วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

ทหารยืนยัน!ไม่มีโรฮิงญาหลบหนีเข้าไทย




หน่วยเฉพาะกิจร.25 ยืนยันเฝ้าระวังชาวโรฮิงญา หลบหนีเข้ามาประเทศเข้มงวด ยังไม่พบผิดปกติ เมียนมาเตรียมสร้างรั้วกั้นตามชายแดนพม่าและบังกลาเทศ  พร้อมเตือนระวังก่อเหตุเมืองสำคัญอาทิย่างกุ้ง มัณฑะเลย์และเนปีดอว์




วันที่ 7 ก.ย.2560 ที่ค่ายรัตนรังสรรค์ จ.ระนอง พ.อ.ศานติ ศกุนตนาค ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 บรรยายสรุปผลภารกิจการป้องกันชายแดน ซึ่งมีกองกำลังเทพสตรี เป็นผู้รับผิดชอบดูแลป้องกันชายแดนไทย-เมียนมาทั้งทางบกและทางทะเล รวมระยะทาง 254 กิโลเมตร พร้อมกันนี้ ยังมีพันธกิจการรักษาสภาพแว้ดล้อมที่ปลอดภัยตามพื้นที่ชายแดน ได้แก่ การค้ายาเสพติด การลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การค้าอาวุธสงคราม การหนีภาษี การสัตว์สงวน และการค้ามนุษย์ ซึ่งได้มีการเฝ้าระวังชาวโรฮิงญา หลบหนีเข้ามาประเทศประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย หลังเหตุการณ์ความรุนแรงในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา โดยขณะนี้ ยังไม่พบว่าชาวโรฮิงญา หลบหนีเข้ามาฝั่งพื้นที่ภาคใต้ แต่ก็ไม่นิ่งนอนใจ ในเรื่องนี้ จึงได้มีการฝึกซ้อมรับมือต่อเนื่อง



นอกจากนี้ ยังมีการจัดระเบียบพื้นที่และแก้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน โดยมีการบูรณาการแผนงานการปฏิบัติร่วมกัน และสนับสนุนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน อย่างไรก็ตาม ปัญหาเส้นขีดแดนระหว่างไทย-เมียนมา นั้นยังคง มี 2 ปัญหา ปัญหาอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เกาะกลางแม่น้ำกระบุรี หรือ เกาะยิ้ม จ.ระนอง และปัญหาการอ้างกรรมสิทธ์เหนือเกาะ คือ เกาะหลาม เกาะคัน และเกาะขี้นก ซึ่งเมียนมาอ้างสิทธิ์ทั้ง 3 เกาะ แต่ไทยอ้าวแผนที่



อย่างไรก็ตามจากกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงและความไม่สงบในรัฐอาระกัน หรือรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศพม่า จากเหตุการณ์ที่กลุ่มติดอาวุธ ARSA (The Arakan Rohingya Salvation Army -ARSA) กองทัพปลดปล่อยอาระกันโรฮิงญา ได้ออกมาโจมตีสถานีตำรวจพม่าเมื่อวันที่ 24-25 ส.ค.ที่ผ่านมา และทางการพม่าได้ทำการกวาดล้างกลุ่ม ARSA อย่างหนัก ล่าสุดมีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่แล้ว 400 คนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และทำให้มีชาวโรฮิงญาอพยพหนีข้ามไปฝั่งชายแดนบังกลาเทศ 120,000 คน อย่างไรก็ตาม ทางยูเอ็นรายงานว่า มีตัวเลขชาวโรฮิงญาที่หนีออกจากพื้นที่แล้ว 150,000 คน รวมทั้งชาวฮินดูและชาวยะไข่ที่เดินทางออกจากในพื้นที่ความขัดแย้งเช่นเดียวกันทั้งสิ้น 27,000 คน



มีรายงานว่า เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 6 ก.ย. ผู้นำระดับสูงของประเทศอย่างเช่นประธาธิบดีอูถิ่นจ่อ นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ กองทัพพม่า กระทรวงมหาดไทยของพม่า และกระทรวงกลาโหมและชายแดน รวมถึงฝ่ายความมั่นคงได้ร่วมหารือกันเกี่ยวกับเหตุความรุนแรงและความไม่สงบที่เกิดขึ้นในรัฐอาระกัน โดยมีการพูดคุยกันถึงประเด็นการวางมาตรรักษาความปลอดภัยและการเรียกคืนความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ การดำเนินการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนจากเหตุความไม่สงบ โดยจะไม่เลือกการปฏิบัติว่าเป็นกลุ่มไหน รวมถึงการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อก่อเหตุก็ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นที่ถูกยกมาหารือกัน ขณะเดียวกันนางซูจีได้หารือกับนายอูมิ้นส่วย รองประธานาธิบดี และพลเอกมิ้นอ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพพม่า ถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการก่อสร้างรั้วกั้นตามชายแดนพม่าและบังกลาเทศ



พร้อมกันนี้ได้มีแถลงการณ์ของรัฐบาลเมียนมาได้เตือนให้ระวังกลุ่มก่อการร้ายอาจจะเตรียมก่อเหตุระเบิดในเมืองใหญ่ๆสำคัญของพม่า เช่น ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์และเนปีดอว์ เป็นต้น จึงเรียกร้องให้ประชาชนแจ้งเบาะแสหากพบเห็นพฤติกรรมที่น่าสงสัย ขณะที่นายต่าวทุน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลพม่าระบุว่า ทางกลุ่ม ARSA มีความพยายามตั้งใจที่จะก่อเหตุในเมืองใหญ่ ๆ อย่างเมืองย่างกุ้ง เมืองเนปีดอว์ และมัณฑะเลย์เพื่อเรียกร้องความสนใจจากนานาชาติ  ส่วนชาวโรฮิงญาที่ลี้ภัยไปบังกลาเทศ หากต้องการจะเดินทางกลับพม่าจะต้องแสดงเอกสารพิสูจน์ว่าเป็นพลเมืองของพม่า และต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเคยอยู่ในพม่ากี่ปี ทางการพม่าถึงจะอนุญาตให้เดินทางกลับพม่า อีกทั้งยังเรียกร้องให้สื่อมวลชนให้ความร่วมมือรัฐบาล รายงานข่าวสถานการณ์รัฐยะไข่อย่างถูกต้อง เนื่องจากมีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อออนไลน์โดยตั้งข้อสงสัยทำไมกลุ่มโรฮิงญาถึงเผาบ้านตัวเอง




...............

(หมายเหตุ : เรียบเรียงข้อมูลจาก http://www.mtoday.co.th/19162/เฟซบุ๊ก Myanmar Times/DVB/Irrawaddy/Ven U Kundala)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...