุข พระพุทธศาสนาอยู่ได้เพราะพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์ดูแลรักษา
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า ชีวิตตนเรียนศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว พอมาต่อปริญญาเอก มหาจุฬาฯ ซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาใช้เวลาเรียนนานกว่าจะจบ กว่าจะตกผลึก ผมจึงนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมใดที่สอดคล้องกับ " ความพอเพียง คือ มรรค 8 การเดินทางสายกลาง การมีเหตุผล คือ โยนิโสมนสิการ การมีภูมิคุ้มกัน คือ อัปปมาณธรรม แต่ละองค์ธรรมมีความสอดคล้องกันกับเศรษฐกิจพอเพียง เราต้องทราบว่าคำว่า เศรษฐกิจ เกี่ยวกับการอยู่ดีกินดี ทำให้ปากท้องอิ่ม ในหลวงใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงแบ่งออก 2 มิติ คือ ทำให้พอ และไม่เกินตัว รู้จักตนเองว่าเราอยู่ในสถานะใด เราต้องทราบคุณค่าแท้กับคุณค่าเทียม คุณค่าแท้ของโทรศัพท์คืออะไร ?โดยการใช้ศีลเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารประกอบสัมมาชีพ
""""""""""""""""""""""""""
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท พระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬาฯ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: ผ้าไทยใส่งามอย่างโอปอล
ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) เมื่อวันที่ยี่สิบสองพฤศจิกายนปีนี้ โอปอลสวยงาม มาพบกับนายกฯอิ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น