วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560
มส.แนะร.ร.พระประยัติธรรมต้องช่วยเหลือตัวเอง
สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคมเป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มอบใบแต่งตั้งประธานกลุ่ม ๑๔ กลุ่ม เผยแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาข้อมูลแนวทางการพัฒนาให้มีคุณภาพ ร่วมมือกันจัดการศึกษาช่วยเหลือตัวเองมิใช่มุ่งแต่งบประมาณแผ่นดินอย่างเดียว
วันนี้ ๗ กันยายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร ประธานคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จุดธูปเทียน กล่าวนำบูชาพระรัตนตรัย เปิดโครงการประชุมสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
นายประสงค์ จักรคำ ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถวายรายงานพอสังเขปดังนี้ “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จัดโครงการประชุมสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระหว่างวันที่ ๗ – ๘ กันยายน ๒๕๖๐ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สามารถบริหารจัดการศึกษา สนับสนุนการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ทั่วประเทศ ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรร แผนกสามัญศึกษา และนักวิชาการศาสนศึกษาประจำกลุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด จำนวน ๖๔ จังหวัด รวมทั้งสิ้น ๕๐๑ รูป/คน เข้าร่วมประชุมสัมมนาฯ”
จากนั้นนายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนศึกษา ขานรายนาม ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ทั้ง ๑๔ กลุ่ม รับใบแต่งตั้งประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๙ แห่งประกาศคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงแต่งตั้งให้
๑. พระมหาวิจิตร กลฺยาณจิตฺโต ผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมมหาสวัสดิ์วิทยา
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑
๒. พระครูสิริวินัยบรรหาร ผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธรังสีพิทยาลัย
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๒
๓. พระราชวัชราภรณ์ ผู้จัดการโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๓
๔. พระมหาธีรวัฒน์ ธีรวฑฺฒนเมธี ผู้อำนวยการโรงเรียนโสภณวรคุณวิทยา
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๔
๕. พระครูสุนทรพิมลศีล ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดฉิมพลีวิทยา
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๕
๖. พระครูถาวรรัตนานุกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๖
๗. พระครูสิริธรรมนิเทศก์ ผู้จัดการโรงเรียนประภัสสรวิทยา
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๗
๘. พระโสภณพุทธิธาดา ผู้จัดการโรงเรียนศรีนคราราม
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๘
๙. พระครูปริยัติวีราภรณ์ ผู้จัดการโรงเรียนบ่อชะเนงวิทยา
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๙
๑๐. พระครูสุวรรณสรานุกิจ ผู้จัดการโรงเรียนมงคลญาณปริยัติ
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑๐
๑๑. พระครูปริยัติกิจธำรง ผู้จัดการโรงเรียนปริยัติโกศลวิทยา
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑๑
๑๒. พระราชปริยัติสุนทร ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโสธรวราราม
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑๒
๑๓. หลวงจีนปลัดวิศิษย์ เสี่ยชื้อ ผู้อำนวยการโรงเรียนมังกรกมลาวาสวิทยาลัย
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑๓
๑๔. พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร วัดกุศลสมาคร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
เป็น ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๑๔
และผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา รับมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร จำนวน ๓๒ รางวัล
จากนั้นสมเด็จพระวันรัตกล่าวสัมโมทนียกถา พอสังเขปดังนี้ "การได้พบกันครั้งนี้ ไม่ใช่ครั้งแรก พบกันหลายครั้งแล้ว และทุกครั้งที่พบกัน ก็ได้กล่าวถึงความรู้สึก ความตั้งใจ ที่จะให้โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีความแข็งแรง เจริญมั่นคง สมกับความประสงค์ของคณะสงฆ์ และเมื่อได้มาพบกันครั้งนี้ก็จะปรารภอีกครั้งว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์/เป้าหมาย อะไร ควรจะเดินไปให้ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ นั่นคือ พระพุทธศาสนาที่จะดำรงให้เป็นไปเพื่อเป็นหลักของประชาชน โดยสืบทอดกันมาตั้งแต่บูรพาจารย์ดังที่ทราบกัน และทำอย่างไรจึงจะสืบทอดไปในอนาคตได้อย่างมั่นคง ถาวร ซึ่งเครื่องมือที่จะทำให้ไปถึงวัตถุประสงค์ได้ นั่นคือ “การศึกษาเล่าเรียน” อย่างที่ทำกันในปัจจุบัน ฉะนั้น โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จึงเป็นหลักที่จะดำรงพระพุทธศาสนาไว้มิใช่เพื่อแก่ชาวพุทธเท่านั้น แต่เป็นไปเพื่อชาวโลก เรียกว่า หาศาสนทายาทที่มีคุณภาพ เพื่อสืบทอดพระศาสนาให้ดำรงมั่นคงสืบไป และเพื่อให้เยาวชนเข้ามาศึกษาเล่าเรียน มีความรู้ในพระศาสนา และมีความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ
ปัจจุบันโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีข้อขัดข้องหลายอย่าง ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโรงเรียน จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่ ๑๕/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาข้อมูลแนวทางการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เพื่อสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับโรงเรียนในทุก ๆ ด้าน และทำอย่างไรจึงจะให้โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีคุณภาพ โดยอาจลดปริมาณ เพื่อเพิ่มคุณภาพ และการทำไม่ใช่ให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนทำ แต่คณะสงฆ์ควรร่วมมือกันทำ ร่วมมือกันการจัดการศึกษา โดยไม่มุ่งงบประมาณแผ่นดินอย่างเดียว จะต้องช่วยเหลือตัวเองด้วย ดั่งในอดีตที่บูรพาจารย์ตั้งใจจะทำการศึกษาโดยไม่ได้คำนึงถึงงบประมาณ เมื่อเต็มใจร่วมมือกันทำให้มั่นคง ถาวร อย่างอื่นที่อยากได้ก็จะตามมา ข้อสำคัญคือต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เราจึงร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้โรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา มีความมั่นคง ยั่งยืน มีชื่อเสียง จนใคร ๆ ก็อยากเข้ามาเรียน เข้ามาศึกษา
ความปรารถนาให้การศึกษาคณะสงฆ์มีเพียงหนึ่งเดียว คือ ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา รวมอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน เมื่อจบการศึกษาแล้วสามารถไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้ ขอฝากท่านทั้งหลาย หวังว่าการฝากความหวัง ความปรารถนา ความตั้งใจ ในครั้งนี้ จะเป็นไปในอนาคตอันไม่ไกล ขออนุโมทนาทุก ๆ ท่านที่ได้ร่วมกันมาประชุมสัมมนาให้เกิดประโยชน์ในส่วนรวม หวังว่าการประชุมจะเป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวมโดยทั่วกัน ขอขอบคุณทุกท่าน"
...............
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก กลุ่ม ประชาสัมพันธ์ และ เผย แพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น