วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

พระสงฆ์ไทยยุค4.0แบกหามก่อสร้าง? ที่โยมต้องการ



 โครงสร้างพื้นฐานตามปัจจัย 4 มนุษย์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่เมื่อมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่คุ้มกำเนิด ทำให้รัฐไม่สามารถที่จะอำนวยความสำดวกได้อย่างทั่วถึง ทำให้บางคน บางครอบครัว เป็นอยู่ตามยถากรรม และมีการแจ้งขอความช่วยเหลือจากสังคมก็บ่อยครั้ง


ขณะที่พระสงฆ์ไทย นอกจากจะมีหน้าที่ปริยัติ ปฏิบัติ เพื่อถึงปฏิเวธแล้ว หน้าที่อีกประการหนึ่งคือการบริการสังคม ทำให้เห็นภาพของพระสงฆ์ไทยออกมาช่วยเหลือสังคมมากขึ้น อย่างเช่นคราวน้ำท่วมทางภาคอีสานที่ผ่านมาหรือน้ำท่วมที่ภาคใต้หนักสุดที่จังหวัดสตูลอยู่ขณะนี้ หรือการให้การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสบนพื้นที่สูงเช่นชาวเขา ดังนั้นทำให้เห็นภาพพระสงฆ์ไทยรวมถึงพระธรรมทูตไทยในต่างแดนแบก หาม ก่อสร้างทางสื่อออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง


และพระสงฆ์ไทยนั้นก็เลือกชั้นสมณศักดิ์หรือวุฒิการศึกษาอย่างเช่นภาพบนซ้ายมือนั้นยังเป็นพระหนุ่มเปรียญธรรม 9 ประโยคหรือประโยค 9 ขณะเป็นสามเณรและมีตำแหน่งทางการปกครองเป็นเจ้าอาวาสวัดประสานศรัทธา (วัดพัฒนาตัวอย่าง) อ.นากลาง จ.หนองบัวลำพู เมื่อจบการศึกษาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อถึงปฏิเวธ นอกจากนี้ก็ให้การบริการสังคม เพราะการทำหน้าที่ก็คือการปฏิบัติธรรมตามที่หลวงพ่อพุทธทาสระบุ


ภาพซ้ายมือบนคือพระครูมงคลธรรมธีรคุณ (หลวงปู่บุญ ธัมมธีโร) วัดบ้านหมากมี จ.อุบลราชธานี อายุ 98 ปี นับได้ว่าเป็นเกจิดังทางภาคอีสาน มีวัตถุมงคลที่สร้างเช่นเหรียญมหาปราบปี 2559 เหรียญรุ่นมหาปราบ 2 เหนือดวงหนุนดวง ปี 2559 เหรียญเสมาสร้างบารมี ปี 2560 เหรียญนาคปรก "พุทธบุญบารมี" ปี2560  แม้ว่าหลวงปู่จะอายุมากแล้วแต่ร่างกายยังแข็งแรงแบกไม้ได้ เมื่อศึกษาจากคลิปในเฟซบุ๊กแล้วทราบว่าหลวงปู่เป็นนักอนุรักษ์ชอบจักสานของใช้อย่างเช่นกระบุง


ต่อมาคือภาพด้านล่างทั้งสองภาพจากเฟซบุ๊กพระโต้ง กตปุญโญ เป็นพระธรรมจาริกบนพื้นที่สูงจากศูนย์อบรมศีลธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงบ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ที่กำลังสร้างศูนย์อบรมศีลธรรมฯบ้านเข็กน้อย หากติดตามเฟซบุ๊กจะได้เห็นกิจกรรมของพระท่านอีกมากมาย


นอกจากพระสงฆ์ไทยจากแบกหามดังกล่าวแล้ว ยังมีหน้าที่ในการแบกหามพระพุทธศาสนาในภาวกาลปัจจุบัน










2 ความคิดเห็น:

  1. ภิกษุ ท. ! มูลเหตุแปดอย่างนี้เล่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียสำหรับภิกษุ ผู้ยังไม่จบกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพาน. มูลเหตุแปดอย่างอะไรกันเล่า ? แปดอย่างคือ :-
    (๑) ความเป็นผู้พอใจในการทำงานก่อสร้าง.
    (๒) ความเป็นผู้พอใจในการคุย.
    (๓) ความเป็นผู้พอใจในการนอน.
    (๔) ความเป็นผู้พอใจในการจับกลุ่มคลุกคลีกัน.
    (๕) ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. (๖) ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค.
    (๗) ความเป็นผู้พอใจในการกระทำ เพื่อเกิดสัมผัสสนุกสบายทางกาย
    (๘) ความเป็นผู้พอในในการขยายกิจให้โยกโย้โอ้เอ้ เนิ่นช้า.
    ภิกษุ ท. ! มูลเหตุแปดอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสีย สำหรับภิกษุผู้ยังไม่จบกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพาน. [๒๐๙] ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาทีนวา อายตเกน คีตสฺสเรน ธมฺมํ
    ภณนฺตสฺส กตเม ปญฺจ อตฺตาปิ ๑ ตสฺมึ สเร สารชฺชติ ปเรปิ
    ตสฺมึ สเร สารชฺชนฺติ คหปติกาปิ อุชฺฌายนฺติ ยเถว มยํ
    คายาม เอวเมวิเม ๒ สมณา สกฺยปุตฺติยา คายนฺตีติ สรกุตฺติมฺปิ
    นิกามยมานสฺส สมาธิสฺส ภงฺโค โหติ ปจฺฉิมา ชนตา ทิฏฺฐานุคตึ
    อาปชฺชติ อิเม โข ภิกฺขเว ปญฺจ อาทีนวา อายตเกน คีตสฺสเรน
    ธมฺมํ ภณนฺตสฺสาติ ฯ
    [๒๑๐] ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาทีนวา มุฏฺฐสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส
    นิทฺทํ โอกฺกมโต ๓ กตเม ปญฺจ ทุกฺขํ สุปติ ทุกฺขํ ปฏิพุชฺฌติ
    ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ เทวตา น รกฺขนฺติ อสุจิ มุจฺจติ อิเม
    โข ภิกฺขเว ปญฺจ อาทีนวา มุฏฺฐสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส นิทฺทํ
    โอกฺกมโต ฯ ปญฺจิเม ภิกฺขเว อานิสํสา อุปฏฺฐิตสฺสติสฺส
    สมฺปชานสฺส นิทฺทํ โอกฺกมโต กตเม ปญฺจ สุขํ สุปติ สุขํ
    ปฏิพุชฺฌติ น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ เทวตา รกฺขนฺติ อสุจิ
    น มุจฺจติ อิเม โข ภิกฺขเว ปญฺจ อานิสํสา อุปฏฺฐิตสฺสติสฺส
    สมฺปชานสฺส นิทฺทํ โอกฺกมโตติ ฯ

    ตอบลบ
  2. มูลเหตุแปดอย่างนี้เล่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียสำหรับภิกษุ

    ตอบลบ

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...