วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

"ขาดเติมพอแบ่งเป็นธรรม"มส.แนะวิธีจำศาสตร์พระราชา



พระพรหมบัณฑิตแนะวิธีจำง่ายๆ ศาสตร์พระราชา "ขาดเติมให้เต็ม เต็มให้รู้จักพอ พอให้รู้แบ่ง แบ่งให้เป็นธรรม" ในการกล่าวอนุโมทนียกถาพิธีฉลองอายุวัฒนมงคล 62 ปี


วันที่ 16 ก.ย.2560 ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 62 ปี พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต)  กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส  วันที่ 17 ก.ย.2560 โดยวันนี้ (16 ก.ย.)  มีพิธีบำเพ็ญกุศลวัดประยุรวงศาวาส  พร้อมกันนี้มีบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสตร์พระราชาในมิติพระพุทธศาสนา" จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ


หลังจากนั้นพระพรหมบัณฑิต  กล่าวอนุโมทนียกถาความว่า  มีความรู้สึกปีติยินดีสำหรับท่านทั้งหลายที่มาร่วมงาน ถือว่าเป็นของขวัญอันล้ำค่า คือ ศาสตร์พระราชา ท่านได้มอบของขวัญอันล้ำค่าเป็นธรรมทานมีค่ามากกว่าอามิสทาน เราได้รับรู้รับทราบศาสตร์พระราชาถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ เราต่างนำศาสตร์พระราชาขับเคลื่อนในทิศทางเป้าหมาย อะไรคือศาสตร์พระราชา จะเป็นแก่นเป็นกระพี้ก็ต่างเป็นต้นไม้ต้นเดียวกัน


"วิทยากรตั้งคำถามว่าทำไมเราต้องให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ทรงงานหนัก เหมือนเราชี้นิ้วไปที่พระจันทร์แต่คนไปติดที่นิ้ว อะไรคือศาสตร์พระราชาที่แท้จริง? พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ใช้คำว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม คำว่า ครอง คือ การรักษาสืบทอดพัฒนาไว้โดยธรรม เป็นภาระที่หนักมาก รุ่นเราจะรักษาไว้ได้หรือไม่ การจะครองต่อไปนั้นจะไม่ใช่เรื่องง่าย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ได้รับรางวัลแห่งความสำเร็จตลอดชีวิต จากองค์การสหประชาชาติ ถวายนามว่า "กษัตริย์นักพัฒนา" พระพรหมบัณฑิต กล่าวและว่า


ศาสตร์พระราชาคือ ศาสตร์แห่งการพัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9   พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์แห่งการพัฒนา เพราะเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งศาสตร์พระราชาที่จำง่ายๆ คือ ที่ขาดเติมให้เต็ม เต็มให้รู้จักพอ พอให้รู้แบ่ง แบ่งให้เป็นธรรม ที่สามารถแบ่งการพัฒนาเป็น 4  ระดับ คือ


1) "ที่ขาดเติมให้เต็ม" ปัญหาของคนมี 3 เรื่อง "โง่ จน เจ็บ" ในหลวงจึงมีศาสตร์พระราชา ให้การศึกษาแก้โง่ ปฏิบัติตามสิ่งแวดล้อม และรักษาสุขภาพชีวิตมีความสุข


2) "ที่เติมให้รู้จักพอ" คนไม่รู้จักพอปัญหามาก จนนำไปสู่การทะเลาะกัน เพราะมีความโลภ โลภมากก็ลามก ในหลวงจึงสอนให้เดินทางสายกลาง ความจนมี 2 ประการ คือ จนเพราะไม่มี กับจนเพราะไม่พอ ความจนฝ่ายลบคือ จนเพราะไม่พอ ไม่พอจึงเกิดความโลภ


3) "ที่พอให้รู้จักแบ่ง" รู้จักแบ่งปันกัน แบ่งทุกชนชั้น อย่าเอาแต่พวกตนเอง พอไม่แบ่งปันกันก็ทะเลาะกัน จะไม่ให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 เหนื่อยได้อย่างไร ? ไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีรายได้มาก เราพัฒนาไม่ได้เพราะมีการทุจริต เรามัวแต่ทะเลาะกัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ประชวรยังทะเลาะขัดแย้งกัน เพราะอะไร ?

4) "แบ่งให้เป็นธรรม" เพราะเราแบ่งปันไม่ยุติธรรมจึงทะเลาะกัน ต้องจัดการบริหารให้มีความเท่าเทียมกัน ถือว่ามีความสำคัญมาก พอขัดแย้งกันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ต้องมาห้ามทัพคนละขั้ว คิดจะหาทางออกเองหรือไม่


"คนไทยจะก้าวข้ามความโง่ จน เจ็บ ต้องปฏิบัติพระมหาชนก ทำไมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา รัชกาลที่ 1 โปรดทหาร รัชกาลที่ 2 โปรดกวี ส่วนในรัชกาลที่ 3 โปรดสร้างวัดใหญ่โตรวมถึงวัดประยุรวงศาวาส  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ อดีตนายกรัฐมนตรี ทูลถามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 ว่า ทรงโปนดอะไร ทรงคำตอบว่าโปรดประชาชน มีความสุขเมื่อได้พบปะประชาชน ฝรั่งถามว่ากษัตริย์ไทยไม่มีวังหรืออย่างไร?  ได้คำตอบว่า ทั้งประเทศคือวังของพระองค์จึงถือว่า "กษัตริย์ของประชาชนเพราะถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง" พระพรหมบัณฑิต กล่าวและว่า


สร้างวัดสวยงามให้พระสงฆ์ต้องศึกษาเล่าเรียน พระสงฆ์ที่ขาดต้องเติมให้เต็ม คือ ศึกษาเล่าเรียน เมื่อศึกษาแล้วให้พอ พอแล้วแบ่งปันความรู้ออกเทศน์ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้ธรรมะแก่คนทุกชนชั้นอย่างเป็นธรรม ออกไปตกปลานอกบ้าน ในหลวงไม่เคยแบ่งแยก ทุกศาสนาทุกเชื้อชาติทุกคนรักในหลวง เป็นกลางสอนทุกอย่างให้เตือนสติสังคม"


""""""""""""""""""""""""""

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  พระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา  นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา  มหาจุฬาฯ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...