วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560

สกว.แนะ‘นักวิจัยพันธุ์ใหม่4.0’รู้จักใช้สื่อสารคุณค่า


สกว.กระตุกต่อมคิด‘นักวิจัยพันธุ์ใหม่4.0’ ใช้นวัตกรรมทุกหย่อมหญ้า-สื่อสารคุณค่า


9 กันยายน 2560  ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช อดีตผู้อำนวยการ สกว. ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับทิศทาง คปก. กล่าวระหว่างปาฐกถาพิเศษเรื่อง “งานวิจัย คปก. เพื่อประเทศไทย 4.0” ในงานปฐมนิเทศโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ปี 2560 ว่านักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาผู้รับทุนจะต้องหัดคิดแบบสวมหมวกเขียว มีความคิดสร้างสรรค์ที่บรรเจิด

การจะบรรลุประเทศไทย 4.0 จะต้องไม่ละเลยความเป็นตัวเองของประเทศไทย ไม่ใช่ลูกจ้างผลิตสินค้าให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของต่างประเทศ วิธีคิดยังมองการลงทุนจากต่างประเทศมากเกินไปเพราะบดบังความเป็นตัวตนและการพึ่งผิงตัวเองของไทย เราต้องคิดเป็น สร้างความรู้ของตัวเองเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ของกิจการไทย ทั้งนี้ความสำคัญ 3 ประการในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจะต้องอาศัยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ โดยเน้นภาคการบริการมากขึ้น บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กุญแจสำคัญที่สุดสู่ประเทศไทย 4.0 คือ

- เรียนรู้และนวัตกรรมในทุกหย่อมหญ้า ทุกกิจกรรม ทุกภาคส่วน ในทุกพื้นที่ ทุกคนในประเทศไทยจะต้องเป็น “Knowledge worker”

- มีระบบสนับสนุนและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

- พุ่งเป้าชัดเจน

- มีการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่มองความเชื่อมโยงภายในระบบและเชื่อมโยงกับระบบอื่น เพื่อเสนอระบบสัมมาทิฐิ เอาชนะมิจฉาทิฐิ เช่น ระบบเศรษฐกิจแบบผึ้งที่มีการต่อยอดขยายผล ไม่ใช่แบบตั๊กแตนที่ทำแล้วทรัพยากรหายหมด

- ลดความเหลื่อมล้ำจากกฎหมายและกติกาต่าง ๆ

- ลดความเสื่อมทรามในสังคมและแก้สาเหตุ

- ยกระดับคุณภาพคนด้วยการศึกษา แต่เป็นที่น่าตกใจที่การศึกษาบ้านเรายังตกต่ำอยู่

คปก.เป็นส่วนหนึ่งของระบบการวิจัยที่สร้างคน และสามารถต่อยอดความรู้ได้อีกมาก การวิจัยเป็นกลไกหลักที่จะสร้างนวัตกรรม บูรณาการ และสร้างสรรค์มูลค่า

การวิจัยเพื่อประเทศไทย 4.0 จะต้อง

- เป็นการวิจัยแบบ Engagement

- เชื่อมโยงกับ “ภาคชีวิตจริง” (Real sector) ของคนและสังคม

- มีโจทย์และทรัพยากรสนับสนุนมาจากภาคชีวิตจริง

- บูรณาการภาควิจัยกับภาคชีวิตจริงได้

วิจัย 4.0 ต้องการการเปลี่ยนกระบวนทัศน์

- จากการวิจัยเพื่อ Technology transformer สู่ Engagement Paradigm

- ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมลงทุน มีการสร้างและใช้ประโยชน์จากความรู้และนวัตกรรมจากงานวิจัยร่วมกันในความสัมพันธ์แนวราบ และร่วมรับผลที่เกิดขึ้น

- ไม่ใช่กระบวนทัศน์ "ช่วยเหลือ"

คปก. 4.0

- จะต้องมีความร่วมมือกับภาคชีวิตจริง

- มีโจทย์วิจัยระบบยาว ทำเป็นโปรแกรมและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และหลายภาคส่วน โดยแต่ละมหาวิทยาลัยอาจมุ่งเป้าไปที่โปรแกรมหนึ่งภาคส่วนและร่วมมือกับมหาวิทยาลัย

- แต่ละมหาวิทยาลัยอาจ specialize หนึ่ง Engagement Program และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น

- มหาวิทยาลัยต้องมี “ฐานข้อมูล” เพื่อรู้จัก EP และรู้จักความต้องการ อาจเริ่มต้นกับมหาวิทยาลัยที่มีแล็บทุนคุณภาพสูง

- มีการจัดการทุนแบบโปรแกรมแทนแบบโปรเจ็ค

นักศึกษา 4.0

- ต้องเรียนอย่างมีเป้าหมาย

- เรียนจากการปฏิบัติตามด้วยการคิด

- เป็นนักเรียนดีมีที่เรียนและมีทุนเรียน

- ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ครบด้านและทำงานเป็น

- มีการวางฐานชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่ VUCA (Volatile, Uncertain, Complex, Ambiguous)

สกว.และ คปก. 4.0

- มีการจัดการด้านประเด็นวิจัยและพื้นที่วิจัยมากขึ้น

- มีการจัดการพัฒนา “ผลการปฏิบัติ” สู่ “ผลงานรวิชาการรับใช้สังคม”

- มีการสื่อสารคุณค่าต่อประเทศไทย 4.0 เพื่อสื่อสารคุณค่าต่อผลประกอบการ

- เน้นการสื่อสาร-ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์และบริการจากงานวิจัย ไม่ใช่เน้นที่ผลงานวิจัย

- สร้างสรรค์บรรยากาศและแรงบันดาลใจในการทำวิจัยร่วมกับภาคชีวิตแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ สถาบันวิจัย หน่วยนโยบายและผู้บริหารประเทศ

- พยายามดึงคนเก่งมาเป็นนักวิจัยพันธุ์ใหม่ 4.0

- สร้างแพลทฟอร์มใหม่ของการบริหารงานวิจัยหลายระดับสู่ระบบวิจัย 4.0

- สร้างความเข้าใจและเห็นคุณค่าของการวิจัย 4.0

- สร้างค่านิยมใหม่ “ค่านิยมคุณภาพ” นั่นคือ นิยมของดีคุณภาพสูงจากผลิตภัณฑ์ไทย และการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องที่หนักแน่นในทุกหย่อมหญ้าผ่านการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม”

..............
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กสกว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...