วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560
เชิดชู"กษัตริย์นักพัฒนา"ไทยเจ้าภาพจัดวิสาขะโลก61
คณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 ในปี 2561 ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม เชิดชู "ในหลวงร.9 กษัตริย์นักพัฒนา" เป็นหัวข้อหลักในการจัดงาน
ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน พ.ศ.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการประชุมคณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และกรรมการสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติจาก 18 ชาติ โดยมีพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ประธานกรรมการสมาคมฯ และประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก เป็นประธานเพื่อเตรียมการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 โดยที่ประชุมมีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ได้กำหนดหัวข้อหลักในการจัดงานโดยเน้นพระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development)
พระพรหมบัณฑิต กล่าวในที่ประชุมว่า องค์การสหประชาชาติได้เคยถวายรางวัลสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในฐานะ "พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” ในปี 2549 นับเป็นครั้งแรกที่องค์การสหประชาชาติได้จัดทำรางวัลเกียรติยศนี้ขึ้น เพื่อมอบให้กับบุคคลดีเด่นที่อุทิศตนตลอดช่วงชีวิต และสร้างคุณค่าของผลงานเป็นที่น่าประจักษ์และคุณูปการที่ผลักดันความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์
"ถือว่าเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการศึกษา การขยายโอกาสและทางเลือก ซึ่งเป็นการสร้างเสริมขีดความสามารถแก่ปัจเจกชนที่จะเลือกให้มีชีวิตยืนยาวด้วยการมีสุขพลานามัยที่แข็งแรง มีความรู้และความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาคนเพื่อให้คนเป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจและอย่างยั่งยืน สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงในชีวิต และความเท่าเทียม" ประธานสภาสากลวันงวันวิสาขบูชาโลก กล่าวและว่า
ด้วยเหตุผลสำคัญดังกล่าว่า ทำให้คณะกรรมการสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ประเด็นดังกล่าวเป็นหัวข้อหลักในการจัดพิธีเฉลิมฉลงวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงานครั้งนี้ และมีองค์กรพระพุทธศาสนาจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน โดยที่ประชุมได้มีมติจัดงานตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561 ในการจัดงาน ทั้งนี้จะมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงมหานครในวันที่ 27 พฤษภาคม 2561
สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ได้มีการประชุมวิชาการนานาชาติแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม (Buddhist Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนากับการสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for Social Welfare) พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมานำเสนอประสบการณ์ทำงานมานำเสนอในเวทีของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย
..............
(หมายเหตุ : ที่มาวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น