วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

พระแนะพัฒนากายสมาร์ทให้ควบคู่จิตปัญญาสมาร์ท


พระผอ.หลักสูตรสันติศึกษา "มจร" แนะพัฒนากายสมาร์ทควบคู่จิตปัญญาสมาร์ท เป็นไปตามแนวนโยบายแห่งรัฐแน่  พร้อมตั้งคำถามรัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างไร

เมื่อเวลา 09 :00น.  ที่อาคารรัฐสภา 2 คณะอนุกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จัดการอภิปราย เรื่อง "การพัฒนาจิตใจและพัฒนาปัญญา"  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นำทางศาสนา นักวิชาการ และนักปฏิบัติได้ร่วมกันหาแนวทางและเครื่องมือในการดำเนินตามแนวนโยบายแห่งรัฐ โดยมีพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ร่วมด้วย


พระมหาหรรษา กล่าวว่า ตามที่กฏหมายรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 67 ได้บัญญัติว่า "รัฐพึงอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และศาสนาอื่น.... รัฐพึงส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา..." นั้น คำถามที่สำคัญคือ รัฐจะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างไร จึงจะทำให้การพัฒนาจิตใจและปัญญาอย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ และนี่จึงเป็นที่มาที่ทำให้คณะอนุกรรมการด้านศาสนาฯ  ซึ่งมีอาจารย์สมพร เทพสิทธา  ประธานคณะอนุกรรมาธิการศาสนาฯ จัดสัมมนา เรื่อง "การพัฒนาจิตใจ และการพัฒนาปัญญา" เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว


จิตใจและปัญญาของคนไทยมีปัญหาอะไร?!? จึงต้องใช้หลักธรรมพระพุทธศาสนาเถรวาทมาช่วยเติมเต็ม เมื่อมองมิติด้านจิตใจ คนไทย (บางคน) ใจแคบ ใจทุกข์ และใจแล้งพรหมวิหาร ในขณะที่มิติทางปัญญา คนไทย (บางคน) ปัญญาอ่อน ปัญญามือบอด ปัญญาเสพมากกว่าปัญญาสร้าง ปัญญาที่มุ่งแสวงหาช่องมุจริตคิดคด เพื่อประโยชน์ส่วนตนไม่สนใจความอยู่รอดของคนอื่นๆ ในสังคมและชุมชน จิตใจและปัญญาฉาบทาด้วยลักษณะบางอย่างดังกล่าวแล้ว จึงทำให้รัฐ จึงทำให้รัฐจึงมุ่งออกแบบรัฐธรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง" โดยมุ่งหวังให้นำกลักธรรมมาปลูก ปลุก ปรับ และเปลี่ยน


หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่จะนำมาเสริมปัญญาและพัฒนาจิตนั้น ชัดในตัวเองอยู่แล้ว การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา จึงหมายถึงการนำไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สาธิ และปัญญาเข้ามาช่วยส่งเสริมแล้วพัฒนา ซึ่งเป็นการสรุปรวบรอดจากมรรค 8 ตามแนวทางทาง "ปรับความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม และปล่อยวางจิตใจ" อันเป็นการใช้สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ มาปรับความคิด การนำสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะมาเปลี่ยนพฤติกรรม และการนำสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิมาปล่องวางจิตใจ


ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการเชิงนโยบายที่รัฐน่าจะต้องนำมาช่วยพัฒนาจิตใจและปัญญานั้น คือ การเน้นพัฒนาโรงเรียนสติ และสมาธิ (Mindful School) โรงเรียนสันติสุข (Peaceful School) หลักสูตรสติ และวิชาสมาธิในสถานศึกษา และที่ทำงาน (Peaceful Subject&Curriculum) การพัฒนาวันสติ หรือชั่วโมงสติในที่ทำงาน รวมไปถึงการพัฒนาจิตดิจิทัลควบคู่ไปกับเทคโนโลยีและการสื่อสารทางดิจิตัล พร้อมๆ กับการพัฒนานวัตกรรมทางสติเพื่อให้เกิดการใช้ปัญญาแบบนวัตกรรมประดิษฐ์คิดค้นความสุขควบคู่ไปกับสร้างความสะดวกสบายทางกายตามแนวทางของ Smart City ดังนั้น Smart City จึงไม่ได้เน้นเฉพาะความสะดวกสบายทางกายเท่านั้น แต่สร้างสร้างพื้นที่ให้คนสามารถมี Smart Mind คือมีจิตใจที่มีความสุข มีปัญญาในการที่คิดช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และสร้างโลกใบนี้ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วย


...............................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...