วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

"ธงทอง"ระบุพระมหากษัตริย์ไทยหัวใจพุทธ




"ธงทอง"ระบุพระมหากษัตริย์ไทยหัวใจพุทธ  ทรงอุปถัมภ์และยกยกพระพุทธศาสนามาโดยตลอด  จึงระบุไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 รัชกาลที่ 5 ทรงห่วงใยการศึกษาของคณะสงฆ์จึงสถาปนามหาจุฬาฯ  ให้พระสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง


วันที่ 16 ก.ย.2560 ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 62 ปี พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. (ประยูร ธัมมจิตโต)  กรรมการเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส  วันที่ 17 ก.ย.2560 โดยวันนี้(16 ก.ย.)  มีพิธีบำเพ็ญกุศลวัดประยุรวงศาวาส  พร้อมกันนี้มีบรรยายพิเศษเรื่อง "ศาสตร์พระราชาในมิติพระพุทธศาสนา" โดยศ.(พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ภายใต้คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) 


นายธงทอง กล่าวว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ควบคู่กับสถาบันศาสนา คือ พระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่ควบคู่กับประเทศไทยกันมานาน มีความเกื้อกูลกันมายาวนาน สถาบันกษัตริย์จึงไม่สามารถทิ้งพระพุทธศาสนา กษัตริย์จึงปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาจึงเกิดความร่มเย็นเป็นสุข มาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญกำหนดว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ถ้าไม่นับถือพระพุทธศาสนาถือว่า หมดจากความเป็นพระมหากษัตริย์ แต่ตำแหน่งอื่นๆ จะนับถือศาสนาอะไรก็ได้ แต่พระมหากษัตริย์ต้องนับถือพระพุทธศาสนาเท่านั้น คนไทยจึงมีความร่มเย็นเพราะพระมหากษัตริย์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา


"จะเห็นว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ทรงอุปถัมภ์และยกยกพระพุทธศาสนา หัวใจหน้าที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ คือ " ทรงอุปถัมภ์และยกยกพระพุทธศาสนา " เราจึงเห็นความว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงดูแลพระพุทธศาสนามาตลอด ทุกรัชกาลในราชวงค์จักรีทรงผนวชเกือบทุกพระองค์ รัชกาลที่ 9  ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา และอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างวัดยิ่งใหญ่มาก เราจะเห็นว่ามีวัดประจำรัชกาล พระมหากษัตริย์ทรงห่วงใยพระว่า พระต้องมีการศึกษาเพื่อสอนพระประชาชน ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงห่วงใยการศึกษาจึงสถาปนามหาจุฬาฯ  ให้พระสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง"  นายธงทอง กล่าวและว่า


พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทรงสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา คือ พระมหาชนก สอนคนไทยเรื่องความเพียร พระองค์ทรงนำมาเขียนให้น่าสนใจ วาดภาพให้เหมาะสมกับคนในปัจจุบัน ช่วงที่ในหลวงรัชกาลที่ 9  เสด็จในภาคเหนือ รถยนต์เข้าไปไม่ถึงพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน พระองค์ใช้ความเพียรเป็นต้นแบบอันดียิ่ง ครั้งหนึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงพระราชทานปริญญาบัตร ปรากฏว่าไฟดับไม่สามารถถ่ายภาพได้ขณะช่วงรับปริญญาบัตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้มารับใหม่ เป็นความกรุณาของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพราะภาพรับปริญญามีความยิ่งใหญ่ยิ่งนักสำหรับบัณฑิตใหม่ พระองค์ทรงใช้ความเพียรเป็นหลัก


""""""""""""""""""""""""""

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  พระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา  นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา  มหาจุฬาฯ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...