วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560
นักวิจัยคปก.พบเพิ่มสารต้านมะเร็งในมะม่วงมหาชนกได้ผลดี
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร นำสื่อมวลชนเข้ารับฟังการบรรยายการศึกษาสารต้านอนุมูลอสิระในมะม่วงมหาชนกเพื่อนำไปใช้ในการวิจัยและพัฒนา และนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ภายใต้การสนับสนุนของทุน คปก. พร้อมกับเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของ ผศ. ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท และนายรัฐพล เมืองเอก นักศึกษา คปก. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีโจทย์วิจัยจากผู้บริโภคมีความต้องการอาหารที่มาจากธรรมชาติ มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในปัจจุบัน จึงทำให้มีการศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมีของพืชชนิดต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ในผักและผลไม้จะพบสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แคโรทีนอยด์ ซึ่งไม่แสดงสีให้เห็น เนื่องจากถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบังไว้ แต่เมื่อผักและผลไม้แก่ตัว คลอโรฟิลล์จะสลายตัวไป สารสีแคโรทีนอยด์จึงปรากฏสีให้เห็น เช่น เหลือง ส้ม แดง
ผศ. ดร.พีระศักดิ์ ระบุว่า แคโรทีนอยด์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมี คือ แคโรทีน และเบต้าแคโรทีน ซึ่งในปัจจุบันพบว่าแคโรทีนอยด์มีประโยชน์ทางด้านช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ช่วยในการรวมตัวเองเข้ากับเยื่อบุเซลล์เหมือนกับวิตามินอี ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ถึง 40% อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อม นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งคือ แอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นรงควัตถุหรือสารที่ให้สีแดง ม่วง และน้ำเงิน สารสกัดแอนโทไซยานินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือดอุดตันในสมอง ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร
มะม่วงมหาชนกเป็นมะม่วงพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการผสมกันระหว่างพันธุ์ซันเซทของอเมริกา และพันธุ์หนังกลางวันของไทย มีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่ามะม่วงพันธุ์อื่น คือ เปลือกผลเมื่อแก่หรือสุกจะมีผิวสีแดงม่วงสวยงาม หรือเหลืองเข้มปนแดง ดังนั้นจึงมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดสีแดง และปริมาณแอนโธไซยานินในผลมะม่วงมหาชนก พบว่าการฉีดพ่นสารเมทิลจัสโมเนส ความเข้มข้น 80 ppm สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพ เช่น วิตามินซี ปริมาณน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตส ซูโครส และพบการเพิ่มขึ้นของปริมาณแคโรทีนอยด์ เท่ากับ 1.43 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด มากกว่าการไม่ฉีดพ่นสาร อีกทั้งการใช้สารเมทิลจัสโมเนส และเอทิฟอนมีผลในการเพิ่มระดับของแคโรทีนอยด์ระหว่างการสุกแก่มากกว่ามะม่วงที่ไม่ใช้สาร 50% โดยพบมากที่สุดในช่วงวันที่ 5-6 ของการเก็บรักษา (ระยะพร้อมรับประทาน) อีกทั้งการประยุกต์ใช้สารเมทิลจัสโมเนส และเอทิฟอน ยังสามารถควบคุมกระบวนการสุกและปรับปรุงคุณภาพทางโภชนาการของผลมะม่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสารดังกล่าวมีความปลอดภัยสูง ปราศจากสารตกค้าง
"งานวิจัยนี้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะม่วงมหาชนกให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย ทั้งนี้ในฤดูกาลจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน และนอกฤดูในช่วงเดือนมิถุนายนถึงมีนาคม หากสามารถทำให้มะม่วงมหาชนกมีสีแดงสม่ำเสมอและสวยงาม จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น” นักวิจัยกล่าว
.................
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาเฟซบุ๊กสกว.)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น